ข้ามไปเนื้อหา

หม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคล
ประสูติ9 กรกฎาคม พ.ศ. 2494 (73 ปี)
หม่อมเปรมศิริ เทพหัสดิน ณ อยุธยา (หย่า)
หม่อมมาลินี ยุคล ณ อยุธยา
พระบุตร
  • หม่อมราชวงศ์ทิตตาทร ยุคล
ราชสกุลยุคล
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร
พระมารดาบัวทอง ไตลังคะ

หม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคล (9 กรกฎาคม พ.ศ. 2494) เป็นโอรสในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร ประสูติแต่บัวทอง ไตลังคะ ท่านชายทรงเป็นรัชทายาทลำดับที่ 4 ตามกฏมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ และเป็นพระอนุชาต่างพระมารดาพระองค์เดียวในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคล

พระประวัติ

[แก้]

หม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคล มีพระนามลำลองว่า ท่านชายเม็ดบัว ประสูติเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2494 เป็นโอรสในพลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลทิฆัมพร กับบัวทอง ไตลังคะ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านนาฏศิลป์ไทย เป็นนัดดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ และเป็นพระราชปนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระเชษฐาร่วมพระบิดาที่สำคัญหนึ่งองค์คือ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคล [1] ได้รับประทานพระนาม "ฑิฆัมพร" จากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคล

เมื่อครั้งทรงพระเยาว์ หม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคล ทรงเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร

กรณียกิจ

[แก้]

หม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคล ทรงร่วมในพระราชพิธีต่าง ๆ และเสด็จแทนพระองค์อยู่บ่อยครั้ง รวมถึงได้รับเชิญเป็นองค์ประธานและร่วมงานต่าง ๆ

ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 หม่อมเจ้าทิฆัมพรทรงเป็นหนึ่งในผู้ถวายพระเต้าน้ำอภิเษกแด่พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ในระหว่างการสรงมุรธาภิเษก[2] โดยหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคล ถวายบังคม 3 ครั้ง แล้วเสด็จขึ้นมณฑปพระกระยาสนาน แล้วทูลเกล้าฯ ถวายพระเต้าน้ำอภิเษกต่าง ๆ รวม 22 พระเต้า พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562

ในวันที่ 5 กรกฎาคม พุทธศักราช 2563 เวลา 18 นาฬิกา 10 นาที พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ หม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคล เสด็จแทนพระองค์ ไปทรงจุดเทียนพรรษา ที่ทรงพระราชอุทิศถวายเป็นพุทธบูชา แด่พระพุทธรูปสำคัญที่ประดิษฐาน ณ พระศรีรัตนเจดีย์, หอศาสตราคม ในพระบรมมหาราชวัง และพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร เนื่องในวันอาสาฬหบูชา และเทศกาลวันเข้าพรรษา 2563 เพื่อน้อมรำลึกถึง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นสัมมาสัมพุทธะ คือเป็นพระพุทธเจ้า ผู้สามารถแสดงสิ่งที่ตรัสรู้ ให้ผู้อื่นรู้ตาม ด้วยการแสดงธรรมเป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นพระสูตรแรกที่พระพุทธองค์ทรงแสดงขึ้นในโลก ประกอบด้วยหลักธรรมสำคัญ คือ สิ่งไม่ควรเสพสองอย่าง, มัชฌิมาปฏิปทา และอริยสัจสี่ จึงเป็นหลักธรรมปฏิบัติ ให้กับพุทธศาสนิกชน เพื่อการดำรงชีวิตอย่างไม่ประมาท[3]

นอกจากนี้ หม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคล ยังได้รับพระกรุณาธิคุณจากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ ให้เสด็จแทนพระองค์ไปในวโรกาสต่างๆ อาทิ

ชีวิตส่วนองค์

[แก้]

หม่อมเจ้า[6]ฑิฆัมพร ยุคล เสกสมรสกับเปรมศิริ เทพหัสดิน ณ อยุธยา และหม่อมมาลินี ยุคล ณ อยุธยา (พิศาลสารกิจ) มีโอรส 1 คน คือ[7]

หม่อมราชวงศ์ทิตตาทร ยุคล

นอกจากนี้หม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคล ยังทรงมีความเชี่ยวชาญในการทำอาหาร ไม่ว่าจะเป็นอาหารไทย อาหารตะวันตก และยังร่วมเป็นพิธีกรพิเศษในรายการ FOOD PRINCE: เที่ยวกับลิง กินกับเจ้า ในระหว่าง พ.ศ. 2555-2556 กับ เมทนี บุรณศิริ อีกด้วย[8] รวมถึงได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษเรื่องการทำอาหารให้แก่สถาบันการศึกษาต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ

พระเกียรติยศ

[แก้]
ธรรมเนียมพระยศของ
หม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคล
การทูลฝ่าพระบาท
การแทนตนกระหม่อม/หม่อมฉัน
การขานรับกระหม่อม/เพคะ
ลำดับโปเจียม23

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

พงศาวลี

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. บ้านเม็ดบัว พักหัวใจบนแม่ริม
  2. หมายกำหนดการ ที่ ๑๐/๒๕๖๒ หมายกำหนดการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒ เก็บถาวร 2019-05-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา
  3. หม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคล เสด็จแทนพระองค์ไปทรงจุดเทียนพรรษาที่ทรงพระราชอุทิศถวายเป็นพุทธบูชา
  4. หม่อมเจ้า ฑิฆัมพร ยุคล เสด็จแทนพระองค์ในการฌาปนกิจศพ โอ วรุฒ วรธรรม ที่เมรุวัดลัฏฐิวัน
  5. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ โปรดให้ หม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคล เป็นผู้แทนพระองค์ เสด็จมาเป็นประธานเปิดงานเกษตรกำแพงแสน ครั้งที่ 24
  6. ราชสกุล “ยุคล” กับการเมืองไทย
  7. กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรี, หม่อมราชวงศ์. สายพระโลหิตในพระพุทธเจ้าหลวง. กรุงเทพฯ : ดีเอ็มดี, พ.ศ. 2551. 290 หน้า. ISBN 978-974-312-022-0
  8. แจ๊คแฟนฉันแตะมือพล่ากุ้งป่วนวาเลนไทน์
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2013-10-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙, ตอน ๓๕ ข , ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕, หน้า ๒
  10. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๕, ตอน ๑๖ ข ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑, หน้า ๑
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า กับเหรียญรัตนาภรณ์ และพระราชทานยศทหารชั้นนายพลเป็นกรณีพิเศษ, เล่ม ๑๓๖, ตอน ๑๖ ข, ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๒, หน้า ๒
  12. โปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องราชฯ-เหรียญรัตนาภรณ์ ‘ม.จ.จุลเจิม-ม.จ.เฉลิมศึก’ ขึ้น ‘พลเอก’