คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะสัตวแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Faculty of Veterinary Medicine,
Kasetsart University
คติพจน์สัตวแพทย์เกษตร สัตวแพทย์ของประชาชน
สถาปนา28 ธันวาคม พ.ศ. 2497 (69 ปี)
คณบดีผศ.น.สพ.ดร.คงศักดิ์ เที่ยงธรรม
ที่อยู่
วิทยาเขตบางเขน
50 ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
วิทยาเขตกำแพงแสน
1 หมู่ 6 ตำบลกำแพงแสน อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม 73140
วารสารวารสารสัตวแพทย์
(Journal Kasetsart Veterinarians)
เพลงฟ้าหม่น
สี███ สีฟ้าหม่น [1]
มาสคอต
คทาแอสคลีเพียส
เว็บไซต์www.vet.ku.ac.th, Facebook

คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นคณะลำดับที่ 5 ของมหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2497 โดยได้รับโอนมาจากมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดลในปัจจุบัน) ปัจจุบัน คณะสัตวแพทยศาสตร์ มีที่ทำการอยู่ 2 วิทยาเขต คือ วิทยาเขตบางเขน และวิทยาเขตกำแพงแสน มีโรงพยาบาลสัตว์ในสังกัดทั้งหมด 5 แห่ง

ประวัติ[แก้]

เมื่อปี พ.ศ. 2497 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้รับโอนคณะสัตวแพทยศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์  (มหาวิทยาลัยมหิดลในปัจจุบัน) เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายที่จะปรับปรุงการศึกษาสาขาวิชาสัตวแพทยศาสตร์ให้ก้าวหน้า และสอดคล้องกับวิชาสัตวบาล ซึ่งทำการเรียนการสอนอยู่ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ก่อนแล้ว ในปี พ.ศ. 2500 ทางคณะได้ปรับปรุงหลักสูตรสัตวแพทยศาสตร์ จากเรียน 5 ปีมาเป็น 6 ปี โดยศึกษาเตรียมสัตว์แพทย์ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จากนั้นศึกษาระดับปรีคลินิกและคลินิกที่คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ ในพื้นที่เดิมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ต่อมาในปี พ.ศ. 2507 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทำเรื่องถึงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อขอโอนคณะสัตวแพทยศาสตร์ซึ่งยังคงตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กลับคืนมาอยู่กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเช่นเดิม แต่ทางสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ไม่เห็นด้วย จึงเตรียมสร้างอาคารสัตวแพทยศาสตร์ ณ บริเวณเกษตรกลางบางเขน เพื่อเตรียมย้ายออกจากพื้นที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่คณะสัตวแพทยศาสตร์ ทำเรื่องไม่ขอย้ายออกจากที่ตั้งเดิม ในเวลานั้นมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีแผนขยายงานของมหาวิทยาลัยไปที่อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม จึงมีมติที่จะย้ายคณะสัตวแพทยศาสตร์ ซึ่งยังอาศัยที่ดินของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอยู่ ไปดำเนินการที่วิทยาเขตกำแพงแสน

ต่อมาคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ทำเรื่องขอโอนกลับไปสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อตั้งเป็นคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี 2515 ดังนั้นมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงได้เปิดดำเนินการเรียนการสอนของคณะสัตวแพทยศาสตร์ขึ้น โดยพัฒนาอาคารของคณะที่ตั้งอยู่บริเวณบางเขน และวิทยาเขตกำแพงแสน ให้เป็นคณะสัตวแพทยศาสตร์อย่างเต็มรูปตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

หน่วยงาน[แก้]

ภาควิชา สำนัก สถาบัน และศูนย์ ภายในคณะสัตวแพทยศาสตร์

หลักสูตร[แก้]

ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก

หลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต (สพ.บ.)

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)

  • สาขาวิชาพยาธิวิทยาทางสัตวแพทย์
  • สาขาวิชาสรีรวิทยาทางสัตวแพทย์
  • สาขาวิชาปรสิตวิทยาทางสัตวแพทย์
  • สาขาวิชาคลินิกศึกษาทางสัตวแพทย์
  • สาขาวิชาระบาดวิทยาทางสัตวแพทย์
  • สาขาวิชาจุลชีววิทยาทางสัตวแพทย์
  • สาขาวิชาเภสัชและพิษวิทยาทางสัตวแพทย์
  • สาขาวิชาชีววิทยาของเซลล์และวิทยาศาสตร์กายวิภาค
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพสัตว์และชีวเวชศาสตร์
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพทางสัตวแพทย์ (หลักสูตรนานาชาติ)

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • สาขาวิชาคลินิกศึกษาทางสัตวแพทย์
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพและชีวเวชศาสตร์
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพทางสัตวแพทย์ (หลักสูตรนานาชาติ)

ทำเนียบคณบดี[แก้]

ทำเนียบคณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
รายนามคณบดี ระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง

1. ศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.จักร พิชัยรณรงค์สงคราม พ.ศ. 2511 - พ.ศ. 2519
2. ศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.รำพึง ดิสสะมาน พ.ศ. 2519 - พ.ศ. 2523
3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ พิบูล ไชยอนันต์ พ.ศ. 2523 - พ.ศ. 2529
4. ศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.ภิรมย์ ศรีวรนารถ พ.ศ. 2529 - พ.ศ. 2533
5. รองศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.กิติ ศรีสุภาพ พ.ศ. 2534 - พ.ศ. 2534
6. รองศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.สมชัย พงศ์จรรยากุล พ.ศ. 2534 - พ.ศ. 2538
7. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.ทวีวัฒน์ ทัศนวัฒน์ พ.ศ. 2538 - พ.ศ. 2546
8. รองศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.ธานีรัตน์ สานติวัตร พ.ศ. 2546 - พ.ศ. 2550
9. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.ธวัชชัย ศักดิ์ภู่อร่าม พ.ศ. 2550 - พ.ศ. 2554
10. ศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.อภินันท์ สุประเสริฐ พ.ศ. 2554 - พ.ศ. 2558
11. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.คงศักดิ์ เที่ยงธรรม พ.ศ. 2560 - ปัจจุบัน

หมายเหตุ คำนำหน้านามของผู้ดำรงตำแหน่งคณบดี เป็นคำนำหน้านามตามตำแหน่งทางวิชาการในขณะนั้น

อันดับ[แก้]

ARWU Rankings by Subject[แก้]

ARWU Global Ranking of Academic Subjects
Global – Life Sciences
ARWU Veterinary Sciences 101-150 (2021)
101-150 (2020)
151-200 (2019)
201-300 (2018)
151-200 (2017)

ผลการจัดอันดับแยกตามสาขา ARWU Global Ranking of Academic Subjects [2] พบว่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้รับการจัดอันดับให้ติดอันดับโลกในกลุ่ม Life Sciences สาขา Veterinary Sciences ซึ่งเป็นสาขาของ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยในปี 2017 อยู่ในอันดับที่ 151-200 ของโลก[3], ปี 2018 อันดับที่ 201-300 ของโลก[4], ปี 2019 อันดับที่ 151-200 ของโลก[5], ปี 2020 อันดับที่ 101-150 ของโลก[6] และในปี 2021 อันดับที่ 101-150 ของโลก[7]

ผลการประเมินคุณภาพผลงานวิจัยเชิงวิชาการโดย สกว.[แก้]

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย หรือ สกว. ได้ทำการประเมินคุณภาพผลงานวิจัยเชิงวิชาการในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย โดยแยกตามสาขาวิชาต่าง ๆ ซึ่งในการประเมินครั้งที่ 2 พ.ศ. 2553 ในกลุ่มสาขาวิชาเกษตรศาสตร์ พบว่า คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีหน่วยงานได้รับการประเมินอยู่ในระดับ 4 (ดี) จำนวน 1 หน่วยงาน[8] คือ สาขาการประมง และ สัตวศาสตร์ / สัตวแพทยศาสตร์ โดยภาควิชาพยาธิวิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

การรับรองมาตรฐาน[แก้]

คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับการรับรองมาตรฐานในระดับสากลทั้งในด้านการให้บริการและห้องปฏิบัติการ ได้แก่

มาตรฐาน ISO[แก้]

  • โรงพยาบาลสัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน เป็นโรงพยาบาลสัตว์ของรัฐเพื่อการเรียนการสอน ดำเนินงานโดยคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทั้งนี้ โรงพยาบาลสัตว์ มก. ได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพระดับสากลทั้งระบบ หรือ ISO 9001:2015 เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2562[9][10][11][12]
  • หน่วยงานชันสูตรโรคสัตว์ กำแพงแสน ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการทางสัตวแพทย์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (อังกฤษ: Kampaengsaen Veterinary Diagnostic Center หรือ KVDC) เป็นศูนย์ให้บริการด้านการตรวจวินิจฉัยโรคทางสัตวแพทย์ สนับสนุนทั้งด้านการเรียนการสอน งานวิจัยของคณาจารย์และนิสิตคณะสัตวแพทยศาสตร์ รวมถึงสนับสนุนการดำเนินงานของโรงพยาบาลสัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตลอดจนให้บริการนอกสถานที่สำหรับฟาร์มเลี้ยงสัตว์ โดยในปี พ.ศ. 2565 หน่วยงานชันสูตรโรคสัตว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC17025 : 2017 จำนวน 15 ขอบข่าย [13]

วิทยาเขตกำแพงแสน[แก้]

คณะสัตวแพทยศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม เป็นส่วนหนึ่งของคณะสัตวแพทยศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ซึ่งมีนโยบายขยายการศึกษาออกนอกเขตเมือง เพื่อให้มีพื้นที่สำหรับการทดลองการปลูกพืชแปลงหญ้า และด้านปศุสัตว์ โดยนิสิตสัตวแพทย์ในชั้นปีที่ 4, 5 และ 6 จะมาเรียนที่วิทยาขตกำแพงแสน สำหรับชั้นปีที่ 6 นั้นจะมีการเลือกเรียนสัตว์เล็ก ณ วิทยาเขตบางเขน สัตว์ใหญ่ ณ วิทยาเขตกำแพงแสน

โรงพยาบาลสัตว์[แก้]

คณะสัตวแพทยศาสตร์ ได้สร้างโรงพยาบาลสัตว์ขึ้น เพื่อเป็นแหล่งฝึกปฏิบัติงานทางคลินิกของนิสิตตามหลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต และสาขาที่เกี่ยวข้อง ปัจจุบัน คณะสัตวแพทยศาสตร์ มีโรงพยาบาลสัตว์ 5 แห่ง ประกอบด้วย

  • โรงพยาบาลสัตว์ คณะสัตวแพทยศาสร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ตั้งอยู่ที่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
  • โรงพยาบาลสัตว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน ตั้งอยู่ภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน เลขที่ 1 หมู่ 6 บ้านทุ่งสมบัติ ถนนมาลัยแมน ตำบลกำแพงแสน อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม รหัสไปรษณีย์ 73140
  • โรงพยาบาลสัตว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หนองโพ ตั้งอยู่ที่ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี
  • โรงพยาบาลสัตว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หัวหิน ตั้งอยู่ที่ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
  • โรงพยาบาลสัตว์ ณ ทิพย์พิมาน และศูนย์พักพิงสัตว์เลี้ยงไร้บ้าน นครชัยบุรินทร์[14] [15] อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา

สำหรับการให้บริการนั้น โรงพยาบาลสัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับรางวัลดีเด่นนวัตกรรมการให้บริการ "งานบริการรักษาสัตว์ให้ได้มาตรฐานระดับชาติและนานาชาติ" จากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

โรงพยาบาลสัตว์คณะสัตวแพทยศาสร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน โรงพยาบาลสัตว์คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน และโรงพยาบาลสัตว์คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หนองโพ เป็นหน่วยงานราชการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีฐานะเทียบเท่าภาควิชาของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ต่อมาปี พ.ศ. 2565 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้รับโอนโรงพยาบาลสัตว์ทิพย์พิมานและศูนย์พักพิงสัตว์เสี้ยงไร้บ้าน นครชัยบุรินทร์ จากราชวิทยาจุฬาภรณ์ โดยสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีมติรับโอนเมื่อคราวประชุมสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 11/2565 วันจันทร์ที่ 28 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2565 ในการรับโอนมาสังกัดคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และจัดตั้งเป็น โรงพยาบาลสัตว์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ณ ทิพย์พิมาน

สระสุวรรณชาด[แก้]

คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานสระว่ายน้ำสำหรับการรักษาแบบธาราบำบัด ให้สุนัขที่ป่วยด้วยโรคข้อกระดูก และระบบประสาท โดยพระราชทานเงินรายได้จากการจำหน่ายเสื้อคุณทองแดง พร้อมทั้งพระราชทานชื่อสระว่ายน้ำว่า "สระสุวรรณชาด" ตามชื่อของคุณทองแดงซึ่งเป็นสุนัขทรงเลี้ยงของท่าน โดยท่านมักจะเสด็จพาคุณทองแดงมาทำการบำบัดที่สระสุวรรณชาด เมื่อมีโอกาส

การนำสุนัขลงว่ายน้ำ[แก้]

ก่อนการว่ายน้ำจะมีการพาสุนัขจูงเดินเล่นเพื่อผ่อนคลายและขับถ่ายให้เรียบร้อย จากนั้นจะนำสุนัขอาบน้ำชำระร่างกายและขนให้สะอาด สวมเสื้อชูชีพให้เรียบร้อย แล้วพาสุนัขลงสระ โดยจะใช้เวลาการว่ายน้ำครั้งละ ๕ นาที จากนั้นพักเป็นเวลา ๒ นาที โดยทำซ้ำเช่นนี้ ๔ ครั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของสุนัข หลังจากว่ายน้ำเสร็จก็จะพาสุนัขอาบน้ำชำระร่างกายอีกครั้ง

อ้างอิง[แก้]

  1. ประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่อง ชื่อปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ และเข็มวิทยฐานะของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๕๙ ประกาศเมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๖๖ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ๑๓ มิ.ย. ๒๕๕๙ เล่ม ๑๓๓ ตอนพิเศษ ๑๓๔ ง หน้า ๖ สืบค้นเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2566
  2. ARWU Global Ranking of Academic Subject เก็บถาวร 2021-11-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกดูวันที่ 2019-08-16
  3. ARWU ShanghaiRanking's Global Ranking of Academic Subjects 2017 - Veterinary Sciences เก็บถาวร 2019-08-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกดูวันที่ 2019-08-16
  4. ARWU ShanghaiRanking's Global Ranking of Academic Subjects 2018 - Veterinary Sciences เก็บถาวร 2019-08-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกดูวันที่ 2019-08-16
  5. ARWU ShanghaiRanking's Global Ranking of Academic Subjects 2019 - Veterinary Sciences เก็บถาวร 2017-07-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกดูวันที่ 2019-08-16
  6. ARWU ShanghaiRanking's Global Ranking of Academic Subjects 2020 - Veterinary Sciences เก็บถาวร 2017-07-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกดูวันที่ 2020-08-26
  7. "2021 Global Ranking of Academic Subjects - Veterinary Sciences". shanghairanking.com. สืบค้นเมื่อ 4 Aug 2021.
  8. สกว. การประเมินครั้งที่ 2 พ.ศ. 2553 เก็บถาวร 2020-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกดูวันที่ 2020-02-03
  9. โรงพยาบาลสัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. โรงพยาบาลสัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 เก็บถาวร 2020-02-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. เรียกดูวันที่ 2020-02-13
  10. ThaiPR.net โรงพยาบาลสัตว์ ม.เกษตร บางเขน รับมอบใบรับรองระบบรับรองมาตรฐาน ด้านระบบบริหารการจัดการคุณภาพ. เรียกดูวันที่ 2020-02-13
  11. ThaimediaPr.com โรงพยาบาลสัตว์ ม.เกษตร บางเขน รับมอบใบรับรองระบบรับรองมาตรฐาน ด้านระบบบริหารการจัดการคุณภาพ. เรียกดูวันที่ 2020-02-13
  12. United Registrar of Systems (URS). ข่าวสารและกิจกรรม. พิธีมอบใบรับรองมาตรฐาน ให้กับทางโรงพยาบาลสัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน เก็บถาวร 2020-02-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. เรียกดูวันที่ 2020-02-13
  13. "KUVDC - รับรองมาตรฐาน ISO/IEC17025 : 2017". KUVDC. สืบค้นเมื่อ 2 Feb 2022.
  14. https://medkasetsart.blogspot.com/2022/12/blog-post.html?m=1 สรุปการประชุมสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 11/2565 วันที่ 28 พ.ย.65 เรียกดูเมื่อ 7-12-2022
  15. มติจากการประชุมสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ ๓/๒๕๖๖ - วันจันทร์ที่ ๒๔เมษายน พ.ศ.๒๕๖๖, สำนักงานสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, สืบค้นเมื่อ วันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]