พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพงา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพงา
พระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น 3
ประสูติ28 มิถุนายน พ.ศ. 2359
สิ้นพระชนม์18 ตุลาคม พ.ศ. 2399 (40 ปี)
ราชวงศ์จักรี
พระราชบิดาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาเจ้าจอมมารดาเขียว ในรัชกาลที่ 3
ธรรมเนียมพระยศของ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพงา
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพงา บ้างออกพระนามว่า พังงา หรือใหญ่[1] (28 มิถุนายน พ.ศ. 2359 — 18 ตุลาคม พ.ศ. 2399) เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว กับเจ้าจอมมารดาเขียว (สกุลเดิม: สุนทรกุล ณ ชลบุรี) โดยพระชนนีเป็นพระธิดาในกรมขุนสุนทรภูเบศร์ เศรษฐีเมืองบางปลาสร้อยที่มีสัมพันธ์เป็นภราดาร่วมสาบานกับสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท[2] จึงได้รับการสถาปนาให้เป็นเจ้า[3] พระองค์เจ้าพงามีพระอนุชาร่วมพระชนนีเพียงพระองค์เดียว คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอดุลยลักษณสมบัติ[4]

พระองค์สิ้นพระชนม์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันเสาร์ เดือน 11 แรม 4 ค่ำ ปีมะโรง อัฐศก จุลศักราช 1218 ตรงกับวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2399 พระชันษา 40 ปี

พงศาวลี[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. กรมศิลปากร. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ (2554). ราชสกุลวงศ์ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. p. 41. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-02-02. สืบค้นเมื่อ 2015-04-30.
  2. "พระเจ้าวรวงศ์เธอ (ตอนที่ ๓)". ราชบัณฑิตยสถาน. 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2552. สืบค้นเมื่อ 16 พฤษภาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  3. จุลลดา ภักดีภูมินทร์. "จีนกุน จีนเรือง จีนมั่วเส็ง," เวียงวัง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : อักษรโสภณ, 2551. หน้า 38-43
  4. กรมศิลปากร. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ (2554). ราชสกุลวงศ์ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. p. 44. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-02-02. สืบค้นเมื่อ 2015-04-30.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]