ข้ามไปเนื้อหา

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอัจฉรพรรณีรัชกัญญา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอัจฉรพรรณีรัชกัญญา
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 5
พระองค์เจ้าชั้นเอก
ประสูติ7 กรกฎาคม พ.ศ. 2415 พระบรมมหาราชวัง ประเทศสยาม
สิ้นพระชนม์16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2453 (38 ปี)
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาเจ้าจอมมารดาตลับ ในรัชกาลที่ 5

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอัจฉรพรรณีรัชกัญญา (7 กรกฎาคม พ.ศ. 2415 – 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2453) เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาตลับ ในรัชกาลที่ 5

พระประวัติ

[แก้]

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอัจฉรพรรณีรัชกัญญา เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาตลับ ในรัชกาลที่ 5 เมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 2 ค่ำ เดือน 88 ปีวอก จัตวาศก จ.ศ. 1234 ตรงกับวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2415 มีพระโสทรานุชาหนึ่งพระองค์ คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอัจฉรพรรณีรัชกัญญา ประชวรพระวัณโรคภายในมาช้านาน แพทย์ได้ประกอบพระโอสถถวาย พระอาการหาคลายไม่ มีแต่ทรงบ้างแล้วกลับทรุดหนักเป็นลำดับมา เหลือกำลังของแพทย์ที่จะประกอบโอสถถวายให้หายจากพระโรคได้ต่อไป ครั้นวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2453 เวลา 2 ทุ่มเศษ พระโรคกำเริบหนักขึ้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงบันทึกไว้ปรากฏในหนังสือ ประวัติต้นรัชกาลที่ 6 (ภายใต้พระนาม ราม วชิราวุธ) ว่า "วันที่ 16 พฤศจิกายน พระเจ้าพี่นางเธอ พระองค์เจ้าอัจฉรพรรณีรัชกัญญา สิ้นพระชนม์เวลา 2 นาฬิกาเศษก่อนเที่ยง" [1]สิ้นพระชนม์ที่ตำหนักวังพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ซึ่งเสด็จไปทรงพักรักษาพระองค์ที่นั้น[2] สิริพระชันษา 38 ปี

วันที่ 16 พฤศจิกายน เจ้าพนักงานจัดการที่จะสรงน้ำพระศพ เวลา 4 ทุ่มเศษ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเครื่องครึ่งยศขาวทหารบก เสด็จพระราชดำเนินโดยรถม้าพระที่นั่งออกจากพระบรมมหาราชวังไปประทับ ณ วังพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระราชทานน้ำสรงพระศพแล้ว พระบรมวงศานุวงศ์และเสนาบดีสรงน้ำพระศพต่อไป ชาวประโคมประโคมแตรสังข์กลองชนะ มีแตรงอน 2 แตร ฝรั่ง 2 สังข์ 1 จ่าปี่ 1 จ่ากลอง 1 กลองชนะ 20 เสร็จการสรงพระศพแล้ว กรมพระภูษามาทรงเครื่องพระศพเชิญลงในพระลอง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสวมพระชฎาแล้ว กรมพระตำรวจเชิญขึ้นประดิษฐานเหนือชั้นแว่นฟ้า 2 ชั้น ในตำหนักที่สิ้นพระชนม์นั้น แวดล้อมด้วยเครื่องสูง 5 ชั้น เสร็จแล้ว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทอดไตร 30 ไตร และโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิตทรงทอดผ้าขาวพับ 60 พับ พระสงฆ์สดับปกรณ์ มีพระธรรมปาโมกข์เป็นประธาน สดับปกรณ์แล้ว ถวายยถาอนุโมทนา ถวายอดิเรกแล้ว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินกลับเวลาตี 2 เศษ เจ้าพนักงานประกอบพระโกศมณฑปใหญ่และตั้งเครื่องที่ชั้นแว่นฟ้าต่อไป ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระสงฆ์สวดพระอภิธรรมทั้งกลางวันกลางคืน และรับพระราชทานฉันเช้าวันละ 8 รูป เพล 8 รูป พระราชทานเครื่องประโคมพระศพตามพระเกียรติยศ มีกำหนด 3 เดือน[2]

แถวบนสุดพระองค์แรก

พระเกียรติยศ

[แก้]
ธรรมเนียมพระยศของ
พระองค์เจ้าอัจฉรพรรณีรัชกัญญา
ธงประจำพระอิสริยยศ
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ

พระอิสริยยศ

[แก้]
  • 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2415 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 : พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าอัจฉรพรรณีรัชกัญญา
  • 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 – 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2453 : พระเจ้าพี่นางเธอ พระองค์เจ้าอัจฉรพรรณีรัชกัญญา
  • 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478 : พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอัจฉรพรรณีรัชกัญญา

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

พงศาวลี

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ราม วชิราวุธ, ประวัติต้นรัชกาลที่ ๖, จัดพิมพ์โดยศิลปวัฒนธรรม (ฉบับพิเศษ) หน้า 132
  2. 2.0 2.1 ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวสิ้นพระชนม์ เล่ม 27 ตอน ง หน้า 2001 วันที่ 26 พฤศจิกายน 2453
  3. ราชกิจจานุเบกษา, การพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับตระกูลจุลจอมเกล้า และถวายบังคมพระบรมรูป เนื่องในวันคล้ายกับวันพระบรมราชาภิเษกครั้งหลัง ตามสุริยตคติ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 16, ตอน 34, 19 พฤศจิกายน ร.ศ. 118, หน้า 499
  4. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบันฝ่ายใน เก็บถาวร 2011-11-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 25, ตอน 39, 27 ธันวาคม พ.ศ. 2451, หน้า 1153
  • บรรเจิด อินทุจันทร์ยง. ราชสกุลพระบรมราชวงศ์จักรี. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2539. หน้า หน้าที่. ISBN 974-0056-50-8 ข้อผิดพลาดพารามิเตอร์ใน {{ISBN}}: checksum
  • นิกร ทัสสโร. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระบิดาแห่งกฎหมายไทย. กรุงเทพฯ : บริษัท นานมีบุ๊ค จำกัด, พิมพ์ครั้งที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2549. 520 หน้า หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-9909-30-5