ท้าววนิดาพิจาริณี (บาง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา)
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก |
ท้าว วนิดาพิจาริณี (บาง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา) ท.จ.ว. | |
---|---|
![]() ท้าววนิดาพิจาริณีเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2493 | |
เกิด | บาง บุญธร 11 มกราคม พ.ศ. 2429 |
เสียชีวิต | 2 มีนาคม พ.ศ. 2513 (83 ปี) โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จังหวัดพระนคร |
ตำแหน่ง | ท้าววนิดาพิจาริณี |
คู่สมรส | เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) |
บุตร | หม่อมหลวงสงบ สนิทวงศ์ หม่อมหลวงบัว กิติยากร หม่อมหลวงจินดา สนิทวงศ์ ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค |
บิดามารดา | รวย บุญธร แหว บุญธร |
ท้าววนิดาพิจาริณี มีนามเดิมว่า บาง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม บุญธร; พ.ศ. 2429— 2 มีนาคม พ.ศ. 2513) เป็นพระอัยยิกาในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงและพระปัยยิกาในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
ประวัติ[แก้]
ท้าววนิดาพิจาริณี เกิดในปี พ.ศ. 2429 เป็นบุตรคนหนึ่งจากทั้งหมดห้าคนของนายรวย บุญธร กับนางแหว (สกุลเดิม ณ บางช้าง)[1] มารดาของนายรวยเป็นสตรีจากสกุลบุณยรัตพันธุ์ ในวัยเยาว์นายรวยเคยสนองพระเดชพระคุณเป็นจางวางในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูบดีราชหฤทัยซึ่งมีเจ้าจอมมารดามาจากสกุลบุณยรัตพันธุ์ ส่วนนางแหว เป็นราชินิกุล ณ บางช้าง เป็นบุตรีของนายทัด บุตรจางวางด้วง ณ บางช้าง จางวางในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร[2]
ท้าววนิดาพิจาริณีมีบุตร-ธิดากับ เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) ได้แก่
- หม่อมหลวงสงบ สนิทวงศ์ (ถึงแก่กรรมตั้งแต่เด็ก)[3]
- หม่อมหลวงบัว กิติยากร (25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2452 — 19 กันยายน พ.ศ. 2542)[4] เสกสมรสกับพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ มีพระโอรส-ธิดาหนึ่งพระองค์ กับอีกสามคน[5] หนึ่งในนั้นคือสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
- พลโท นายแพทย์ หม่อมหลวงจินดา สนิทวงศ์ (26 สิงหาคม พ.ศ. 2459 — 24 ตุลาคม พ.ศ. 2530) สมรสกับท่านผู้หญิงเกนหลง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา มีบุตรสามคน[6]
- ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค (23 มิถุนายน พ.ศ. 2465 — 23 เมษายน พ.ศ. 2543) สมรสกับสุรเทิน บุนนาค มีบุตรสองคน[7]
ท้าววนิดาพิจาริณีและเจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์เป็นผู้เลี้ยงดูสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่มีชันษา 3 เดือน ในระหว่าง พ.ศ. 2475-2477 เมื่อหม่อมหลวงบัว กิติยากร ธิดา ต้องติดตามหม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร ผู้สามี ไปปฏิบัติราชการตำแหน่งเลขานุการเอก ณ สถานเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา[8]
ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เป็น "ท้าววนิดาพิจาริณี" เมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2493[9] อันถือเป็นการสถาปนายศบรรดาศักดิ์ชั้นท้าวนาง สำหรับข้าราชสำนักฝ่ายใน ตามโบราณราชประเพณีเป็นครั้งสุดท้าย
ท้าววนิดาพิจาริณี (บาง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา) ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคชราเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2513 ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สิริอายุ 84 ปี[2] และพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2513 ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส[10] ได้รับพระราชทานโกศไม้สิบสองประกอบเกียรติยศ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2493 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายใน)[11]
- พ.ศ. 2496 –
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[12]
ลำดับสาแหรก[แก้]
ลำดับสาแหรกของท้าววนิดาพิจาริณี (บาง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง[แก้]
- ↑ สมภพ ภิรมย์, ศาสตราจารย์ น.อ.. "สาแหรกครอบครัว (Family Tree) ลำดับพระมหากษัตริย์ในพระบรมราชจักรีวงศ์เฉพาะสายที่สืบราชสมบัติ". พระเมรุมาศ พระเมรุ และเมรุ สมัยกรุงรัตนโกสินทร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:อมรินทร์การพิมพ์. 2528
- ↑ 2.0 2.1 พุทธานุวัตร. ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์พระราชทานในการพระราชทานเพลิงศพท้าววนิดาพิจาริณี (บาง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา) ท.จ.ว.
- ↑ เสด็จฯ ดอย จดหมายเหตุรายวันคราประทับภูพิงคราชนิเวศน์ เชียงใหม่ พ.ศ. 2513. ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์พระราชทานในการพระราชทานเพลิงศพท้าววนิดาพิจาริณี (บาง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา) ท.จ.ว., หน้า 14
- ↑ ราชินีทรงบำเพ็ญพระราชกุศล เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันถึงแก่พิราลัยหม่อมหลวงบัว กิติยากร
- ↑ "ประวัติ หม่อมหลวงบัว กิติยากร". คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2010-11-29. สืบค้นเมื่อ 2012-04-22.
- ↑ อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลโทนายแพทย์ มล. จินดา สนิทวงศ์
- ↑ ชมรมสายสกุลบุนนาค
- ↑ สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ. รัตนราชินีศรีประเทศ. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, หน้า 14-15
- ↑ "เรื่องพระราชทานบรรดาศักดิ์ฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 67 (25ง): 1703–1704. 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2493. Check date values in:
|date=
(help) - ↑ เสด็จฯ ดอย จดหมายเหตุรายวันคราประทับภูพิงคราชนิเวศน์ เชียงใหม่ พ.ศ. 2513. ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์พระราชทานในการพระราชทานเพลิงศพท้าววนิดาพิจาริณี (บาง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา) ท.จ.ว., หน้าปก
- ↑ "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้าและฝ่ายใน ประจำปี 2493" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 1805 (25): 1807. 2 พฤษภาคม 2493. Check date values in:
|date=
(help) - ↑ "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 70 (29 ง): 2049. 12 พฤษภาคม 2496. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2563. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ ทรงวิทย์ แก้วศรี. เกียรติคุณหม่อมหลวงพวงร้อย อภัยวงศ์. กรุงเทพฯ : อมรินทร์การพิมพ์, มมป., หน้า 15