พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภาพรรณพิไลย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าประภาพรรณพิไลย
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 5
พระองค์เจ้าชั้นเอก
ประสูติ13 สิงหาคม พ.ศ. 2428
สิ้นพระชนม์8 กันยายน พ.ศ. 2491 (63 ปี)
พระราชทานเพลิง23 เมษายน พ.ศ. 2493
พระเมรุ ท้องสนามหลวง
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาเจ้าจอมมารดาพร้อม ในรัชกาลที่ 5

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภาพรรณพิไลย (13 สิงหาคม พ.ศ. 2428 - 8 กันยายน พ.ศ. 2491) เป็นพระราชธิดาพระองค์ที่ 56 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาพร้อม

พระประวัติ[แก้]

พระองค์เจ้าประภาพรรณพิไลย เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาพร้อม ธิดาของพระยาพิษณุโลกาธิบดี (บัว) เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2428 เป็นพระราชธิดาแฝดคู่กับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประไพพรรณพิลาส โดยพระองค์เป็นพระเชษฐภคินี และเป็นพระราชธิดาแฝดคู่เดียวในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นคู่ที่สี่และคู่ล่าสุดในราชวงศ์จักรี ซึ่งก่อนหน้านั้นมีพระราชวงศ์แฝดสามคู่ ได้แก่[1]

  1. พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า (แฝดชาย-หญิง) ในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาทรัพย์ เมื่อพ.ศ. 2353 และสิ้นพระชนม์ในวันประสูติ
  2. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้า (แฝดหญิง-หญิง) ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาหนูจีน เมื่อพ.ศ. 2354 และสิ้นพระชนม์เมื่อมีพระชันษาราว 6 - 7 วัน
  3. พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า (แฝดชาย-ชาย) ในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ประสูติแต่จอมมารดาหม่อมหลวงปริก เมื่อพ.ศ. 2400 และสิ้นพระชนม์ในปีเดียวกัน

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดปรานพระราชธิดาแฝด และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระพี่เลี้ยงเชิญตามเสด็จด้วยอยู่เสมอ จนกระทั่งพระองค์เจ้าประไพพรรณพิลาส พระขนิษฐาแฝดประชวร และสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2429 สิริพระชันษา 1 ปี 3 เดือน

หลังจากเจ้าจอมมารดาพร้อม ถึงแก่อนิจกรรม สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าทรงทูลขอพระราชทาน พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าประภาพรรณพิไลย มาอภิบาลเป็นพระราชธิดาบุญธรรม พร้อมกับ พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าเยาวภาพงศ์สนิท พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ และพระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าวาปีบุษบากร

พระองค์เจ้าประภาพรรณพิไลยสิ้นพระชนม์ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2491 สิริพระชันษา 63 ปี จัดพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ ณ ท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2493 โดยใช้พระเมรุมาศองค์เดียวกับพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร[2]

พระเกียรติยศ[แก้]

ธรรมเนียมพระยศของ
พระองค์เจ้าประภาพรรณพิไลย
ธงประจำพระอิสริยยศ
การทูลใต้ฝ่าพระบาท[3]
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า[3]
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ

พระอิสริยยศ[แก้]

  • 13 สิงหาคม พ.ศ. 2428 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 : พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าประภาพรรณพิไลย
  • 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 – 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 : พระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้าประภาพรรณพิไลย
  • 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 – 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478 : พระเจ้าพี่นางเธอ พระองค์เจ้าประภาพรรณพิไลย
  • 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478 – 8 กันยายน พ.ศ. 2491 : พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภาพรรณพิไลย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

พงศาวลี[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ธงทอง จันทรางศุในกำแพงแก้ว. กรุงเทพฯ : เอส.ซี.พริ้นท์แอนด์แพค, พิมพ์ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2550. 169 หน้า. ISBN 978-9748-371-443
  2. "กำหนดการ ที่ ๗/๒๔๙๓ พระราชทานเพลิงศพจอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต พระศพพลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ และพระศพ พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าพวงสร้อยสอางค์พระองค์เจ้าประภาพรรณพิไลย ณ พระเมรุท้องสนามหลวง พุทธศักราช ๒๔๙๓" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 67(21 ง): 1525, 1540–1550. 11 เมษายน 2493. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2562.
  3. 3.0 3.1 คุณหญิงกุลทรัพย์ เกษแม่นกิจ และสายไหม จบกลศึก (บรรณาธิการ) (2555). ราชาศัพท์ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. p. 22-23.[ลิงก์เสีย]
  4. "การพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับตระกูลจุลจอมเกล้า และถวายบังคมพระบรมรูป เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชาภิเษกครั้งหลัง ตามสุริยตคติ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 16 (ตอน 34): หน้า 499. 19 พฤศจิกายน ร.ศ. 118. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  5. "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบันฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 25 (ตอน 39): หน้า 1153. 27 ธันวาคม ร.ศ. 127. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-20. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  6. "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบัน ฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 29 (ตอน 0 ง): หน้า 2445. 22 มกราคม ร.ศ. 131. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  7. "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 43 (ตอน 0 ง): หน้า 3116. 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2469. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-20. สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  8. "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 55 (ตอน 0 ง): หน้า 3421. 16 มกราคม พ.ศ. 2481. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-12-15. สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)