ข้ามไปเนื้อหา

กรมประมง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กรมประมง
Department of Fisheries
ตราสัญลักษณ์กรมประมง
ตราพระพิรุณทรงนาครูปแบบเดิม

เครื่องหมายราชการบนเครื่องแบบพนักงานราชการ
ภาพรวมกรม
ก่อตั้ง27 กันยายน พ.ศ. 2469; 98 ปีก่อน (2469-09-27)
กรมก่อนหน้า
  • กรมรักษาสัตว์น้ำ (พ.ศ. 2469 – พ.ศ. 2476)
  • กรมการประมง (พ.ศ. 2476 – พ.ศ. 2496)
ประเภทส่วนราชการ
เขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร
สำนักงานใหญ่เลขที่ 50 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
บุคลากร7,589 คน (พ.ศ. 2566)[1]
งบประมาณต่อปี3,972,019,800 บาท (พ.ศ. 2568)[2]
ฝ่ายบริหารกรม
  • บัญชา สุขแก้ว, อธิบดี
  • มานพ หนูสอน, รองอธิบดี
  • สุวัฐน์ วงศ์สุวัฒน์, รองอธิบดี
  • ฐิติพร หลาวประเสริฐ, รองอธิบดี
ต้นสังกัดกรมกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เว็บไซต์เว็บไซต์กรมประมง

กรมประมง (อังกฤษ: Department of Fisheries) เป็น หน่วยงานของรัฐ สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ทำการศึกษา ค้นคว้า สำรวจ วิจัย วิเคราะห์ ทดลอง ด้านวิชาการทุกสาขาวิชาการของประมง ตลอดจนทำการส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนา อาชีพที่เกี่ยวกับการประมงของประเทศให้เจริญก้าวหน้าต่อไปในอนาคต

ประวัติ

[แก้]

เดิมกรมประมง จัดตั้งขึ้นมาตามพระบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ชื่อว่า กรมรักษาสัตว์น้ำ เมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2469 สังกัดกระทรวงเกษตราธิการ มีหน้าที่ในการดูแลการจับสัตว์น้ำ เพื่อเป็นอาหารภายในประเทศ และเป็นสินค้าส่งออกต่างประเทศ รวมถึงกำหนดระยะเวลาในการอนุญาตจับสัตว์น้ำตามพระราชบัญญัติอากรน้ำ ร.ศ. 120 โดยมี ดร.ฮิวจ์ แมคคอร์มิค สมิธ เป็นเจ้ากรมรักษาสัตว์น้ำคนแรก[3]

ต่อมาหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ได้มีประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ยุบรวมกระทรวงเกษตราธิการ กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงคมนาคม เป็นกระทรวงเกษตรพาณิชยการ จากนั้นได้มีพระราชบัญญัติจัดตั้งกระทรวงและกรม เปลี่ยนชื่อ 3 กระทรวงที่ยุบเป็น กระทรวงเศรษฐการ ซึ่งมีชื่อกรมการประมงอยู่ใน ราชการส่วนเกษตร[4] และย้ายมาสังกัดกระทรวงเกษตราธิการ ในปี พ.ศ. 2484[5] และมีพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งเนื้อหาได้ปรับเปลี่ยนชื่อจากกรมการประมง เป็น "กรมประมง"[3]

หน่วยงานในสังกัด

[แก้]

ราชการบริหารส่วนกลาง[6]

[แก้]
  • อาร์มเจ้าหน้าที่ตรวจการประมง กรมประมง
    สำนักงานเลขานุการกรม
  • กองกฎหมาย
  • กองการเจ้าหน้าที่
  • กองคลัง
  • กองควบคุมการค้าสัตว์น้ำและปัจจัยการผลิต
  • กองโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและกิจกรรมพิเศษ
  • กองตรวจการประมง
  • กองตรวจสอบคุณภาพสินค้าประมง
  • กองนโยบายและยุทธศาสตร์พัฒนาการประมง
  • กองบริหารจัดการทรัพยากรและกำหนดมาตรการ
  • กองบริหารจัดการเรือประมงและการทำการประมง
  • กองประมงต่างประเทศ
  • กองแผนงาน
  • กองพัฒนาระบบการรับรองมาตรฐานสินค้าประมงและหลักฐานเพื่อการสืบค้น
  • กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด
  • กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
  • กองวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ
  • กองวิจัยและพัฒนาประมงทะเล
  • กองวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด
  • กองวิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำ
  • กองวิจัยและพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ
  • กองวิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์น้ำ
  • ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  • สำนักงานประมงพื้นที่กรุงเทพมหานคร

ราชการบริหารส่วนกลางที่ตั้งอยู่ในภูมิภาค

[แก้]
  • ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด 31 หน่วยงาน และสถาบันวิจัยสัตว์น้ำสวยงามและพรรณไม้น้ำ
  • ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง 15 หน่วยงาน และสถาบันวิจัยอาหารสัตว์น้ำชายฝั่ง
  • ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเล 5 หน่วยงาน
  • ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล 1 หน่วยงาน
  • ศูนย์วิจัยและตรวจสอบพันธุ์สัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ 3 หน่วยงาน
  • ศูนย์วิจัยและทดสอบพันธุ์สัตว์น้ำ 5 หน่วยงาน
  • ศูนย์ป้องกันและปราบปรามประมงน้ำจืด 7 หน่วยงาน และหน่วยป้องกันและปราบปรามประมงน้ำจืด 10 หน่วยงาน
  • ศูนย์ป้องกันและปราบปรามประมงทะเล 5 หน่วยงาน
  • สถานีประมงน้ำจืด 14 หน่วยงาน
  • สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง 5 หน่วยงาน
  • ส่วนตรวจการค้าสัตว์น้ำ 1 หน่วยงาน และด่านตรวจสัตว์น้ำ 6 หน่วยงาน

ราชกรบริหารส่วนภูมิภาค

[แก้]
  • สำนักงานประมงจังหวัด
  • สำนักงานประมงอำเภอ ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด

งานวันประมงน้อมเกล้าฯ

[แก้]

งานประมงน้อมเกล้าฯ เป็นกิจกรรมการแสดงนิทรรศการของการประมงในประเทศไทย โดยเน้นไปที่ปลาสวยงามเป็นหลัก จัดขึ้นตามพระราชดำริของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี จัดงานดังกล่าวขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 ณ บริเวณสวนอัมพร[7]

เรือ

[แก้]

เรือสำรวจ

[แก้]

กรมประมงมีเรือสำรวจประมงประจำการอยู่ 3 ลำ และส่งมอบให้หน่วยงานอื่น 1 ลำ ประกอบไปด้วย

  • เรือกิตติขจร ภายหลังส่งมอบให้กรมเจ้าท่าและถูกเปลี่ยนชื่อเป็น เรือพยุหรักษ์
    เรือกิตติขจร เป็นเรือสำรวจประมงลำที่ 1 ของกรมประมง เข้าประจำการเมื่อ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 โดยเป็นเรือลำแรกที่บุกเบิกการสำรวจแหล่งทำประมงในพื้นที่ห่างจากฝั่งและอ่าวไทย บุกเบิกการทำประมงแบบอวนลากหน้าดิน และเป็นเรือฝึกอบรมให้กับชาวประมง นิสิต และนักศึกษาต่าง ๆ[8] ต่อมาได้ส่งมอบเรือให้กับกรมขนส่งทางน้ำและพาณิชย์นาวีในวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2529[9] และเป็นเรือฝึกของศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี ปัจจุบันปลดประจำการแล้ว
  • เรือธนะรัชต์ เป็นเรือสำรวจประมงลำที่ 2 ของกรมประมง มีต้นแบบมาจากเรือหลวงจันทรของกองทัพเรือ ต่อขึ้นที่ประเทศญี่ปุ่นและเข้าประจำการเมื่อ พ.ศ. 2508 ปัจจุบันสังกัดสำนักบริหารและจัดการด้านการประมง ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลอ่าวไทยตอนบน (สมุทรปราการ) กรมประมง[10]
  • เรือสำรวจประมงจุฬาภรณ์ เป็นเรือสำรวจประมงลำที่ 3 ของกรมประมง ได้รับการพระราชทานชื่อและประกอบพิธีขึ้นระวางประจำการเมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2530 โดยสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ณ ท่าเทียบเรือโรงเรียนนายเรือ จังหวัดสมุทรปราการ[11]
  • เรือสำรวจประมงมหิดล เป็นเรือสำรวจประมงลำที่ 4 ของกรมประมง เข้าประจำการเมื่อปี พ.ศ. 2537 ทำหน้าที่สำรวจและวิจัยทางทะเล สังกัดสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีประมงทะเลลึก[12]

เรือตรวจประมง

[แก้]

กรมประมงประกอบไปด้วยเรือตรวจการณ์จำนวน 6 ชนิดด้วยกัน คือ

  • เรือตรวจประมงแอร์โบ้ท เป็นเรือที่มีความยาวไม่ต่ำกว่า 5.60 เมตร ความกว้างส่วนท้ายเรือไม่ต่ำกว่า 2.40 เมตร และความสูงผนังด้านข้างเรือไม่ต่ำกว่า 0.75 เมตร ทำความเร็วสูงสุด (Maximun Speed Empty) ไม่ต่ำกว่า 40 นอต ความเร็วเมื่อบรรทุกเต็มสมรรถนะ (Maximum Speed Full Loaded) ไม่ต่ำกว่า 30 นอต[13]
  • เรือตรวจประมงขนาด 19 ฟุต เป็นเรือที่มีความยาวตลอดลำเรือไม่ต่ำกว่า 19.6 ฟุต (6.0 เมตร) ความกว้างกลางลำเรือไม่ต่ำกว่า 7.4 ฟุต (2.26 เมตร) ทำความเร็วสูงสุด (Maximum Speed) ไม่ต่ำกว่า 30 น็อต เมื่อน้ำมันเต็มถัง พร้อมด้วยพลประจำเรือ 5 คน ซึ่งถังน้ำมันเชื้อเพลิงทำจากสแตนเลส มีความจุไม่น้อยกว่า 200 ลิตร[14]
  • เรือตรวจประมงขนาด 38 ฟุต เป็นเรือที่มีความยาวตลอดลำเรือไม่ต่ำกว่า 38 ฟุต (12 เมตร) ความกว้างกลางลำเรือไม่ต่ำกว่า 9 ฟุต (2.7 เมตร) ความลึกของเรือไม่ต่ำกว่า 4.6 ฟุต (1.4 เมตร) บรรทุกผู้โดยสารได้ไม่ต่ำกว่า 15 คน ทำความเร็วสูงสุดไม่ต่ำกว่า 35 นอต (65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ความจุของถังน้ำมันเชื้อเพลิงไม่ต่ำกว่า 600 ลิตร มีระยะปฏิบัติการของเรือไม่น้อยกว่า 150 ไมล์ (240 กิโลเมตร) โดยใช้เครื่องยนต์ติดท้าย (Outboard Motor) แบบ 4 จังหวะ ขนาด 300 แรงม้าจำนวน  2 เครื่อง[15]
  • เรือตรวจประมงทะเล หมายเลข 605 เป็นเรือขนาด 60 ฟุต
    เรือตรวจประมงขนาด 60 ฟุต เป็นเรือที่มีความยาวตลอดลำเรือไม่ต่ำกว่า 60 ฟุต (18 เมตร) ความกว้างกลางลำเรือไม่ต่ำกว่า 15 ฟุต (4.6 เมตร) ความลึกของลำเรือไม่ต่ำกว่า 8 ฟุต (2.4 เมตร) กินน้ำลึกประมาณ 4 ฟุต (1.2 เมตร) ทำความเร็วสูงสุดไม่น้อยกว่า 30 นอต (56 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ความเร็วสูงสุดต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 25 นอต (46 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) มีรัศมีปฏิบัติการไม่ต่ำกว่า 500 ไมล์ทะเล (930 กิโลเมตร) ที่ความเร็วเดินทางไม่ต่ำกว่า 25 นอต (46 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) โดยมีเครื่องยนต์ดีเซลหมุนเร็วพร้อมกับเกียร์ขับเพลาใบจักรจำนวน 2 เครื่อง และถังบรรจุน้ำจืดขนาดไม่น้อยกว่า 2000 ลิตร[16]
  • เรือตรวจประมงขนาด 70 ฟุต เป็นเรือที่มีความยาวตลอดลำเรือไม่ต่ำกว่า 70 ฟุต (21 เมตร) ความกว้างกลางลำเรือไม่ต่ำกว่า 17 ฟุต (5.2 เมตร) ความลึกของเรือไม่ต่ำกว่า 9 ฟุต (2.7 เมตร) กินน้ำลึกประมาณ 5 ฟุต (1.5 เมตร) ทำความเร็วสูงสุดไม่น้อยกว่า 30 นอต (56 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ความเร็วสูงสุดต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 25 นอต (46 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) มีรัศมีปฏิบัติการไม่ต่ำกว่า 500 ไมล์ทะเล (930 กิโลเมตร) ที่ความเร็วเดินทางไม่ต่ำกว่า 25 นอต (46 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) โดยมีเครื่องยนต์ดีเซลหมุนเร็วพร้อมกับเกียร์ขับเพลาใบจักรจำนวน 2 เครื่อง และถังบรรจุน้ำจืดขนาดไม่น้อยกว่า 2000 ลิตร[17]
  • เรือตรวจประมงขนาด 100 ฟุต เป็นเรือที่มีความตลอดลำเรือไม่ต่ำกว่า 100 ฟุต (30 เมตร) ความกว้างกลางลำเรือไม่ต่ำกว่า 22 ฟุต (6.7 เมตร) ตัวเรือกินน้ำลึก ณ กึ่งกลางลำไม่ต่ำกว่า 5 ฟุต (1.5 เมตร) ทำความเร็วสูงสุดที่กำลังเครื่อง Half Loaded ได้ไม่ต่ำกว่า 25 นอต (46 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ระยะปฏิบัติการไม่น้อยกว่า 1,000 ไมล์ทะเล (1,900 กิโลเมตร) ที่ระวางขับน้ำเต็มที่ ในความเร็วเดินทางไม่น้อยกว่า 15 นอต (28 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) มีถังน้ำจืดขนาดไม่น้อยกว่า 10000 ลิตร ถังเชื้อเพลิงสำหรับปฏิบัติงานต่อเนื่องทางทะเลไมน้อยกว่า 1,000 ไมล์ทะเล (1,900 กิโลเมตร)[18]

รายชื่อเรือตรวจประมง

[แก้]
  • เรือตรวจประมงทะเล 1001 (สมุย) ความยาว 100 ฟุต กินน้ำลึก 5 ฟุต ตรวจการณ์ฝั่งอ่าวไทย[19]
  • เรือตรวจประมงทะเล 1002 ความยาว 100 ฟุต กินน้ำลึก 5 ฟุต ตรวจการณ์ฝั่งทะเลอันดามัน[19]

อ้างอิง

[แก้]
  1. รายงานประจำปี 2566 กรมประมง
  2. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๔๖, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
  3. 3.0 3.1 ประวัติกรมประมง. "Department of Fisheries | กรมประมง". www4.fisheries.go.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-09. สืบค้นเมื่อ 2022-02-24.
  4. "พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พุทธศักราช ๒๔๗๖" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-15. สืบค้นเมื่อ 2010-09-03.
  5. "พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พุทธศักราช ๒๔๘๔" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-05-04. สืบค้นเมื่อ 2010-09-03.
  6. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/A/047/16.PDF
  7. หน้า ๑๗๔, ๘๔ ปี สถาปนากรมประมง, วารสารพิเศษของกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. ๒๕๕๓
  8. "อาชีพสุดเสี่ยง 'แรงงานบนเรือประมง' ถูกหลอก งานหนัก เฆี่ยนตี ไม่ได้ค่าแรง". www.tcijthai.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  9. "เรือกิตติขจร - กองวิจัยและพัฒนาประมงทะเล". www4.fisheries.go.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-06-09. สืบค้นเมื่อ 2023-06-09.
  10. "กองวิจัยและพัฒนาประมงทะเล". www4.fisheries.go.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-06-09. สืบค้นเมื่อ 2023-06-09.
  11. "เรือสำรวจประมงจุฬาภรณ์ - กองวิจัยและพัฒนาประมงทะเล". www4.fisheries.go.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-06-09. สืบค้นเมื่อ 2023-06-09.
  12. "เรือสำรวจประมงมหิดล". www.fisheries.go.th.
  13. "เรือตรวจประมง Air Boat - กลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีเรือตรวจการประมง". www4.fisheries.go.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-06-09. สืบค้นเมื่อ 2023-06-09.
  14. "เรือตรวจประมง 19 ฟุต - กลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีเรือตรวจการประมง". www4.fisheries.go.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-06-09. สืบค้นเมื่อ 2023-06-09.
  15. "เรือตรวจประมง 38 ฟุต - กลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีเรือตรวจการประมง". www4.fisheries.go.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-06-09. สืบค้นเมื่อ 2023-06-09.
  16. "เรือตรวจประมง 60 ฟุต - กลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีเรือตรวจการประมง". www4.fisheries.go.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-06-09. สืบค้นเมื่อ 2023-06-09.
  17. "เรือตรวจประมง 70 ฟุต - กลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีเรือตรวจการประมง". www4.fisheries.go.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-06-09. สืบค้นเมื่อ 2023-06-09.
  18. "เรือตรวจประมง 100 ฟุต - กลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีเรือตรวจการประมง". www4.fisheries.go.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-06-09. สืบค้นเมื่อ 2023-06-09.
  19. 19.0 19.1 aof (2018-12-14). "กรมประมง เอาจริง! ปล่อยเรือตรวจประมงทะเล 2 ลำใหญ่ ป้อง IUU อ่าวไทย-อันดามัน". ประชาชาติธุรกิจ.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]