เครื่องราชอิสริยาภรณ์เซราฟีม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เครื่องราชอิสริยาภรณ์เซราฟีม
ประเภทอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุด
วันสถาปนาพ.ศ. 2291
ประเทศ สวีเดน
แพรแถบ
ผู้สมควรได้รับพระมหากษัตริย์, พระราชินี, พระบรมวงศานุวงศ์ และประมุขแห่งรัฐตลอดจนผู้มีเกียรติจากต่างประเทศ
สถานะยังมีการมอบ
ประธานพระมหากษัตริย์สวีเดน
สถิติการมอบ
รายแรกสวีเดน: พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งสวีเดน
รายล่าสุดเกาหลีใต้: มุน แจ-อิน[1]
ทั้งหมด882 ราย
ลำดับเกียรติ
สูงกว่าไม่มี
รองมาเครื่องราชอิสริยาภรณ์ดาบ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์เซราฟีม (สวีเดน: Kungliga Serafimerorden) เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดของประเทศสวีเดน และเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่เก่าแก่ชนิดหนึ่งของโลก สถาปนาขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2291 โดยพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งสวีเดน ซึ่งสร้างมาพร้อมกันกับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ดาบและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ดาวขั้วโลก[2][3] เครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้มีเพียงสองชั้นคือ ชั้นอัศวิน และชั้นสมาชิก ประกอบด้วยดวงตราห้อยกับสายสะพายสีฟ้า สายสร้อย และดารา เครื่องราชอิสริยาภรณ์มอบให้แก่พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระบรมวงศานุวงศ์สวีเดน[4][5] ตลอดจนประมุขและผู้มีเกียรติจากต่างประเทศ

ลักษณะของเครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

สายสร้อยและดวงตราของเครื่องราชอิสริยาภรณ์
เจ้าหญิงวิกตอเรีย มกุฎราชกุมารีแห่งสวีเดนและเจ้าชายดาเนียล ดยุกแห่งเวสเตร์เยิตลันด์ขณะทรงประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้มีเพียงสองชั้น และใน 1 สำรับของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ประกอบไปด้วยดวงตรา 2 ดวง ดวงหนึ่งห้อยกับสายสร้อย อีกดวงหนึ่งห้อยกับสายสะพายสีฟ้าสะพายจากทางขวาเฉียงลงทางซ้าย และดาราประดับบนหน้าอกซ้าย ลักษณะใน 1 สำรับมีดังนี้

  • สายสร้อย (Collar) ลักษณะมีนกเซราฟีมสีทองสลับกันกับตราดวงกางเขนสีฟ้าอย่างละ 11 ตัว โดยตัวนกเซราฟีมสีทองนั้นมีหน้าคล้ายเด็กทารกปรากฎอยู่
  • ดวงตรา (Badge) ลักษณะเป็นกางเขนมอลตาและลงยาด้วยกางเขนสีทอง 4 ด้าน และซ้อนกับนกเซราฟีมสีทองคั่นระหว่างกางเขนทั้ง 4 ด้าน และมีอัญมณีสีน้ำเงินสลักตัวอักษร IHS สีขาว
  • สายสะพาย (Sash) ลักษณะเป็นสีฟ้าอ่อนๆ หรือที่คนสวีเดนมักเรียกว่าสีน้ำเงินเซราฟีม มีขนาดเล็กมากตามแต่ระดับวัยหรือเพศของสมาชิกแห่งราชอิสริยาภรณ์
  • ดารา (Star) ลักษณะคล้ายดวงตรา แต่มีขนาดใหญ่กว่า

ตราประจำของผู้ได้รับ[แก้]

เซราฟีมเมินเลกิเอิน เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 เพื่อไว้อาลัยแก่ริชชาร์ท ฟ็อน ไวทซ์เซ็คเคอร์ อดีตประธานาธิบดีแห่งประเทศเยอรมนี
ตราประจำพระอิสริยยศและตราประจำตัวของผู้ได้รับการถวายและพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่เสด็จสวรรคต สิ้นพระชนม์ และเสียชีวิตไปแล้วและประดิษฐานไว้ในวิหารลิตาโฮเมน

ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ หากได้รับพระราชทานใหม่ๆ จะต้องมีตราประจำของตัวผู้ได้รับ ซึ่งจะประกอบไปด้วยตราแผ่นดินหรือตราประจำตัวและล้อมรอบด้วยสายสร้อยหรือสายสะพายตามแต่ลำดับชั้นผู้ที่ได้รับพระราชทาน โดยจะวาดลงบนแผ่นคอปเปอร์ และนำไปประดิษฐานไว้ที่หอเกียรติยศเซราฟีมในพระบรมหาราชวังของสวีเดน เมื่อผู้ได้รับพระราชทานได้เสียชีวิตลง แผ่นตราประจำของผู้ได้รับดังกล่าวจะถูกย้ายจากพระราชวังไปทำพิธีไว้อาลัยที่วิหารลิตาโฮเมนในกรุงสต็อกโฮล์ม และจะสั่นระฆังเพื่อไว้อาลัยเป็นเวลา 1 ชั่วโมง ตั้งแต่เวลา 12:00 น. ถึง 13:00 น. ตามเวลาท้องถิ่น โดยเรียกพิธีนี้ว่า เซราฟีมเมินเลกิเอิน

สมาชิกแห่งราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "State visit from the Republic of Korea – day 1". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-10. สืบค้นเมื่อ 2021-04-10.
  2. "kungahuset.se". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-31. สืบค้นเมื่อ 2021-04-10.
  3. Orders เก็บถาวร 2012-06-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (in Swedish). Note: This is inconsistent with the English version of the page เก็บถาวร 2020-12-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, which does not include the Order of Vasa in the Orders of HM the King.
  4. "The Orders in Sweden". kungahuset.se. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-11. สืบค้นเมื่อ 2021-04-10.
  5. "Ordenskungörelse (1974:768)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-07. สืบค้นเมื่อ 2021-04-10.
  6. Sweden says farewell to its honorary
  7. "Noblesse et Royautés" เก็บถาวร 22 พฤษภาคม 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (French), Guests to Victoria of Sweden's wedding, Photo
  8. Heraldry เก็บถาวร 12 พฤศจิกายน 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน of the Order of the Seraphim, Nelson Mandela's us/img24/9572/mandelaxr1.png Coat of arms[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]