ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
![]() | ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
![]() | |
ชื่ออังกฤษ | Department of Chemistry, Faculty of Science, Mahidol University |
---|---|
ที่อยู่ | 272 ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 |
วันก่อตั้ง | 5 เมษายน พ.ศ. 2503 |
หัวหน้าภาควิชา | รศ.ดร.ปราณี ภิญโญชีพ |
เว็บไซต์ | chemistry.sc.mahidol.ac.th |
ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นภาควิชาที่ผลิตผลงานและบัณฑิตออกสู่สังคมจำนวนมาก และเป็นที่ยอมรับในระดับชาติและนานาชาติในระดับต้นๆ โดยการประเมินคุณภาพผลงานวิจัยเชิงวิชาการ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย จาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ภาควิชาเคมีได้รับการจัดให้อยู่ในระดับ 5 (ดีเยี่ยม) [1] ในปี 2553 และระดับ 4 ในปี 2556
เนื้อหา
ประวัติ[แก้]
ภาควิชาเคมี ตั้งขึ้นพร้อมกับโรงเรียนเตรียมวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2501 เพื่อทำการสอนนักศึกษาเตรียมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ต่อมาจึงได้ยกฐานะเป็นแผนกวิชาเคมี ในคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งคณะอายุรศาสตร์เขตร้อน และคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ ในมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ พ.ศ. 2503[1] และได้รับการพัฒนาเป็นลำดับ โดยมี ศ.ดร.สตางค์ มงคลสุข เป็นหัวหน้าภาควิชาคนแรก
ทำเนียบหัวหน้าภาควิชา[แก้]
หัวหน้าภาควิชาเคมี | วาระการดำรงตำแหน่ง |
---|---|
1. ศ.ดร. สตางค์ มงคลสุข | พ.ศ. 2503 - พ.ศ. 2514 |
2. ศ.ดร. กำจร มนุญปิจุ | พ.ศ. 2514 - พ.ศ. 2529 |
3. ศ.ดร. สมศักดิ์ รุจิรวัฒน์ | พ.ศ. 2529 - พ.ศ. 2533 |
4. รศ.ดร. ประพิณ วิไลรัตน์ | พ.ศ. 2533 - พ.ศ. 2537 |
5. ศ.ดร. วิชัย ริ้วตระกูล | พ.ศ. 2537 - พ.ศ. 2545 |
6. ศ.ดร. ยุวดี เชี่ยววัฒนา | พ.ศ. 2545 - พ.ศ. 2548 |
7. ศ.ดร. มนัส พรหมโคตร | พ.ศ. 2548 - พ.ศ. 2551 |
8. รศ.ดร. ปราณี ภิญโญชีพ | พ.ศ. 2551 - พ.ศ. 2555 และ 19 มกราคม พ.ศ. 2559 - ปัจจุบัน |
9. รศ.ดร. ชุลีวัลย์ ราษฎร์วิรุฬห์กิจ | พ.ศ. 2555 - 18 มกราคม พ.ศ. 2559 |
อาคารและสถานที่[แก้]
ภาควิชาเคมีมีอาคารที่ใช้ในการปฏิบัติงานดังนี้
1. อาคารเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล บนถนนพระราม 6 เป็นอาคารหกชั้น
- ชั้นล่าง เป็นที่ตั้งของหน่วยความร่วมมือการวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพ มหาวิทยาลัยมหิดลและมหาวิทยาลัยโอซาก้า สำนักงานภาควิชาเคมี และห้องปฏิบัติการสำหรับเครื่อง Nuclear Magnetic Resonance จำนวน 3 เครื่อง ซึ่งถือเป็นจำนวนมากที่สุดในประเทศไทย
- ชั้นสอง เป็นห้องปฏิบัติการสำหรับนักศึกษา ห้องเป่าเครื่องแก้ว ห้องปฏิบัติการวิจัยของสาขาเคมีวิเคราะห์ และเคมีอนินทรีย์
- ชั้นสาม เป็นห้องปฏิบัติการวิจัยของสาขาเคมีอินทรีย์ เคมีอนินทรีย์ และวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์
- ชั้นสี่ เป็นห้องปฏิบัติการสำหรับนักศึกษา และห้องปฏิบัติการวิจัยของสาขาเคมีอินทรีย์ ด้านสารผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ
- ชั้นห้า เป็นห้องปฏิบัติการวิจัยของสาขาเคมีอินทรีย์
- ชั้นหก เป็นห้องปฏิบัติการสำหรับนักศึกษา ห้องปฏิบัติการวิจัยของสาขาเคมีเชิงฟิสิกส์ ฟิสิกส์เชิงเคมี งานวิจัยด้านเคมีไฟฟ้า และวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์
2. อาคารวิทยาศาสตร์ 3 และ 4 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา เป็นห้องปฏิบัติการสำหรับนักศึกษาจำนวน 4 ห้อง และห้องปฏิบัติการวิจัยของสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์
หลักสูตรการศึกษาและงานวิจัย[แก้]
ภาควิชาเคมีเปิดสอนทั้งระดับปริญญาตรี โท และ เอก ในหลักสูตรดังตาราง
ระดับปริญญาตรี | ระดับปริญญาโท | ระดับปริญญาเอก |
---|---|---|
วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)
|
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
|
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) (หลักสูตรนานาชาติ)
หลักสูตรข้างต้นอยู่ระหว่างการควบรวมหลักสูตร
|
- สาขาวิชาเคมีอินทรีย์ ได้เริ่มเปิดทำการเรียน การสอน การวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาเมื่อปี พ.ศ. 2509 ซึ่งถือเป็นสาขาที่มีความเข้มแข็งทางวิชาการอยู่ในระดับแนวหน้าของประเทศ ด้วยคณาจารย์ที่มีชื่อเสียง อาทิ เช่น ศ. ดร. ยอดหทัย เทพธรานนท์, ศ. ดร. วิชัย ริ้วตระกูล, ศ. ดร. สมศักดิ์ รุจิรวัฒน์, ศ. ดร. มนัส พรหมโคตร รวมถึงคณาจารย์รุ่นใหม่หลายท่านก็ได้รับรางวัลในระดับชาติ และถือเป็นเกียรติอย่างสูงสุดที่ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงตัดสินพระทัยเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกในสาขาวิชาอินทรีย์อีกด้วย มีงานวิจัยของสารผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ โดยทำการสกัดและแยกสารบริสุทธิ์ที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพจากต้นไม้ป่า สมุนไพรและเชื้อจุลินทรีย์ ซึ่งอาจนำไปสู่การค้นพบสารชนิดใหม่ที่อาจใช้เป็นยาชนิดใหม่ๆ ในการรักษาโรคได้ ,งานวิจัยเกี่ยวกับการศึกษาปฏิกิริยาเคมีใหม่ๆ เพื่อใช้ในการสังเคราะห์และปรับปรุงสารอนุพันธ์ต่างๆ และในปัจจุบัน งานวิจัยได้ขยายเปิดกว้างขึ้นในด้านเคมีชีวอินทรีย์ และวัสดุอินทรีย์
- สาขาวิชาฟิสิกส์เชิงเคมี เปิดหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา เมื่อปี พ.ศ. 2513 และสาขาเคมีเชิงฟิสิกส์ เปิดเมื่อปี พ.ศ. 2514 ทั้งในระดับปริญญาโทและเอก มีงานวิจัยเกี่ยวกับการจำลองแบบโมเลกุล การศึกษาจลนศาสตร์ และการศึกษาสมบัติของวัสดุชนิดใหม่ๆ ตลอดจนการศึกษาทางกายภาพของระบบชีวภาพ
- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์ ทำการศึกษา สังเคราะห์และปรับเปลี่ยนสมบัติและลักษณะทั้งเชิงเคมีและเชิงพื้นผิวของวัสดุพอลิเมอร์ ให้มีคุณสมบัติดีขึ้น และนำไปใช้ประโยชน์ในการใช้งานต่อไป รวมทั้งศึกษาเทคโนโลยีด้านการผสมสูตรและการขึ้นรูปด้วย
- สาขาวิชาเคมีวิเคราะห์ เปิดหลักสูตรในระดับปริญญาโทเมื่อปี พ.ศ. 2535 ในสาขาเคมีวิเคราะห์และเคมีอนินทรีย์ประยุกต์ มีงานวิจัยเกี่ยวกับการวิเคราะห์ธาตุที่มีปริมาณน้อย และสารต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งการพัฒนาเทคนิควิธีการวิเคราะห์ให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น โดยอาศัยเครื่องมือการตรวจวัดที่ทันสมัย งานวิจัยบางส่วนได้ถูกพัฒนาไปเป็นนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์และอุปกรณ์การตรวจวิเคราะห์ที่สามารถพกพาได้
- สาขาวิชาเคมีอนินทรีย์ เปืดทำการเรียนการสอนระดับปริญญาเอกเมื่อปี 2548 ศึกษาการออกแบบสารเชิงซ้อนเพื่อใช้เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในอุตสาหกรรม
ในปัจจุบัน ภาควิชาเคมี ประกอบด้วยคณาจารย์ประมาณ 40 ท่าน โดยมีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในระดับนานาชาติราว 70 เรื่องต่อปี จัดการเรียนการสอนนักศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาเคมีประมาณ 72 คนต่อปี และหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาของภาควิชาเคมีกำลังดำเนินการควบรวมให้เป็นหลักสูตรเคมีเดียว คือ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต(เคมี) และวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต(เคมี)
เกียรติภูมิของคณาจารย์[แก้]
- คณาจารย์ของภาควิชาได้รับการยอมรับในด้านวิจัยและวิชาการ จากสังคมอย่างกว้างขวาง โดยดูได้จากรางวัลต่างๆที่ได้รับ อาทิ
- สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกในหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเคมีอินทรีย์ ในปี พ.ศ. 2528 และนอกจากนี้ยังทรงเป็นศาสตราจารย์ในสาขาวิชาเคมีอินทรีย์อีกด้วย[2]
- ศ.ดร. กำจร มนุญปิจุ ราชบัณฑิต สาชาวิชาเคมี
- ศ.ดร. ยอดหทัย เทพธรานนท์ รางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นของไทย พ.ศ. 2529 และรางวัลนักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีดีเด่นอาเซียน ประจำปี พ.ศ. 2538 ปัจจุบันเป็นผู้เชี่ยวชาญ ประจำห้องปฏิบัติการวิจัยทรัพยากรชีวภาพ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
- ศ.ดร. ยุวดี เชี่ยววัฒนา รางวัลอาจารย์ตัวอย่างประจำปี 2551 จากสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- ศ.ดร. ปทุมรัตน์ ตู้จินดา รางวัลอาจารย์ตัวอย่างประจำปี 2558 จากสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- ศ.ดร. จิตต์ลัดดา ศักดาภิพาณิชย์ รางวัลนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ พ.ศ. 2548 และ Young ASIAN Biotechnologist Prize 2006.
- รศ.ดร. ดวงใจ นาคะปรีชา รางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล สาขาการประดิษฐ์ พ.ศ. 2550
- ผศ.ดร. กฤษฎา สุชีวะ รองผู้อำนวยการ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
- ผศ.ดร. สุนันทา วิบูลย์จันทร์ อดีตรองอธิการบดีฝ่ายการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล, รางวัลอาจารย์ตัวอย่างประจำปี 2540 จากสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ รางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล สาขาการบริการ พ.ศ. 2550
นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ[แก้]
- ศ.ดร. สมศักดิ์ รุจิรวัฒน์ นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช พ.ศ. 2547, ผู้ช่วยประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ (ฝ่ายวิจัย) และ อธิการบดีสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์
- ศ.ดร. วิชัย ริ้วตระกูล นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช พ.ศ. 2548, ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมทางเคมี (PERCH-CIC)และ อดีตประธานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(กกอ.)
- ศ.ดร. มนัส พรหมโคตร นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช พ.ศ. 2551
นักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่[แก้]
- ศ.ดร. ประมวล ตั้งบริบูรณ์รัตน์ รางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ สาขาเคมี (พอลิเมอร์) พ.ศ. 2539
- รศ.ดร. ทวีชัย อมรศักดิ์ชัย รางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ สาขาฟิสิกส์พอลิเมอร์ พ.ศ. 2543 และรางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล สาขาความเป็นครู พ.ศ. 2554
- รศ.ดร. ชาคริต สิริสิงห รางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ สาขาพอลิเมอร์ พ.ศ. 2544
- รศ.ดร. พลังพล คงเสรี รางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ สาขาเคมีอินทรีย์ พ.ศ. 2546
- ผศ.ดร. เทียนทอง ทองพันชั่ง รางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ สาขาเคมี พ.ศ. 2547 และรางวัลอาจารย์ตัวอย่างประจำปี 2559 จากสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- รศ.ดร. ยุทธนา ตันติรุ่งโรจน์ชัย รางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ สาขาเคมี พ.ศ. 2548 ปัจจุบันเป็น หัวหน้าภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- รศ.ดร. อทิตยา ศิริภิญญานนท์ รางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ สาขาเคมี พ.ศ. 2550 ,รางวัล TWAS Prize for Young Scientists in Developing Countries ประจำปี 2011, รางวัลทุนวิจัย ลอรีอัล ประเทศไทย "เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์" ประจำปี 2555 และรางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล สาขาความเป็นครู พ.ศ. 2555
- รศ.ดร. วุฒิชัย เอื้อวิทยาศุภร รางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ สาขาเคมี พ.ศ. 2558
- ผศ.ดร. พนิดา สุรวัฒนาวงศ์ รางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ สาขาเคมี พ.ศ. 2559
- ผศ.ดร. ศิริลตา ยศแผ่น รางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ สาขาเคมี พ.ศ. 2559