หม่อมเจ้าอัปษรสมาน กิติยากร
ไปยังการนำทาง
ไปยังการค้นหา
หม่อมเจ้าอัปษรสมาน กิติยากร | |
---|---|
หม่อมเจ้า ชั้น 4 | |
![]() | |
สวามี | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ |
พระบุตร | 12 องค์ |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ |
พระมารดา | หม่อมใหญ่ เทวกุล ณ อยุธยา |
ประสูติ | 21 ตุลาคม พ.ศ. 2420 |
สิ้นชีพิตักษัย | 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2482 (61 ปี) |
หม่อมเจ้าอัปษรสมาน กิติยากร (ราชสกุลเดิม: เทวกุล; 21 ตุลาคม พ.ศ. 2420 – 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2482) เป็นพระธิดาองค์ใหญ่ใน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ประสูติแต่หม่อมใหญ่ เทวกุล ณ อยุธยา เป็นพระอัยยิกาฝ่ายพระราชบิดาใน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
พระโอรส–ธิดา[แก้]
หม่อมเจ้าอัปษรสมาน เสกสมรสกับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ มีพระโอรส-ธิดา ดังนี้
- หม่อมเจ้าเกียรติกำจร กิติยากร (เป็นพระราชนัดดาองค์แรกในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)
- หม่อมเจ้าอมรสมานลักษณ์ กิติยากร
- พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ (เป็นพระราชบิดาของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง)
- หม่อมเจ้ากมลปราโมทย์ เทวกุล
- หม่อมเจ้าสาครศานต์ เทวกุล
- หม่อมเจ้ามาโนทย์มานพ กิติยากร
- หม่อมเจ้าขจรจบกิตติคุณ กิติยากร
- หม่อมเจ้าพิบูลย์เบญจางค์ วรวรรณ
- หม่อมเจ้ากัลยางค์สมบัติ โสณกุล
- หม่อมเจ้าจิตรบรรจง ลดาวัลย์
- หม่อมเจ้าทรงอัปษร รพีพัฒน์
- หม่อมเจ้าสรัทจันทร์ กิติยากร
- หม่อมเจ้าพุฒ กิติยากร
- หม่อมเจ้าเลิศภัทร กิติยากร
สิ้นชีพิตักษัย[แก้]
หม่อมเจ้าอัปษรสมาน กิติยากร สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2482 สิริชันษา 61 ปี
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. ๒๔๔๒ -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายใน)[1]
- พ.ศ. ไม่ปรากฎ -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายใน)
- พ.ศ. 2454 -
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 5 ชั้นที่ 3 (จ.ป.ร.3)[2]
- พ.ศ. 2464 -
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 2 (ว.ป.ร.2)
- พ.ศ. 2454 -
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 3 (ว.ป.ร.3)[2]
- พ.ศ. 2465 -
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 3 (ป.ป.ร.3)[3]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ การพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับตระกูลจุลจอมเกล้าและถวายบังคมพระบรมรูป (หน้า ๔๙๙)
- ↑ 2.0 2.1 "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลที่ 5 ฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 28 (0ง): 1887. 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454. Check date values in:
|date=
(help) - ↑ "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 43 (0ง): 3114. 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2465. Check date values in:
|date=
(help)