ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช"

พิกัด: 13°46′50″N 100°30′33″E / 13.78056°N 100.50917°E / 13.78056; 100.50917
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ScorpianPK (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 48: บรรทัด 48:
! ชื่อตำแหน่ง
! ชื่อตำแหน่ง
|-
|-
| valign = "top" | นายแพทย์ธรรมนูญ วานิยะพงศ์
| valign = "top" | นายแพทย์ ธรรมนูญ วานิยะพงศ์
| valign = "top" | 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 - 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
| valign = "top" | 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 - 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
| valign = "top" | รักษาการอธิการบดี
| valign = "top" | รักษาการอธิการบดี

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:45, 17 กรกฎาคม 2556

มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
ชื่อย่อNMU
คติพจน์วิชฺชา อุปฺปตตํ เสฏฺฐ
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของกรุงเทพมหานคร
สถาปนา13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
อธิการบดีดร.พิจิตต รัตตกุล
อธิการบดีดร.พิจิตต รัตตกุล
นายกสภาฯศาสตราจารย์คลินิก นพ. ปิยะสกล สกลสัตยาทร
ที่ตั้ง
131/1 ถนนขาว แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300

มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช (เดิมชื่อ มหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร) เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของกรุงเทพมหานคร ก่อตั้งขึ้นวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 โดยมี 2 คณะเริ่มแรกคือ คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล และคณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์

ประวัติ

มหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร เป็นแนวคิดตั้งแต่สมัยนายสมัคร สุนทรเวช ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นทางเลือกกับนักศึกษาสามารถศึกษาเกี่ยวกับการบริหารจัดการเมือง ชุมชนเมืองหลวง และเพื่อตอบสนองความต้องการของเมืองหลวง แต่แนวคิดนี้ยังไม่ได้รับการตอบรับที่ดีนัก

ในสมัย นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้สานต่อ แนวคิดดังกล่าวอีกครั้ง เนื่องจากกรุงเทพมหานครได้เปิดการศึกษาหลายระดับแล้ว และมีสถาบันอุดมศึกษา 2 แห่ง คือ วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล และวิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์[ต้องการอ้างอิง] โดยเน้นแผนการศึกษาวิชาการที่ไม่ซ้ำซ้อนกับมหาวิทยาลัยที่มีอยู่ในประเทศ และเน้นผลิตบุคลากรสาขาวิชาที่ขาดแคลน และเป็นที่ต้องการของกรุงเทพมหานคร โดยได้เสนอ ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยในกำกับของกรุงเทพมหานคร พ.ศ.... และคณะรัฐมนตรีได้รับร่างพระราชบัญญัติฯ ไว้ ในวันที่ 12 มิถุนายน 2550 แต่หลังจากมีการปรับเปลี่ยนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เรื่องเกี่ยวกับพระราชบัญญัตินี้จึงหยุดนิ่งไป

ในวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติฯ และได้แก้ไขชื่อพระราชบัญญัติจาก ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยในกำกับของกรุงเทพมหานคร พ.ศ.... เป็น ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร พ.ศ.... ต่อมาในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 สภาผ่านร่าง พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร พ.ศ....[1] และในวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 127 ตอนที่ 63 ก ได้ประกาศพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2553 โดยมีผลใช้บังคับในวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553[2]

พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2553 มีสาระสำคัญ คือ กำหนดให้จัดตั้งมหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร เป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของกรุงเทพมหานคร มีฐานะเป็นนิติบุคคลที่ไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และกฎหมายว่าด้วยการ ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม และไม่เป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณและกฎหมายอื่น โดยให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลโดยทั่วไปซึ่งกิจการของมหาวิทยาลัย

ทั้งนี้ ให้โอนภารกิจและงบประมาณของวิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล และวิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์ ในสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ไปเป็นของมหาวิทยาลัยฯภายใน 120 วัน นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการโอนบุคลากรซึ่งสังกัดวิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล ไปเป็นบุคลากรของมหาวิทยาลัย และกำหนดวิธีการบริหารกิจการของมหาวิทยาลัย

หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในสมัยต่อมา ได้ขอพระราชทานนามมหาวิทยาลัยว่า "มหาวิทยาลัยภูมิพล" เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2552 ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามมหาวิทยาลัยว่า "มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช" เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2554[3] และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2556[4]

คณะ

รายนามอธิการบดี

มหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร
รายนามอธิการบดีและรักษาการแทนอธิการบดี วาระการดำรงตำแหน่ง ชื่อตำแหน่ง
นายแพทย์ ธรรมนูญ วานิยะพงศ์ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 - 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 รักษาการอธิการบดี
รองศาสตราจารย์ ดร.บรรณโศภิษฐ์ เมฆวิชัย 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 - 22 มิถุนายน พ.ศ. 2555 รักษาการอธิการบดี
ดร.พิจิตต รัตตกุล 22 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - ปัจจุบัน อธิการบดี

โครงการพัฒนาขยายมหาวิทยาลัยฯ

ทางคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาลและคณะพยาบาลเกื้อการุณย์และอีกหลายหน่วยงานที่ร่วมเป็นมหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานครได้มีการขยายตัวมาตลอด ทั้งนี้ได้พบความจำกัดด้านพื้นที่และทรัพยากรการศึกษา เพื่อที่จะรองรับการขยายตัวของมหาวิทยาลัยให้เป็นสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศ ทางมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราชมีแนวความคิดจะตั้งสำนักงานใหญ่แห่งใหม่อยู่ในเขตหนองจอก ใกล้บริเวณศูนย์อบรมข้าราชการกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้มีการวางแผนจะสร้าง มหาวิทยาลัย อาคารคณะต่าง ๆ หอพักนักศึกษา โรงพยาบาล และรวมถึงศูนย์กีฬา สนามฟุตซอลขนาดใหญ่มาตรฐานสากล สามารถรองรับการแข่งขันระดับโลกในอนาคตอันใกล้นี้ได้

เนื่องจากชุมชนพื้นที่เขตหนองจอกกำลังขยายตัวและมีศักยภาพในการพัฒนาสูง มหาวิทยาลัยแห่งนี้จึงจะเป็นศูนย์กลางการศึกษา ศูนย์บริการการแพทย์ระดับ Excellence Center ให้กับชาวกรุงเทพมหานครฝั่งตะวันออก และเตรียมวางแผนเพื่อพัฒนาเมือง และวางแผนระบบคมนาคมเพื่อพัฒนาพื้นที่ ให้เชื่อมกับตัวเมืองกรุงเทพมหานครได้สะดวกยิ่งขึ้น[5]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

13°46′50″N 100°30′33″E / 13.78056°N 100.50917°E / 13.78056; 100.50917