บรรณโศภิษฐ์ เมฆวิชัย
รศ.ดร.บรรณโศภิษฐ์ เมฆวิชัย | |
---|---|
หัวหน้าพรรคถิ่นไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 24 สิงหาคม พ.ศ. 2543 – 8 ตุลาคม พ.ศ. 2543 | |
ถัดไป | พิจิตต รัตตกุล |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2499 |
เสียชีวิต | 16 เมษายน พ.ศ. 2566[1] |
พรรคการเมือง | ถิ่นไทย |
รองศาสตราจารย์ บรรณโศภิษฐ์ เมฆวิชัย ประธานคณะกรรมการมูลนิธิหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร กรรมการในคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ผู้อำนวยการวิทยาลัยพัฒนามหานคร มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช กรรมการในคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อม[2] รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช อดีตหัวหน้าพรรคถิ่นไทย[3] อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาวิชาการออกแบบชุมชนเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหญิง (ในสมัย ดร.พิจิตต รัตตกุล) และในสมัยนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน โดยเข้ารับตำแหน่งรองผู้ว่าฝ่ายโยธาครั้งที่สอง แทน ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ในเมื่อต้นปี 2549[4]
การศึกษา
[แก้]รองศาสตราจารย์ ดร.บรรณโศภิษฐ์ เมฆวิชัย จบการศึกษาสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต เกียรตินิยมอันดับสอง จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโทและเอกด้านการวางแผนภาคและผังเมือง (M.R.P.,Ph.D.-City and Regional Planning) จากมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์
ผลงาน
[แก้]รองศาสตราจารย์ ดร.บรรณโศภิษฐ์ เมฆวิชัย มีผลงานวิจัยด้านการผังเมืองหลายโครงการ ได้รับเชิดชูเกียรติจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นศาสตราภิชาน ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2551 -30 กันยายน 2553 ในสาขาวิชาเคหการ วิชาการวางแผนภาคและเมือง
ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554 ได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช[5]
รองศาสตราจารย์ ดร. บรรณโศภิษฐ์ เป็นผู้ก่อตั้ง และดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการคนแรก ของ วิทยาลัยพัฒนามหานคร มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2556 (27 ธันวาคม พ.ศ. 2556 – 31 ตุลาคม พ.ศ. 2561) [6]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2549 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2542 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "หนังสือราชการ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-04-21. สืบค้นเมื่อ 2023-04-21.
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/242/26.PDF
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง รับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคพรรคถิ่นไทย
- ↑ ""อภิรักษ์ 2 คลอดแล้ว "พุทธิพงษ์" รองผู้ว่าฯ "อิสรา" โฆษก กทม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-03-05. สืบค้นเมื่อ 2011-05-05.
- ↑ การแต่งตั้งผู้รักษาการแทนอธิการบดี[ลิงก์เสีย]สืบค้นวันที่ 22 มิถุนายน 2554
- ↑ รายนามผู้อำนวยการวิทยาลัยพัฒนามหานคร มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช สืบค้นวันที่ 17 เมษายน 2566
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๕๐, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๙๕, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2499
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2566
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์
- ศาสตราภิชาน
- รองศาสตราจารย์
- อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
- นักการเมืองสตรีชาวไทย
- พรรคถิ่นไทย
- นิสิตเก่าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- อธิการบดีมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.
- หัวหน้าพรรคการเมืองในประเทศไทย