ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Oommaharuai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Robosorne (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 4927779 สร้างโดย Oommaharuai (พูดคุย) vandal
บรรทัด 4: บรรทัด 4:
| native_name =
| native_name =
| en_name =
| en_name =
| image = ตรามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.jpg
| image = [[ไฟล์:BBL_Logo.png|280px]]
| caption =
| caption =
| ที่ตั้ง = เลขที่ 1 [[ถนนอู่ทองนอก]] แขวงวชิระ [[เขตดุสิต]] [[กรุงเทพมหานคร]] 10300
| ที่ตั้ง = เลขที่ 1 [[ถนนอู่ทองนอก]] แขวงวชิระ [[เขตดุสิต]] [[กรุงเทพมหานคร]] 10300

รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:53, 14 พฤษภาคม 2556

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
Suan Sunandha Rajabhat University
ไฟล์:ตรามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.jpg
คติพจน์ทรงปัญญา ศรัทธาธรรม นำสังคม
ประเภทมหาวิทยาลัยรัฐ
สถาปนา17 พฤษภาคม พ.ศ. 2480 (โรงเรียนสวนสุนันทาวิทยาลัย)
อธิการบดีรศ.ดร.ฤๅเดช เกิดวิชัย
อธิการบดีรศ.ดร.ฤๅเดช เกิดวิชัย
นายกสภามหาวิทยาลัยกร ทัพพะรังสี
ที่ตั้ง
เว็บไซต์www.ssru.ac.th

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (อังกฤษ: Suan Sunandha Rajabhat University) เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่วังสวนสุนันทา อันเคยเป็นเขตพระราชฐานของพระราชวังดุสิตในรัชกาลที่ 5 มาก่อน นักเรียนและนักศึกษามหาวิทยาราชภัฏสวนสุนันทาทุกคนจะใช้คำแทนตัวเอง ว่า "ลูกพระนาง" ซึ่งพระนางในที่นี้ หมายถึง สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

มหาวิทยาลัยแห่งนี้มีรากฐานมาจากการสถาปนา "โรงเรียนสวนสุนันทาวิทยาลัย" เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2480 เปิดสอน ประกาศนียบัตรประโยคครูประถม (ป.ป.) ต่อมาจึงได้ยกฐานะขึ้นเป็นวิทยาลัยครูสวนสุนันทา" ในปี พ.ศ. 2518 ตามพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. 2518 เปิดสอนถึงระดับปริญญาตรี หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต

ในปี พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม "สถาบันราชภัฏ" เป็นชื่อสถาบันการศึกษาในสังกัดกรมการฝึกหัดครูกระทรวงศึกษาธิการ ทั้งยังได้พระราชทานตราพระราชลัญจกรประจำพระองค์ให้เป็นตราสัญลักษณ์ประจำสถาบันราชภัฏ และเมื่อได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2538 วิทยาลัยครูสวนสุนันทาจึงมีชื่อเป็น "สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา"

ในวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 ได้ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา ยังผลให้สถาบันราชภัฏสวนสุนันทายกฐานะเป็น "มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา" นับแต่นั้นเป็นต้นมา

ประวัติ

ไฟล์:สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์.jpg
สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพ็ชรรัตน์

พื้นที่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาแห่งนี้ เดิมเป็นส่วนหนึ่งของวังสวนสุนันทา ซึ่งเป็นเขตพระราชฐานภายในบริเวณของพระราชวังดุสิต ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นสถานที่พักผ่อนพระอิริยาบถแทนการเสด็จประพาสหัวเมือง พระองค์มีพระราชประสงค์ให้สวนนี้มีลักษณะเป็นสวนป่า จึงโปรดเกล้าฯ ให้หาพันธุ์ไม้ดอกไม้ผลที่ดีและหาได้ยากนานาชนิดมาปลูกไว้ในสวนแห่งนี้ด้วย ที่มาของชื่อสวนแห่งนี้มาจากชื่อสวนของพระอินทร์บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ซึ่งมีชื่อว่า "สุนันทาอุทยาน" และพระนามของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี พระมเหสีซึ่งเป็นที่รักยิ่งของพระองค์ ซึ่งได้สิ้นพระชนม์จากเหตุเรือล่มระหว่างเสด็จประพาสพระราชวังบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นอกจากนี้พระองค์ยังโปรดเกล้าฯ ให้สร้างตำหนักขึ้นเพื่อเตรียมไว้เป็นที่ประทับของเจ้านายฝ่ายใน แต่เนื่องจากพระองค์เสด็จสวรรคตเสียก่อน การสร้างจึงยังไม่แล้วเสร็จตามพระราชประสงค์

เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ ได้ทรงพระราชดำริว่าสถานที่ในพระบรมมหาราชวังชั้นในคับแคบ ไม่เหมาะสมจะเป็นที่ประทับของพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายใน จึงโปรดให้สร้างพระตำหนักและตึกในบริเวณสวนสุนันทาขึ้นอีกหลายหลัง แล้วโปรดให้เป็นที่ประทับของพระมเหสี เจ้าจอมมารดา เจ้าจอมและพระราชธิดาใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จำนวน 32 ตำหนัก รวมทั้งอาคารที่พักของบรรดาข้าราชบริพาร โดยมีสมเด็จพระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฎ ปิยมหาราชปดิวรัดา ได้เสด็จมาประทับ ณ ตำหนักสายสุทธานพดล (ตึก 27) ตั้งแต่ พ.ศ. 2467 ถึง พ.ศ. 2472 (สิ้นพระชนม์ ณ ตำหนักที่ประทับสวนสุนันทา) เนื่องจากในสมัยนั้นบรรดาขุนนาง ข้าราชการ ผู้มีบรรดาศักดิ์นิยมนำบุตรี และหลานของตนมาถวายตัวต่อสมเด็จพระวิมาดาเธอฯ เป็นจำนวนมาก สมเด็จพระวิมาดาเธอฯ จึงทรงให้สร้าง "โรงเรียนนิภาคาร " ขึ้นภายในสวนสุนันทา สอนตามหลักสูตรการศึกษาในสมัยนั้น รวมทั้งอบรมจริยา มารยาท การฝีมือ ให้เป็นกุลสตรี

ครั้นถึงปี พ.ศ. 2475 ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองขึ้น บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์ ในสวนสุนันทาหวั่นเกรงภัยจากการเมือง จึงได้ทะยอยกันออกไปจากสวนสุนันทาจนหมดสิ้น บางพระองค์ได้เสด็จออกไปอยู่หัวเมืองและหลายพระองค์เสด็จลี้ภัยการเมืองไปอยู่ต่างประเทศ โรงเรียนนิภาคารจึงเลิกดำเนินการไปโดยปริยาย นับแต่นั้นมาสวนสุนันทาที่เคยงดงามก็ถูกทอดทิ้ง ขาดการดูแลเอาใจใส่ ตำหนักต่างๆ ชำรุดทรุดโทรมเป็นอันมาก พื้นที่ภายในรกร้างว่างเปล่า ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เห็นว่าสวนสุนันทาถูกทอดทิ้งรกร้างอยู่มิได้ทำประโยชน์ จึงเห็นสมควรให้นายกรัฐมนตรีได้ใช้ประโยชน์ เป็นที่อยู่อาศัยของรัฐมนตรีและผู้แทนราษฎร แต่สภาผู้แทนราษฎรขอเพียงพื้นที่ภายนอกกำแพงติดถนนสามเสนสร้างเป็นบ้านพักของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น คณะรัฐมนตรีจึงลงมติเห็นสมควรว่า ควรใช้สถานที่นี้ให้เป็นประโยชน์แก่การศึกษาและมอบให้กระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบัน) ดำเนินการจัดตั้งให้เป็นสถานศึกษาของชาติ และสถานที่ศึกษานี้ให้ชื่อโดยคงชื่อเดิมของสถานที่ เพื่อเป็นอนุสรณ์ โดยขนานนามว่า "โรงเรียนสวนสุนันทาวิทยาลัย " เริ่มเปิดการศึกษามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2480 เป็นต้นมา จนกระทั่งปัจจุบัน ดั่งคำขวัญ มหาวิทยาลัยที่วาจากพระราชอุทยาน สู่ สถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

ทำเนียบผู้บริหารในอดีต - ปัจจุบัน

รายนามผู้บริหาร(อธิการบดี) ในอดีต - ปัจจุบัน
รายนามผู้บริหาร สถานะสถานศึกษา วาระการดำรงตำแหน่ง
1. อาจารย์ นิลรัตน์ บรรณสิทธิ์วรสาสน์ โรงเรียนสวนสุนันทาวิทยาลัย (พ.ศ. 2480 -2486)
2. อาจารย์ มล.ประชุมพร ไกรฤกษ์ โรงเรียนสวนสุนันทาวิทยาลัย (พ.ศ. 2486 -2491)
3. อาจารย์ คุณหญิงกรองแก้ว ปทุมานนท์ โรงเรียนสวนสุนันทาวิทยาลัย (พ.ศ. 2491 -2498 และ พ.ศ. 2500 - 2516)
4. อาจารย์ ผจงวาด วายวานนท์ โรงเรียนสวนสุนันทาวิทยาลัย (พ.ศ. 2498 -2500 )
5. อาจารย์ ประเยาว์ ศักดิ์ศรี วิทยาลัยครูสวนสุนันทา (พ.ศ. 2516 -2519)
6. ศาสตราจารย์ สมจิต ธนสุกาญจน์ วิทยาลัยครูสวนสุนันทา (พ.ศ. 2519 -2524)
7. อาจารย์ จำเริญ เสกธีระ วิทยาลัยครูสวนสุนันทา (พ.ศ. 2524 - 2526)
8. อาจารย์ กลาย กระจายวงศ์ วิทยาลัยครูสวนสุนันทา (พ.ศ. 2526 - 2534)
9. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พล กำปังสุ์ วิทยาลัยครูสวนสุนันทา (พ.ศ. 2534 -2537)
10. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปรางศรี พณิชยกุล สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา (พ.ศ. 2537 - 2542)
11.รองศาสตราจารย์ ดร.ดิลก บุญเรืองรอด สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา (พ.ศ. 2542 -2547)
12. รองศาสตราจารย์ ดร.ช่วงโชติ พันธุเวช มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 9 ธันวาคม พ.ศ. 2547 - 29 ธันวาคม พ.ศ. 2551[1]
30 ธันวาคม พ.ศ. 2551 - 29 ธันวาคม พ.ศ. 2555 [2]
13. รองศาสตราจารย์ ดร. ฤๅเดช เกิดวิชัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 30 ธันวาคม พ.ศ. 2555 - ปัจจุบัน[3]
รายนามนายกสภามหาวิทยาลัย ในอดีต - ปัจจุบัน
รายนามนายกสภา สถานะสถานศึกษา วาระการดำรงตำแหน่ง
1. นาย บรรหาร ศิลปอาชา สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา สิ้นสุดดำรงตำแหน่งราวปี 2548
2. นาย กร ทัพรังสี มหาวิทยาลัยสวนสุนันทา ปัจจุบัน

สัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัย

ปรัชญา & เป้าหมายและวิสัยทัศน์

  • ปรัชญา : ทรงปัญญา ศรัทธาธรรม นำสังคม
  • เป้าหมายและวิสัยทัศน์ : มหาวิทยาลัยคุณภาพชั้นนำ เพื่อปวงชน

เพลงประจำมหาวิทยาลัย

  • ร่มโพธิ์ทอง
  • มาร์ชสวนสุนันทา

สีประจำมหาวิทยาลัย

  • สีน้ำเงิน หมายถึง สีประจำองค์พระมหากษัตริย์
  • สีชมพู หมายถึง สีประจำวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย

ไฟล์:Flora KaewChaoChom.jpg
ดอกแก้วเจ้าจอม

ต้นแก้วเจ้าจอม เหตุที่ชื่อ “แก้วเจ้าจอม” เพราะเป็นไม้ของเจ้าจอมในรัชกาลที่ 5 ในครั้งรัชสมัยรัชกาลที่ 5 มีพระราชดำริสร้างสวนสุนันทาขึ้นเป็นที่ ระลึกถึงพระมเหสี คือ สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ปัจจุบันต้นกำเนิดต้นนี้มีอายุมากกว่า 100 ปี และมีอยู่ต้นเดียวในประเทศไทย เป็นต้นไม้หายาก ตามประวัติศาสตร์ระบุว่า ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ทรงได้พันธุ์มาเมื่อคราวเสด็จประพาสประเทศอินโดนีเซีย มาปลูกไว้ในวังสวนสุนันทา ปัจจุบันคือ “มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา” ต้นแก้วเจ้าจอม มีลักษณะใบประกอบ 2 คู่ ได้ถูกจัดลำดับเป็นพันธุ์พืชอนุรักษ์ในบัญชี 2 ภายใต้พระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2525

การจัดการศึกษา

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เปิดทำการเรียนการสอนครอบคลุมในหลายสาขาวิชาอาทิ การศึกษาศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาการจัดการ ศิลปกรรมศาสตร์ สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ ซึ่งการจัดการศึกษามีอยู่ในหลายระดับการศึกษา ได้แก่

  • ระดับประถมศึกษา (ชั้น ป.1 - ป.6)
  • ระดับมัธยมศึกษา (ชั้น ม.1 - ม.6)
  • ระดับอุดมศึกษา (ปริญญาตรี - ปริญญาเอก)

ทั้งนี้ ได้มีการจัดการเรียนการสอนทั้ง หลักสูตร ภาคภาษาไทย และ ภาคภาษาอังกฤษ ในหลักสูตรระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และปริญญาตรี

ปัจจุบันมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาได้มีการเตรียมความพร้อมในทุกๆด้านและพยายามที่จะผลักดันตัวเองไปสู่การเป็น มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ในอนาคตอันใกล้นี้

หลักสูตรการศึกษา

1.ระดับปริญญาตรี

คณะครุศาสตร์

คณะวิทยาการจัดการ

คณะศิลปกรรมศาสตร์

คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

วิทยาลัยต่างๆ ในกำกับของมหาวิทยาลัย (รูปแบบการบริหารเหมือน มหาวิทยาลัยในกำกับฯ)

วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ

วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ

วิทยาลัยสหเวชศาสตร์

  • สาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ (การดูแลเด็กเล็กและผู้สูงอายุ)
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ความงามและสปา
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพการกีฬา
  • สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ (เปิดรับปีการศึกษา 56 เป็นปีแรก)

วิทยาลัยนานาชาติ (หลักสูตรนานาชาติ)

วิทยาลัยการภาพยนตร์ ศิลปะการแสดง และสื่อใหม่ (หลักสูตรนานาชาติ)

  • สาขาการสร้างภาพยนตร์ (Film Production)
  • สาขาศิลปะการแสดงร่วมสมัย (Contemporary Performance Practice)
  • สาขาการสร้างสรรค์งานบันเทิงดิจิทัล (Digital Entertainment and Creativity)
  • สาขาสื่อใหม่ (New Media)
  • สาขาเกมส์ (Game)

2.ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ / ปริญญาโท

====วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ (ภายใต้การดูแลและกำกับโดยบัณฑิตวิทยาลัย) ====
==== วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ (ภายใต้การดูแลและกำกับโดยบัณฑิตวิทยาลัย) ====

บัณฑิตวิทยาลัย

3.ระดับปริญญาเอก

บัณฑิตวิทยาลัย

ส่วนงานทางวิชาการ

มาตรฐาน ISO ที่มหาวิทยาลัยได้รับ

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เป็นมหาวิทยาลัยรัฐบาลแห่งแรกที่ได้รับรอง ISO 9001 และ ISO 14000 (สิ่งแวดล้อม) [ต้องการอ้างอิง]

  • ISO 14000:2004 ด้านสิ่งแวดล้อม
  • ISO 9001:2008 สำนักงานอธิการบดี
  • ISO 9001:2008 สำนักทรัพย์สินและรายได้
  • ISO 9001:2008 สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • ISO 9001:2008 กองบริการการศึกษา
  • ISO 9001:2008 กองนโยบายและแผน
  • ISO 9001:2008 กองพัฒนานักศึกษา
  • ISO 9001:2008 บัณฑิตวิทยาลัย
  • ISO 9001:2008 คณะวิทยาการจัดการ
  • ISO 9001:2008 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • ISO 9001:2008 คณะเทคโนโลยีและอุตสาหกรรม
  • ISO 9001:2008 คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์
  • ISO 9001:2008 คณะศิลปกรรมศาสตร์
  • ISO 9001:2008 สถาบันวิจัยและพัฒนา

ปี พ.ศ. 2555 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ได้รับรางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ Public Sector Management Quality Award (PMQA) จาก ก.พ.ร.

สหกิจศึกษา / วิทยาเขต / ศูนย์การศึกษา การวิจัยและพัฒนา

1.จังหวัดระนอง

ที่ตั้ง : บริเวณด้านหน้าอุทยานแห่งชาติน้ำตกหงาว ต.หงาว อ.เมือง จ.ระนอง เนื้อที่ประมาณ 128 ไร่

แนวทางพันธกิจ วิทยาเขต : วิทยาเขตแห่งนี้ เป้าหมายเพื่อเป็นศูนย์การศึกษาวิจัยและพัฒนาวิชาการด้าน สุขภาพการท่องเที่ยวและการโรงแรมและที่พำนักระยะยาว สปา สมุนไพร และเป็นที่ฝึกประสบการณ์วิชาชืพ และ อนาคตทางมหาวิทยาลัยพัฒนาศักยภาพสร้างเป็นโรงแรมรีสอร์ท การพำนักระยะยาว ที่มีการสปา สมุนไพร การพยาบาล การบำบัด การดูแลสุขภาพของเข้าพำนักด้วย โดยเน้นจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรศิลปศาสตรบัณทิต สาขาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และสาขาวิชาการจัดการโรงแรมและที่พัก และสาขาวิชาอื่น ๆ

2.จังหวัดนครปฐม

ที่ตั้ง : ติดกับพื้นที่ของกันตนามูฟวี่ทาวน์ สถาบันกันตนา ต.คลองโยง อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม เนื้อที่ประมาณ 246 ไร่ (ไปทางทิศเหนือจาก ม.มหิดล ศาลายา เส้น ศาลายา-บางเลน ประมาณ 10 กิโลเมตร อนาคตจะมีเส้นทางด่วน รัตนาธิเบศร์-บางใหญ่-ทวาย ตัดผ่านแถวนี้(ผ่านต.คลองโยง แน่นอน)การเดินทางคงจะเดินทางมาได้สะดวกมากยิ่งขึ้น)

แนวทางพันธกิจ วิทยาเขต : วิทยาเขตแห่งนี้ เป้าหมายเพื่อเป็นศูนย์การศึกษาวิจัยและพัฒนาวิชาการด้าน การภาพยนตร์ ศิลปะการแสดง และสื่อใหม่ โดยเน้นจัดการเรียนการสอนด้าน New Media, Animation and multi-media, and Digital content หรือด้านการสร้างภาพยนตร์ โทรทัศน์และการแสดงด้วยระบบ New Media ตลอดจนสาขาเกี่ยวกับการทำเกมส์ และ สาขาด้านอุตสาหกรรมบริการและธุรกิจการบิน เพื่อรองรับความเป็นสากลและนานาชาติ อนาคตวิทยาเขตแห่งนี้จะเป็นวิทยาเขตนานาชาติเป็นหลัก ซึ่งจะเป็นที่ทำการเรียนการสอนหลักของ 2 วิทยาลัย 1 ศูนย์ คือ วิทยาลัยการภาพยนตร์ฯ วิทยาลัยนานาชาติ และศูนย์อาเซียน ซึ่งทุกหลักสูตรจะเป็นหลักสูตรนานาชาติ (ทั้งนี้เพื่อการพยายามสร้างสิ่งแวดล้อมให้เป็นประโยชน์ในการเรียนการสอนมากที่สุด)

3.จังหวัดสมุทรสงคราม

ที่ตั้ง : ถนนพระราม 2 (ธนบุรี-ปากท่อ) กิโลเมตรที่ 58 ต.บางแก้ว อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม เนื้อที่ประมาณ 80 ไร่ (อยู่ติดถนนพระราม 2 ฝั่งรถวิ่งลงภาคใต้ ก่อนถึงตัวเมืองสมุทรสงคราม 4-5 กิโลเมตร)

แนวทางพันธกิจ วิทยาเขต : วิทยาเขตแห่งนี้ อนาคตจะเป็น โรงพยาบาลสวนสุนันทาขนาด 165 เตียงเป็นเบื้องต้น และพัฒนาศักยภาพเพื่อเปิดสอนคณะแพทยศาสตร์ ราวปี พ.ศ. 2566 เป็นอย่างช้า และเป็นที่ทำการเรียนการสอนหลักของ 2 วิทยาลัยคือ วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ กับ วิทยาลัยสหเวชศาสตร์ จัดการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ และการดูแลสุขภาพ เช่น สาขาแพทย์ทางเลือก สาขาเทคนิคการแพทย์ สาขากายภาพบำบัด สาขาสาธารณสุขชุมชน สาขาเภสัชศาสตร์ สาขาชีวอนามัยและความปลอดภัย สาขาการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ

4.จังหวัดสุพรรณบุรี

ที่ตั้ง : ต.หนองมะค่าโมง อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี เนื้อที่ประมาณ 256 ไร่

แนวทางพันธกิจ วิทยาเขต : เน้นเปิดสอนสาขาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นเป็นหลัก อาทิ รัฐประศานศาสตร์ คอมพิวเตอร์ธุรกิจ ยังไม่มีแผนพัฒนาเป็นวิทยาเขตแบบสมบูรณ์เหมือน 3 วิทยาเขตข้างต้น มีอาคารปฏิบัติงานและใช้พื้นที่ในการปลูกพื้นสมุนไพร

สำนักงานและหน่วยงานในมหาวิทยาลัย

อื่นๆ

การเดินทาง

การเดินทางมาสู่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา(กรุงเทพฯ) สามารถเดินทางมาได้ด้วยกันหลายเส้นทาง ดังนี้

เส้นถนนสามเสน

(เกียกกาย ศรีย่าน วชิรพยาบาล สวนสุนันทา เทเวศน์ สนามหลวง)

สายรถเมล์ที่ผ่าน : 3 (หมอชิตใหม่ - คลองสาน), 9 (ท่าน้ำภาษีเจริญ - สถานีรถไฟสามเสน), 16 (อู่ศรีณรงค์ - สุรวงศ์), 30 (วัดเขมาภิตาราม - สายใต้เดิม), 32 (ปากเกร็ด - วัดโพธิ์), 33 (ปทุมธานี - สนามหลวง), 49 (หมอชิตใหม่ - หัวลำโพง), 64 (นนทบุรี - สนามหลวง), 65 (วัดปากน้ำนนทบุรี - สนามหลวง), 110 (พระราม7 - เทเวศร์), 505 (ปากเกร็ด - สวนลุมพินี), 524 (บางเขน - วัดโพธิ์)

เส้นถนนราชวิถี

(สะพานซังฮี สวนสุนันทา เขาดิน สวนจิตรลดา อนุเสาวรีย์ชัยสมรภูมิ)

สายรถเมล์ที่ผ่านคือ : 18 (ท่าอิฐ - อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ), 28 (หมอชิตใหม่ - สายใต้ใหม่) , 56 (วงกลมสะพานกรุงธน-บางลำภู) , 108 (รัชโยธิน - เดอะมอลล์ท่าพระ) , 125 (ศาลายา - อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ),515 (อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ - มทร.ศาลายา), 539 (ศรีอยุธยา - อ้อมน้อย)

เส้นถนนนครราชสีมา

(ที่ทำการพรรคชาติไทย การเรือน สวนสุนันทา หลังสวนอัมพร ครุสภา)

สายรถเมล์ที่ผ่าน : 12 (ห้วยขวาง - เศรษฐการ)

เส้นแยกเทเวศน์

(ลงแยกเทเวศน์ เดินขึ้นมาทางทิศเหนือ หอสมุดแห่งชาติ สวนสุนันทา)

สายรถเมล์ที่ผ่าน : 23 (เทเวศร์ - สำโรง), 43 (โรงเรียนศึกษานารีวิทยา - เทเวศร์), 72 (ท่าเรือคลองเตย - เทเวศร์), 99 (เทเวศร์ - รามคำแหง), 516 (บางบัวทอง - เทเวศร์)

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

อ้างอิง

  1. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2547/D/113/011.PDF ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา นายช่วงโชติ พันธุเวช (วาระแรก)
  2. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2552/E/028/20.PDF ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา นายช่วงโชติ พันธุเวช (วาระที่สอง)
  3. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2555/E/187/34.PDF ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (นายฤๅเดช เกิดวิชัย)