วิกิพีเดีย:หน่วยเก็บกวาดเฉพาะกิจ/ตัวอย่างการใส่ลิงก์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วิกิพีเดียลิงก์ หรือ วิกิลิงก์ เป็นจุดเด่นของวิกิพีเดียที่สำคัญข้อหนึ่ง ที่สามารถเชื่อมโยงบทความเข้าด้วยกันผ่านคำสั่งที่ง่าย การสร้างลิงก์มีประโยชน์ต่อผู้อ่านอย่างมาก ซึ่งจะเป็นจุดที่ให้ผู้อ่านกดเข้าไปอ่านข้อมูลที่เกี่ยวข้องต่อได้ในเวลาที่ไม่นาน ลิงก์ในวิกิพีเดียจะแบ่งเป็น 2 สีหลักคือ สีน้ำเงินเป็นลิงก์ที่เมื่อกดเข้าไปดูจะมีบทความนั้นอยู่ ส่วนลิงก์สีแดงเป็นลิงก์เปล่าที่รอให้มีการสร้างบทความ

ตัวอย่างการใส่ลิงก์ โดยเลือกเฉพาะคำสำคัญ
ก่อนใส่ลิงก์ หลังใส่ลิงก์เชื่อมโยง

บัวดอย (ชื่อวิทยาศาสตร์ Aspidistra elatior Bl.) เป็นพืชล้มลุก วงศ์ Convallariaceae พบในป่าดิบเขาที่ขึ้นปกคลุม และการกระจายอยู่ตามภูเขาสูงที่มีความสูงจากระดับทะเล ประมาณ 1,400- 2,000 เมตร ในประเทศไทย สำรวจพบต้นบัวดอย ได้แก่ ดอยอ่างขาง (ไม่รวมพันธุ์ที่นำเข้ามาปลูกจากต่างประเทศ) ดอยผ้าห่มปก ดอยเชียงดาว ดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ และดอยปุย (อุทยานแห่งชาติน้ำตกแม่สุรินทร์) ปางตอง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

บัวดอย (ชื่อวิทยาศาสตร์ Aspidistra elatior Bl.) เป็นพืชล้มลุก วงศ์ Convallariaceae พบในป่าดิบเขาที่ขึ้นปกคลุม และการกระจายอยู่ตามภูเขาสูงที่มีความสูงจากระดับทะเล ประมาณ 1,400- 2,000 เมตร ในประเทศไทย สำรวจพบต้นบัวดอย ได้แก่ ดอยอ่างขาง (ไม่รวมพันธุ์ที่นำเข้ามาปลูกจากต่างประเทศ) ดอยผ้าห่มปก ดอยเชียงดาว ดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ และดอยปุย (อุทยานแห่งชาติน้ำตกแม่สุรินทร์) ปางตอง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

คุณช่วยได้[แก้]

  • ถ้าคุณเจอบทความไหนที่ยังไม่ใส่ลิงก์ คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้ด้วยการใส่ลิงก์เข้าไปที่คำสำคัญโดยพิมพ์ [[ ]] ล้อมคำสำคัญไว้
  • ถ้าคุณเจอบทความที่ต้องการลิงก์สามารถนำป้าย {{ต้องการวิกิลิงก์}} ติดไว้ที่ส่วนบนของบทความ เพื่อให้ผู้อื่นที่เข้ามาอ่านช่วยใส่ลิงก์ได้
ทำไมต้องใส่ลิงก์
  • เชื่อมโยงบทความให้ผู้อื่นเข้าถึง
  • แสดงความหมายของคำศัพท์เฉพาะ
ข้อผิดพลาดที่พบบ่อย
  • ผู้เขียนบางคนพยายามนำเอาลิงก์แดงออกจากบทความ เพื่อแสดงว่าบทความนั้นสมบูรณ์ แต่จริงแล้วคำสำคัญทุกคำควรมีลิงก์แม้ว่ายังไม่ได้สร้างก็ตาม เมื่อบทความนั้นถูกสร้างขึ้น ลิงก์จะถูกเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินโดยอัตโนมัติ
  • ใส่ลิงก์ทุกคำแม้ว่าคำนั้นจะไม่ใช่คำสำคัญ
  • ลิงก์ต่างภาษาที่แทรกในบทความไม่ถือว่าเป็นลิงก์ภายใน

ดูเพิ่ม[แก้]