เทศบาลเมืองกระบี่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทศบาลเมืองกระบี่
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันThetsaban Mueang Krabi
ทม.กระบี่ตั้งอยู่ในจังหวัดกระบี่
ทม.กระบี่
ทม.กระบี่
ทม.กระบี่ตั้งอยู่ในประเทศไทย
ทม.กระบี่
ทม.กระบี่
พิกัด: 8°3′33″N 98°55′8″E / 8.05917°N 98.91889°E / 8.05917; 98.91889พิกัดภูมิศาสตร์: 8°3′33″N 98°55′8″E / 8.05917°N 98.91889°E / 8.05917; 98.91889
ประเทศ ไทย
จังหวัดกระบี่
อำเภอเมืองกระบี่
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีสมเด็จ สุขการ
พื้นที่
 • ทั้งหมด19 ตร.กม. (7 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2561)[1]
 • ทั้งหมด32,350 คน
 • ความหนาแน่น1,702.63 คน/ตร.กม. (4,409.8 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.04810102
ที่อยู่
สำนักงาน
292 ถนนมหาราช ตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ 81000
เว็บไซต์www.krabicity.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

กระบี่ เป็นเทศบาลเมืองแห่งหนึ่งในจังหวัดกระบี่ เป็นศูนย์กลางของจังหวัด ตั้งอยู่ที่ปากแม่น้ำกระบี่ ซึ่งไหลออกสู่อ่าวพังงา เมืองกระบี่มีประชากรในปี พ.ศ. 2561 จำนวน 32,350 คน[1] มีพื้นที่ครอบคลุมตำบลต่าง ๆ ในอำเภอเมืองกระบี่ ได้แก่ ตำบลปากน้ำทั้งตำบล และตำบลกระบี่ใหญ่ทั้งตำบล และแบ่งหน่วยการปกครองย่อยเป็นชุมชนทั้งหมด 10 ชุมชน

ประวัติ[แก้]

เทศบาลเมืองกระบี่ได้รับการจัดตั้งขึ้นตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 53 หน้า 802 เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2479 โดยการยกฐานะท้องที่ตำบลปากน้ำเป็นเทศบาลเมืองกระบี่ มีพื้นที่ 2.65 ตารางกิโลเมตร ต่อมาในได้ทำการขยายเขตเทศบาลเมืองกระบี่ ในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2509 ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 83 หน้า 109 โดยครอบคลุมพื้นที่ในตำบลปากน้ำ และตำบลกระบี่ใหญ่ รวมพื้นที่ทั้งหมด 19 ตารางกิโลเมตร[2]

อาณาเขต[แก้]

เขตเทศบาลเมืองกระบี่มีอาณาเขตติดต่อหน่วยการปกครองต่าง ๆ ดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับหมู่ที่ 1 ตำบลกระบี่น้อย และหมู่ที่ 8 ตำบลทับปริก
  • ทิศใต้ ติดต่อกับหมู่ที่ 7 ตำบลไสไทย อำเภอเมืองกระบี่
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับแม่น้ำกระบี่
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับหมู่ที่ 3 ตำบลไสไทย อำเภอเมืองกระบี่

ภูมิอากาศ[แก้]

ตัวเมืองกระบี่ตั้งอยู่ริมชายฝั่งทะเลอันดามันเช่นเดียวกับจังหวัดภูเก็ต มีภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน และมีฤดูฝนยาวถึง 10 เดือนในระหว่างเดือนมีนาคมถึงธันวาคม โดยในช่วงมรสุมจะมีฝนตกหนักเป็นเวลาหลายวัน[3] อุณหภูมิสูงสุดเท่าที่มีการบันทึกอยู่ที่ 39.1 °C (102.4 °F) ในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2541[4] อุณหภูมิต่ำสุดเท่าที่มีการบันทึกอยู่ที่ 15.3 °C (59.5 °F) ในวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2552[5]

ข้อมูลภูมิอากาศของกระบี่ (พ.ศ. 2524–2553)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 36.3
(97.3)
38.0
(100.4)
39.1
(102.4)
38.9
(102)
38.8
(101.8)
35.0
(95)
34.5
(94.1)
35.1
(95.2)
34.0
(93.2)
34.0
(93.2)
34.2
(93.6)
34.3
(93.7)
39.1
(102.4)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 32.9
(91.2)
34.2
(93.6)
34.3
(93.7)
34.1
(93.4)
32.9
(91.2)
31.9
(89.4)
31.5
(88.7)
31.4
(88.5)
31.2
(88.2)
31.3
(88.3)
31.1
(88)
31.4
(88.5)
32.4
(90.3)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 26.6
(79.9)
27.5
(81.5)
27.6
(81.7)
27.9
(82.2)
27.6
(81.7)
27.2
(81)
26.8
(80.2)
26.9
(80.4)
26.6
(79.9)
26.2
(79.2)
26.2
(79.2)
26.2
(79.2)
26.9
(80.4)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 21.6
(70.9)
22.0
(71.6)
23.0
(73.4)
23.6
(74.5)
23.7
(74.7)
23.3
(73.9)
23.0
(73.4)
22.9
(73.2)
22.9
(73.2)
22.4
(72.3)
22.5
(72.5)
21.7
(71.1)
22.7
(72.9)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 15.3
(59.5)
16.3
(61.3)
18.0
(64.4)
19.5
(67.1)
19.2
(66.6)
19.0
(66.2)
18.2
(64.8)
18.0
(64.4)
19.0
(66.2)
18.6
(65.5)
17.7
(63.9)
18.5
(65.3)
15.3
(59.5)
ปริมาณฝน มม (นิ้ว) 32.0
(1.26)
43.4
(1.709)
98.3
(3.87)
147.2
(5.795)
171.6
(6.756)
192.7
(7.587)
201.1
(7.917)
266.3
(10.484)
275.2
(10.835)
323.5
(12.736)
179.7
(7.075)
67.8
(2.669)
1,998.8
(78.693)
ความชื้นร้อยละ 77 73 79 82 85 86 87 85 87 88 86 83 83
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย 5.3 4.5 8.7 11.7 15.9 15.8 18.3 18.0 18.5 21.5 17.6 10.1 165.9
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 198.4 214.7 201.5 183.0 155.0 150.0 155.0 151.9 144.0 108.5 138.0 179.8 1,979.8
แหล่งที่มา 1: กรมอุตุนิยมวิทยา[6]
แหล่งที่มา 2: สำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา กรมชลประทาน (แดดและความชื้น)[7]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2561 ท้องถิ่นเทศบาลเมืองกระบี่". ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. สภาพทั่วไป และข้อมูลพื้นฐานของเทศบาลเมืองกระบี่[ลิงก์เสีย]
  3. "Krabi". กรมอุตุนิยมวิทยา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-08. สืบค้นเมื่อ 18 Mar 2015.
  4. "Extreme Maximum Temperature during Summer in Thailand 64 years period: 1951-2014" (PDF). กรมอุตุนิยมวิทยา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 27 April 2016.
  5. "Extreme minimum temperature during winter season in Thailand 65 year period (1951-2015)" (PDF). กรมอุตุนิยมวิทยา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 27 April 2016.
  6. "Climatological Data for the Period 1981–2010". กรมอุตุนิยมวิทยา. p. 28. สืบค้นเมื่อ 8 August 2016.
  7. "ปริมาณการใช้น้ำของพืชอ้างอิงโดยวิธีของ Penman Monteith (Reference Crop Evapotranspiration by Penman Monteith)" (PDF). สำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา กรมชลประทาน. p. 119. สืบค้นเมื่อ 8 August 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]