ออมสิน ชีวะพฤกษ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ออมสิน ชีวะพฤกษ์
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
15 ธันวาคม พ.ศ. 2559 – 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
นายกรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
ก่อนหน้าหม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล
สุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ
ถัดไปสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ
กอบศักดิ์ ภูตระกูล
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
ดำรงตำแหน่ง
19 สิงหาคม พ.ศ. 2558 – 15 ธันวาคม พ.ศ. 2559
นายกรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
ก่อนหน้าอาคม เติมพิทยาไพสิฐ
ถัดไปพิชิต อัคราทิตย์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด1 เมษายน พ.ศ. 2494 (73 ปี)
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสนิตษา ชีวะพฤกษ์

ออมสิน ชีวะพฤกษ์ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รองประธานกรรมการ ในคณะกรรมการจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปี การประกาศใช้ธงไตรรงค์เป็นธงชาติไทย ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 210/2559[1]

กรรมการในคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง และเลขานุการศูนย์บัญชาการติดตามสถานการณ์ (ศตส.) คนปัจจุบัน[2] อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และเป็นอดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (มหาชน)

ประวัติ[แก้]

ออมสิน ชีวะพฤกษ์ เกิดเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2494 เป็นบุตรของนายสุทัศน์ กับนางจินดา ชีวะพฤกษ์ สมรสกับนางนิตษา ชีวะพฤกษ์ มีบุตรสาว 1 คน ชื่อ นางสาว กมลรัตน์ ชีวะพฤกษ์ พนักงานฝ่ายการต่างประเทศ สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย[3][4]

ออมสิน สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนวัดหงส์ปทุมาวาส ปริญญาตรี คณะเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัย Aligarh Muslim University อินเดีย

ออมสิน สำเร็จการศึกษาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และหลักสูตรการบริหารชั้นสูง (Advanced Management Program) จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา

การทำงาน[แก้]

ออมสิน ชีวะพฤกษ์ เคยทำงานในสังกัดการสื่อสารแห่งประเทศไทย (ก.ส.ท.) ดำรงตำแหน่งสูงสุดเป็นรองผู้ว่าการการสื่อสารแห่งประเทศไทย ต่อมาเมื่อมีการแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน เขาจึงได้รับแต่งตั้งเป็นรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ด้านการเงิน และจนกระทั่งได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท) ในระหว่างปี พ.ศ. 2550 ถึงปี พ.ศ. 2554 ซึ่งนับเป็นผู้บริหารที่สามารถสร้างผลกำไรให้บริษัทได้จำนวนมาก[5]

ต่อมาหลังการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 ภายใต้การบริหารงานของรัฐบาล และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานกรรมการบริหารการรถไฟแห่งประเทศไทย[6] ต่อมาในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2558 ออมสิน ชีวะพฤกษ์ ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม[7] ในรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา

ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2559 เขาได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แทน[8]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 210/2559" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-10-09. สืบค้นเมื่อ 2017-09-05.
  2. รมต.นร. ออมสินฯ เป็นประธานการประชุมศูนย์บัญชาการติดตามสถานการณ์ ครั้งที่ 22/2559
  3. ประกาศสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย
  4. บัญชีแสดงรายการทัพย์สินและหนี้สินของนายออมสิน ชีวะพฤกษ์[ลิงก์เสีย]
  5. “พลิกโฉมการรถไฟฯ!...” เปลือยใจออมสิน ชีวะพฤกษ์ บิ๊กใหม่ รฟทจาก ไทยรัฐ สืบค้น 25 สิงหาคม 2558
  6. ตั้ง “ออมสิน ชีวะพฤกษ์” ประธานบอร์ด ร.ฟ.ท.สางปัญหาองค์กร ชี้ชะตา “ประภัสร์”[ลิงก์เสีย]
  7. พระบรมราชโองการ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี
  8. พระราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี, ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 133 ตอนพิเศษ 296 ง, 16 ธันวาคม พ.ศ. 2559.
  9. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/B/047/1.PDF ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔ ตอน ๔๗ ข หน้า ๑ ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐
ก่อนหน้า ออมสิน ชีวะพฤกษ์ ถัดไป
หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล
สุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ

รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (ครม. 61)
(15 ธันวาคม พ.ศ. 2559 - 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560)
สุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ
กอบศักดิ์ ภูตระกูล
อาคม เติมพิทยาไพสิฐ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (ครม. 61)
(19 สิงหาคม พ.ศ. 2558 - 15 ธันวาคม พ.ศ. 2559)
พิชิต อัคราทิตย์