ข้ามไปเนื้อหา

มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
Roi Et Rajabhat University
ชื่อเดิมสถาบันราชภัฏร้อยเอ็ด
ชื่อย่อม.รอ. / RERU
คติพจน์แหล่งความรู้ตลอดชีวิต
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
สถาปนา15 มิถุนายน พ.ศ. 2547; 20 ปีก่อน (2547-06-15)
สังกัดการศึกษากระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
สังกัดวิชาการ
งบประมาณ298,513,900 บาท
(พ.ศ. 2568)[1]
นายกสภาฯศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ
อธิการบดีผู้ช่วยศาสตราจารย์ วิชิต กำมันตะคุณ (รักษาราชการแทน)
อาจารย์303 คน (พ.ศ. 2566)[2]
บุคลากรทั้งหมด470 คน (พ.ศ. 2566)[2]
ผู้ศึกษา5,057 คน (พ.ศ. 2567)[3]
ที่ตั้ง
เพลงมาร์ชมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
ต้นไม้กันเกรา
สี██████ สีน้ำเงิน สีขาว สีทอง
เว็บไซต์เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด (อังกฤษ: Roi Et Rajabhat University) เปิดสอนในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ได้รับการประกาศจัดตั้งโดยนายสุขวิช รังสิตพลรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น เพื่อตอบสนองความต้องการและกระจายโอกาสทางการศึกษาของประชากรในระดับภูมิภาค โดยจัดตั้งพร้อมกับสถาบันราชภัฏอีก 4 แห่ง อันได้แก่ สถาบันราชภัฏชัยภูมิ, สถาบันราชภัฏศรีสะเกษ, สถาบันราชภัฏนครพนม (ปัจจุบัน ได้รวมเข้ากับ มหาวิทยาลัยนครพนม แล้ว) และ สถาบันราชภัฏกาฬสินธุ์ (ปัจจุบันได้ควบรวมเป็นมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์แล้ว)


ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด จะได้เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร โดยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์เป็นประจำทุกปี ณ หอประชุมมหาวชิราลงกรณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร[4]

ประวัติ

[แก้]

พ.ศ. 2466 ได้มีการจัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูมูล(กสิกรรม)[5]ขึ้นทั่วประเทศ โดยได้มีการเกิดขึ้นของโรงเรียนฝึกหัดครูมูลร้อยเอ็ด[6][7] และต่อมามีการยุบไป ซึ่งปัจจุบันเป็นเป็นที่ตั้งของวิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ด โดยโรงเรียนฝึกหัดครูมูลร้อยเอ็ดไม่ได้พัฒนาขึ้นเป็นวิทยาลัยครู จนถึงช่วงการกระจายโอกาสทางการศึกษาจึงได้มีการตั้งสถาบันราชภัฏร้อยเอ็ดขึ้นมา

โครงการจัดตั้งสถาบันราชภัฏร้อยเอ็ด เป็นโครงการ 1 ใน 5 โครงการสถาบันราชภัฏเพิ่มในระยะแรกของสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ กระทรวงศึกษาธิการ ในระหว่างปีงบประมาณ 2540-2542 ตั้งอยู่ที่ 113 ม.12 ถ.ร้อยเอ็ด-โพนทอง ต.เกาะแก้ว อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด 45120

ลำดับการจัดตั้ง

[แก้]

6 กันยายน 2537 ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด (นายฮึกหาญ โตมรศักดิ์) แต่งตั้งคณะกรรมการจัดหาพื้นที่เพื่อจัดตั้งสถาบันราชภัฏร้อยเอ็ด อธิการบดีวิทยาลัยครูบุรีรัมย์ (ผศ.ดร.ปราโมทย์ เบญจกาญจน์) แต่งตั้งกรรมการร่วมในการจัดหาที่ดินจัดตั้ง สถาบันฯ ตามคำสั่ง (วิทยาลัยครูบุรีรัมย์ ที่ 949/2537 ลงวันที่ 5 กันยายน 2537) แต่งตั้งคณะกรรมการจัดหาที่ดินสำหรับก่อสร้างสถาบัน ราชภัฏร้อยเอ็ด (ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด แต่งตั้งตามคำสั่งจังหวัดร้อยเอ็ด ที่ 1915/2537 ลงวันที่ 6 กันยายน 2537 )

21 มกราคม 2540 คณะกรรมการจัดตั้งสถาบันราชภัฏร้อยเอ็ด (สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ) แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการ และกรรมการดำเนินงานจัดตั้งสถาบันราชภัฏเพิ่ม ตามคำสั่งสำนักงานจัดตั้งสถาบันราชภัฏเพิ่มตามคำลั่งสำนักงาน สภาสถาบันราชภัฏที่ 58/2540 ลงวันที่ 21 มกราคม 2540

20เมษายน 2540 นายสุขวิช รังสิตพลรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น เสนอคณะรัฐมนตรีให้ประกาศจัดตั้ง สถาบันราชภัฏจำนวน 5 แห่ง ให้แล้วเสร็จในปีงบประมาณ 2542

30 มีนาคม 2542 คณะกรรมการจัดตั้งสถาบันราชภัฏร้อยเอ็ด (สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ) อุดมศึกษา เขตการศึกษาของสถาบัน ราชภัฏในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตามคำสั่งสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ ที่ 160/2542 ลงวันที่ 30 มีนาคม 2542

12 มิถุนายน 2544 คณะรัฐมนตรีในรัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร มีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันราชภัฏร้อยเอ็ด

20 กรกฎาคม 2544 สถาบันราชภัฏร้อยเอ็ด ได้ประกาศเป็นพระราชกฤษฏีกาจัดตั้งลงในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 118 ตอนที่ 59 ก ลงวันที่ 20 กรกฎาคม 2544

29 เมษายน 2545 โปรดเกล้าฯแต่งตั้ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เฉลย ภูมิพันธุ์ ดำรงตำแหน่งอธิการ บดีสถาบันราชภัฏร้อยเอ็ดคนแรก

23 กันยายน 2545 คณะกรรมการสภาสถาบันราชภัฏ มีมติอนุมัติการแต่งตั้งคณะกรรมการสภาประจำสถาบันราชภัฏร้อยเอ็ด โดยมีศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี เกษมทรัพย์ ดำรงดำแหน่งนายกสภาประจำสถาบันราชภัฏร้อยเอ็ด

21พฤศจิกายน 2545 โปรดเกล้าฯแต่งตั้ง ศาสตราจารย์ ปรีดี เกษมทรัพย์ ดำรงตำแหน่งนายกสภาประจำ สถาบันราชภัฏร้อยเอ็ด

14 มิถุนายน 2547 โปรดเกล้าฯ ตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 121 ตอนพิเศษ 23 ก ลงวันที่ 14 มิถุนายน 2547

หน่วยงานและหลักสูตร

[แก้]