ไทยลีก 4

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไทยลีก 4 ออมสินลีก (T4)
ก่อตั้ง2549
ยุติ2563
ประเทศ ไทย
สมาพันธ์เอเอฟซี
จำนวนทีม60
ระดับในพีระมิด3 (2549-2559)
4 (2560-2562)
เลื่อนชั้นสู่ไทยลีก 3
ตกชั้นสู่ไทยแลนด์ อเมเจอร์ลีก
ถ้วยระดับประเทศไทยเอฟเอคัพ
ถ้วยระดับลีกไทยลีกคัพ
ทีมชนะเลิศสุดท้ายวัดโบสถ์ ซิตี้
(2562)
เว็บไซต์Thai League 4 (T4)

ไทยลีก 4 (อังกฤษ: Thai League 4) เป็นการแข่งขันฟุตบอลลีกอาชีพระดับชั้นที่สี่ในอดีตของประเทศไทย แบ่งการแข่งขันออกเป็น 6 โซน โดยทีมชนะเลิศและรองชนะเลิศของแต่ละโซนรวมทั้งสิ้น 12 สโมสร จะได้สิทธิเข้าแข่งขันในรอบแชมเปียนส์ลีกโดยอัตโนมัติ เพื่อแข่งขันเพลย์ออฟคัดเลือกสโมสร 3 อันดับแรกขึ้นไปสู่ไทยลีก 3 ฤดูกาลถัดไป ขณะเดียวกันอันดับสุดท้ายเมื่อจบฤดูกาล (เริ่มใช้ใน พ.ศ. 2559) จะไม่มีการตกชั้นแต่จะต้องพักทีม ต่อมาในการประชุมสภากรรมการของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 มีมติรับหลักการในการจัดตั้ง บริษัท ฟุตบอลลีกภูมิภาค จำกัด เพื่อทำหน้าที่บริหารฟุตบอลลีกรายการนี้[1] ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ลีกภูมิภาคดิวิชั่น 2 จำกัด

ต่อมาในปี พ.ศ. 2563 ได้มีการควบรวมไทยลีก 3 และไทยลีก 4 เข้าด้วยกัน เหลือเพียงลีกเดียว และเปลี่ยนชื่อเป็น ไทยลีก 3 ออมสินลีก รีเจินนัล แชมเปี้ยนชิพ

ประวัติ[แก้]

ก่อนหน้าที่จะมีการจัดการแข่งขัน สโมสรที่จะตกชั้นจาก ดิวิชั่น 1 จะต้องตกชั้นลงไปทำการแข่งขันฟุตบอล ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ข. ต่อมาในช่วงหลังจากที่จบการแข่งขัน ดิวิชั่น 1 2549 ทาง สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้มีความคิดในการที่จะปรับปรุงระบบการแข่งขันฟุตบอลในประเทศ โดยมีปรับโครงสร้างลีก โดยให้สโมสรที่มีความพร้อมในระดับสโมสรอาชีพ จากการแข่งขัน ถ้วยพระราชทาน ข. ประจำปี 2547 และสโมสรที่ตกชั้นจากดิวิชั่น 1 2549 มาแข่งขันกันในลีกใหม่

การควบรวมลีก[แก้]

ในปี 2550 จึงมีการควบรวม โปรวินเชียลลีก โดยได้มีการจัดทำ บันทึกช่วยจำ การจัดการแข่งขันฟุตบอลอาชีพของประเทศไทย ระหว่าง การกีฬาแห่งประเทศไทย กับสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ[2] ซึ่งเป็นเอกสารข้อตกลงในการรวมลีกทั้งสองเข้าเป็นลีกเดียว โดยให้สิทธิ์สโมสรที่จบ สองอันดับสุดท้าย ในการแข่งขัน โปรลีก ฤดูกาล 2549 เข้าร่วมการแข่งขันในลีก โดยรวมกับ สองอันดับสุดท้ายของ ฤดูกาล 2549 เป็น 12 สโมสร และปรับโครงสร้างลีกเป็น 22 สโมสร และ ปรับโครงสร้างให้เหลือ 16 สโมสร ในปี 2552

ลีกภูมิภาค[แก้]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2552 สมาคมฯ ได้มีการปรับโครงสร้างให้สอดคล้องกับกฎระเบียบของ สมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย ในการแข่งขันฟุตบอลอาชีพ โดยปรับโครงสร้าง จากเดิมให้ดิวิชั่น 2 มี 16 สโมสร เป็นลีกภูมิภาค โดยให้ โปรวินเชียลลีก ควบรวมด้วยกัน[3] โดยจะแบ่งออกเป็นโซนแต่ละภูมิภาค แล้วเอา ชนะเลิศ และ รองชนะเลิศ หรือ อันดับ 1 ถึง 4 ของแต่ละโซนขึ้นไปเล่นในดิวิชั่น 1 เพื่อเป็นการปรับปรุงให้ทีมฟุตบอลจังหวัด ได้พัฒนาให้เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพมากยิ่งขึ้น โดยจะเป็นการแข่งเหย้า-เยือนในแต่ละโซน และจะสามารถหาสิทธิประโยชน์จากการขายป้ายโฆษณา, การขายของที่ระลึก, ค่าผ่านประตู เป็นต้น และเพื่อสะดวกต่อการเดินทางของทุกๆ สโมสร[4]

ชื่อรายการแข่งขัน[แก้]

ช่วงเวลา ผู้สนับสนุน ชื่อรายการแข่งขัน
2549–2551 โตโยต้า,เครื่องดื่มตราช้าง,ผลิตภัณฑ์อาหารตราซีพี ไทยแลนด์ลีกดิวิชั่น 2
2552 ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2
2553–2558 เอไอเอส เอไอเอส ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2
2559 เอไอเอสลีก ดิวิชั่น 2
2560 ยูโร่ เค้ก ยูโร่ เค้ก ลีก
2561–2562 ธนาคารออมสิน ออมสิน ลีก

เครือข่ายถ่ายทอดโทรทัศน์[แก้]


ผู้สนับสนุนหลัก[แก้]

2549-2551 : ไม่มีผู้สนับสนุน (ไทยลีกดิวิชั่น 2)

2552 : ไม่มีผู้สนันสนุน (ลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2)

2553-2559 : เอไอเอส (เอไอเอส ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2)

2560 : ยูโร่ เค้ก (ยูโร่ เค้ก)

2561-2562 : ธนาคารออมสิน (ออมสิน ลีก)

ทำเนียบสโมสร[แก้]

ชนะเลิศและเลื่อนชั้น[แก้]

รายนามทำเนียบสโมสรชนะเลิศการแข่งขัน ลีกดิวิชั่น 2 (2549-2551) และ ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 (2552-2559) ในการแข่งขันฟุตบอลระดับสโมสรระดับสามของประเทศ

ลีกดิวิชั่น 2 (2549-2551)[แก้]

# ฤดูกาล จำนวน
สโมสร
ชนะเลิศ รองชนะเลิศ สโมสรที่เลื่อนชั้น
1 2549 11 จุฬาฯ-สินธนา จ่าอากาศ จุฬาฯ-สินธนา, จ่าอากาศ
2 2550 12 เมืองทอง-หนองจอก ยูไนเต็ด ปตท. เมืองทอง-หนองจอก ยูไนเต็ด, ปตท.
3 2551 22 เทศบาลเมืองปราจิณ กรมสวัสดิการทหารบก เทศบาลเมืองปราจิณ, กรมสวัสดิการทหารบก, สงขลา, ศรีสะเกษ

ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 (2552-2559)[แก้]

# ฤดูกาล จำนวน
สโมสร
ชนะเลิศ รองชนะเลิศ สโมสรที่เลื่อนชั้น
4 2552 52 ราชประชา-นนทบุรี เชียงราย ยูไนเต็ด ราชประชา-นนทบุรี, เชียงราย ยูไนเต็ด, นราธิวาส
5 2553 75 บุรีรัมย์ ภูเก็ต บุรีรัมย์, ภูเก็ต, เชียงใหม่, ชัยนาท, เจดับบลิว รังสิต, บางกอก, สระบุรี
6 2554 77 ราชบุรี นครราชสีมา ราชบุรี, นครราชสีมา, พัทลุง, กระบี่
7 2555 81 อยุธยา ตราด เอฟซี อยุธยา, ตราด, ระยอง, ระยอง ยูไนเต็ด
8 2556 84 ร้อยเอ็ด ยูไนเต็ด เชียงใหม่ ร้อยเอ็ด ยูไนเต็ด, เชียงใหม่, พิษณุโลก ทีเอสวาย, อ่างทอง
9 2557 83 ประจวบ ไทยฮอนด้า ประจวบ, ไทยฮอนด้า, สุโขทัย, พิจิตร
10 2558 83 อุบล ยูเอ็มที ยูไนเต็ด สตูล ยูไนเต็ด อุบล ยูเอ็มที ยูไนเต็ด, ขอนแก่น ยูไนเต็ด, ระยอง, ลำปาง
11 2559 94 ตราด
ม.เกษตรศาสตร์
สุราษฎร์ธานี
หนองบัว พิชญ (ครองแชมป์ร่วมกัน)
ตราด, หนองบัว พิชญ, ม.เกษตรศาสตร์

ไทยลีก 4 (2560-2562)[แก้]

รายนามทำเนียบสโมสรชนะเลิศการแข่งขัน ไทยลีก 4 (2560-2562) ในการแข่งขันฟุตบอลระดับสโมสรระดับสี่ของประเทศ

# ฤดูกาล จำนวน
สโมสร
ชนะเลิศกลุ่ม A ชนะเลิศกลุ่ม B สโมสรที่เลื่อนชั้น
12 2560 61 บีทียู ส.บุญมีฤทธิ์ ยูไนเต็ด เจแอล เชียงใหม่ ยูไนเต็ด บีทียู ส.บุญมีฤทธิ์ ยูไนเต็ด, เจแอล เชียงใหม่ ยูไนเต็ด, เชียงราย ซิตี้, เมืองกาญจน์ ยูไนเต็ด, นาวิกโยธิน ยูเรก้า
# ฤดูกาล จำนวน
สโมสร
ชนะเลิศ รองชนะเลิศ สโมสรที่เลื่อนชั้น
13 2561 59 นครปฐม ยูไนเต็ด ขอนแก่น ยูไนเต็ด นครปฐม ยูไนเต็ด, ขอนแก่น ยูไนเต็ด, มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
14 2562 60 วัดโบสถ์ ซิตี้ ปัตตานี มหาวิทยาลัยปทุมธานี, ปัตตานี, วัดโบสถ์ ซิตี้, เมืองเลย ยูไนเต็ด

การเลื่อนชั้นและการตกชั้น[แก้]

ฤดูกาล 2549 - 2550[แก้]

สโมสรที่จบ อันดับ 11 ของตาราง (อันดับ 11 และ 12 ในฤดูกาล 2550) ต้องตกชั้นไปทำการแข่งขัน ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ข. และ สโมสรที่ได้ตำแหน่งชนะเลิศและรองชนะเลิศจะได้สิทธิ์เลื่อนชั้นทำการแข่งขันใน ไทยลีกดิวิชั่น 1 ต่อไป

ฤดูกาล 2551[แก้]

ทีม 2 อันดับแรกหลังจากจบฤดูกาล 2551 จากสาย A และ B รวม 4 ทีม จะได้ขึ้นชั้นสู่ไทยลีกดิวิชั่น 1 โดยไม่มีทีมใดต้องตกชั้น เนื่องจากอยู่ระหว่างกระบวนการปรับโครงสร้างลีกใหม่

ฤดูกาล 2552[แก้]

ทีมชนะเลิศจาก 5 ภาค (ภาคเหนือ, ภาคภาคภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, กลางและตะวันออก, กรุงเทพและปริมณฑล และใต้) จะเข้าสู่ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 2552 รอบ 5 ทีมสุดท้าย โดยจะแข่งขันกันในระบบเหย้า-เยือน ทีม 3 อันดับแรกจะได้ขึ้นชั้นสู่ไทยลีกดิวิชั่น 1 โดยไม่มีทีมใดต้องตกชั้น เนื่องจากอยู่ระหว่างกระบวนการปรับโครงสร้างลีกใหม่

ฤดูกาล 2553[แก้]

ทีมแชมป์และรองแชมป์จาก 5 ภาค (ภาคเหนือ, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, กลางและตะวันออก, กรุงเทพและปริมณฑล และใต้) รวมกับทีมอันดับ 3 ที่ดีที่สุด จากลีกภูมิภาคภาคเหนือ ลีกภูมิภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือลีกภูมิภาคภาคกลางและภาคตะวันออก อีก 2 ทีม รวมเป็น 12 ทีม จะเข้าสู่ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 2553 รอบแชมป์เปี้ยนส์ลีก โดยจับฉลากแบ่งกลุ่มเป็น 2 กลุ่ม A และ กลุ่ม B กลุ่มละ 6 ทีมโดยจะแข่งขันกันในระบบเหย้า-เยือน ทีม 2 อันดับแรกจะได้ขึ้นชั้นสู่ไทยลีกดิวิชั่น 1 โดยอัตโนมัติและทีมอันดับที่ 1 ของสายยังได้สิทธิ์เข้าไปชิงแชมป์ดิวิชัน 2 ฤดูกาล 2553 ส่วนทีมอันดับ 2 ของสายมาชิงอันดับ 3 ของลีก

ฤดูกาล 2554[แก้]

ทีมแชมป์และรองแชมป์จาก 5 ภาค (ภาคเหนือ, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, กลางและตะวันออก, กรุงเทพและปริมณฑล และใต้) รวมกับทีมอันดับ 3 ที่ดีที่สุด จากลีกภูมิภาคภาคเหนือ ลีกภูมิภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลีกภูมิภาคภาคกลางและภาคตะวันออก หรือลีกภูมิภาคกรุงเทพและปริมณฑล อีก 2 ทีม รวมเป็น 12 ทีม จะเข้าสู่ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 2554 รอบแชมป์เปี้ยนส์ลีก โดยจับฉลากแบ่งกลุ่มเป็น 2 กลุ่ม A และ กลุ่ม B กลุ่มละ 6 ทีมโดยจะแข่งขันกันในระบบเหย้า-เยือน ทีม 2 อันดับแรกจะได้ขึ้นชั้นสู่ไทยลีกดิวิชั่น 1 โดยอัตโนมัติและทีมอันดับที่ 1 ของสายยังได้สิทธิ์เข้าไปชิงแชมป์ดิวิชัน 2 ฤดูกาล 2554 ส่วนทีมอันดับ 2 ของสายมาชิงอันดับ 3 ของลีก

ฤดูกาล 2555[แก้]

ทีมแชมป์และรองแชมป์จาก 5 ภาค (ภาคเหนือ, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, กลางและตะวันออก, กรุงเทพและปริมณฑล และใต้) รวมกับทีมอันดับ 3 ที่ดีที่สุด จากลีกภูมิภาคที่มีทีมแข่งขัน 18ทีม (ภาคเหนือ กรุงเทพและปริมณฑล ภาคกลางและภาคตะวันออก อีก 2 ทีมที่มีคะแนนที่ดีที่สุด และทีมที่มีคะแนนเป็นลำดับที่3 จะต้องไปเพลย์ออฟกับทีมอันดับสองจากลีกภูมิภาคภาคใต้ ทั้งหมดรวมเป็น 12 ทีม จะเข้าสู่ ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 2555 รอบแชมป์เปี้ยนส์ลีก โดยจับฉลากแบ่งกลุ่มเป็น 2 กลุ่ม A และ กลุ่ม B กลุ่มละ 6 ทีมโดยจะแข่งขันกันในระบบเหย้า-เยือน ทีม 2 อันดับแรกจะได้ขึ้นชั้นสู่ ไทยลีกดิวิชั่น 1 โดยอัตโนมัติ

ฤดูกาล 2556[แก้]

โควตารอบแชมเปียนส์ลีก (ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 ฤดูกาล 2556) [5] เพื่อคัดเลือกทีมเลื่อนชั้นสู่ไทยลีกดิวิชั่น 1

  • ทีมลำดับที่ 1 และ 2 จาก 5 กลุ่ม ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กรุงเทพและภาคกลาง ภาคกลางตะวันออก และภาคกลางตะวันตก และอันดับที่ 1 จากกลุ่มภาคใต้ รวมเป็น 11 ทีม
  • ทีมลำดับที่ 2 ของกลุ่มภาคใต้ มาทำการเตะเพลออฟกับทีมลำดับที่ 3 ที่ดีที่สุด จาก 2 กลุ่มที่มี 16 ทีม ซึ่งได้แก่ กลุ่มภาคเหนือ และ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยแข่งขันที่สนามเป็นกลาง

รวมเป็น 12 ทีม สำหรับเล่นในรอบแชมเปียนส์ลีก

รอบแชมเปียนส์ลีก แบ่งเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 6 ทีม มาแข่งขันกัน โดยแต่ละกลุ่มจะแข่งแบบพบกันหมด เหย้า-เยือน เพื่อหาทีมแชมป์ และรองแชมป์ จำนวนกลุ่มละ 2 ทีมไปเล่นใน "ลีกดิวิชั่น 1" ในปีถัดไป

นัดชิงชนะเลิศ และชิงลำดับที่ 3 ในรอบแชมเปียนส์ลีก ให้นำทีมลำดับที่ 1 ในแต่ละกลุ่มมาทำการแข่งขันระบบเหย้า-เยือน

ฤดูกาล 2557[แก้]

โควตารอบแชมเปียนส์ลีก (ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 ฤดูกาล 2557) [6] เพื่อคัดเลือกทีมเลื่อนชั้นสู่ไทยลีกดิวิชั่น 1 คัดเลือกจากทีมชนะเลิศและรองชนะเลิศของแต่ละกลุ่มภูมิภาค รวม 12 สโมสร ไม่มีการเพลย์ออฟ

รอบแชมเปียนส์ลีก แบ่งเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 6 ทีม มาแข่งขันกัน โดยแต่ละกลุ่มจะแข่งแบบพบกันหมด เหย้า-เยือน เพื่อหาทีมแชมป์ และรองแชมป์ จำนวนกลุ่มละ 2 ทีมไปเล่นใน "ลีกดิวิชั่น 1" ในปีถัดไป

อ้างอิง[แก้]

  1. "แย่งซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดไทยลีก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-22. สืบค้นเมื่อ 2016-04-25.
  2. https://web.archive.org/web/20070202012321if_/http://www.fat.or.th:80/Download/SATMemo.doc บันทึกช่วยจำ การจัดการแข่งขันฟุตบอลอาชีพของประเทศไทย ระหว่าง การกีฬาแห่งประเทศไทย กับสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูถัปภ์ - เว็บไซต์เก่า ส.ฟ.ท.
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-17. สืบค้นเมื่อ 2009-02-17.
  4. http://www.thailandsusu.com/webboard/index.php?topic=31686.0;wap2[ลิงก์เสีย] 'บอลอาชีพ'ทั่วไทยปรับโครงสร้างใหม่ อาจดึง'โปรลีก'รวมกับ'ดิวิชั่น 2' ฯ - ไทยแลนด์สู้ๆ
  5. ระเบียบและข้อบังคับว่าด้วยการแข่งขันฟุตบอลลีกภูมิภาค "ดิวิชั่น 2" (PDF หน้า 6)
  6. ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 รอบ แชมเปี้ยนส์ ลีก

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]