ข้ามไปเนื้อหา

กลิ่นกาสะลอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กลิ่นกาสะลอง
ละครกลิ่นกาสะลอง
แนวพีเรียด ดราม่า ลึกลับ
สร้างโดยบริษัท ฟิลกู๊ด เอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด
บทประพันธ์เนียรปาตี
บทละครโทรทัศน์ปารดา กันตพัฒนกุล
กำกับโดยสันต์ ศรีแก้วหล่อ
นักแสดง
ดนตรีแก่นเรื่องเปิดสัญญากับคำว่ารอ – นรารักษ์ ใจบำรุง
ดนตรีแก่นเรื่องปิดสัญญากาสะลอง – ศรัณยู วินัยพานิช
เจมส์ มาร์
นันทนัช โล่ห์สุวรรณ
ประเทศแหล่งกำเนิดไทย ประเทศไทย
ภาษาต้นฉบับไทย ภาษาไทย
ภาษาไทยถิ่นเหนือ
จำนวนตอน15 ตอน
การผลิต
ควบคุมงานสร้างธิติมา สังขพิทักษ์
ความยาวตอน150 นาที
ออกอากาศ
สถานีโทรทัศน์สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3, ไลน์ทีวี
ออกอากาศ10 มิถุนายน พ.ศ. 2562 –
29 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
ละครเรื่องก่อนหน้าแรงเงา 2
ละครเรื่องถัดไปด้ายแดง

กลิ่นกาสะลอง เป็นละครโทรทัศน์แนวย้อนยุค ชีวิต และรักในปี พ.ศ. 2562 ดัดแปลงจากนวนิยายชื่อเดียวกันของเนียรปาตี ผลิตโดย บริษัท ฟิลกู๊ด เอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด บทโทรทัศน์โดย ปารดา กันตพัฒนกุล กำกับการแสดงโดย สันต์ ศรีแก้วหล่อ[1] นำแสดงโดย เจมส์ มาร์ และ อุรัสยา เสปอร์บันด์ ออกอากาศทุกวันจันทร์–อังคาร เวลา 20.20 น. เริ่มตอนแรกวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2562–29 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3, ไลน์ทีวี

กลิ่นกาสะลอง เป็นละครของช่อง 3 ที่มีเรตติ้งสูงสุด ในปี พ.ศ. 2562 รองจาก กรงกรรม และ ทองเอก หมอยา ท่าโฉลง[2]

งานสร้าง

[แก้]

กลิ่นกาสะลอง เป็นละครแนวโศกนาฏกรรมความรักข้ามภพข้ามชาติ ฉากหลังเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2550 และ พ.ศ. 2467 ในช่วงปลายรัชกาลที่ 6[3] ในเรื่องนี้ อุรัสยา รับบทตัวละคร 4 ตัวละคร ทั้งบทข้ามชาติ และฝาแฝด[4] สำหรับบทบาทนี้อุรัสยา ต้องไปหัดพูดภาษาเหนือ และยังไปเรียนการแสดงเพิ่มเติมเพื่อค้นหาตัวละคร โดยมากแล้วตัวละครฝาแฝดมักจะแต่งหน้าทำผมไม่เหมือนกัน แต่เรื่องนี้ต่างไม่เยอะ แต่ให้คนดูแยกแยะด้วยการแสดง ละครเรื่องนี้ยังมีการใช้ภาพเทคนิคพิเศษหลายจุด ทั้งเรื่องฝาแฝด ผี ฉากอัศจรรย์ต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีการทำซับไตเติลภาษา[5] ในเรื่องมีบางฉากที่พากย์เสียงทับ อย่างฉากที่อุรัสยาคุยกับพิศมัย วิไลศักดิ์ ที่ต้องลงเสียงใหม่เนื่องจากตอนแรกใช้สำเนียงเชียงราย ทำให้ฟังยากไป จึงพากย์ใหม่เป็นสำเนียงเชียงใหม่ เนื่องจากถ่ายทำไปแล้ว 4-5 คิว[6]

สถานที่ถ่ายทำหลายที่ถ่ายทำที่จังหวัดเชียงใหม่ เช่น วัดต้นเกว๋น วัดโลกโมฬี สถานีรถไฟเชียงใหม่ ตลาดวโรรส ตลาดต้นลำไย สีมันตรารีสอร์ต[7]

คำวิจารณ์

[แก้]

อุรัสยา รับบท 4 บทบาท เดอะสแตนดาร์ด วิจารณ์การแสดงว่าเป็นการแสดง "ที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ไม่ว่าจะเป็นบทสาวกาสะลองหวานอ่อนโยน, บทซ้องปีบสาวขี้วีนโมโหร้าย, พริมพี่สาวมั่นสมัยใหม่ และผีกาสะลอง บทหลอนวิญญาณแค้น แม้จะรับบทหนักทั้งหมด 4 บท แต่เธอก็สามารถถ่ายทอดอารมณ์และแยกความเป็นตัวละครนั้น ๆ ออกมาได้อย่างชัดเจน จนคนดูเชื่อว่าเธอแสดงเป็นคนละคนจริง ๆ"[8] ในขณะที่การพูดภาษาเหนือของอุรัสยานั้น โพสต์ทูเดย์ ว่า "ถึงแม้ว่าคนเหนือแท้ ๆ ฟังแล้วยังขัดหู แต่คนดูแบบเรา ๆ ให้ผ่าน"[9]

รายชื่อนักแสดง

[แก้]
ปี พ.ศ. 2562
สถานีที่ออกอากาศ ช่อง 3
ผู้ผลิต บริษัท ฟิลกู๊ด เอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด
บทประพันธ์ เนียรปาตี
บทโทรทัศน์ ปารดา กันตพัฒนกุล
ผู้กำกับการแสดง สันต์ ศรีแก้วหล่อ
บทบาท นักแสดงหลัก
กาสะลอง / ซ้องปีบ (2467)
ผีกาสะลอง / พิมพ์พิศา (พริมพี่) (2550)
พิมพ์มาดา (พิมพ์) (2580)
อุรัสยา เสปอร์บันด์
หมอทรัพย์ (2467)
หมอทินกฤต (กฤต) (2550)
ปรัศวินทร์ (2580)
เจมส์ มาร์
มั่นฟ้า (2467)
หมอภาคภูมิ (2550)
ฐากูร การทิพย์
นางเหมย (2467)
วิจิตรา (หมอก) (2550)
นันทนัช โล่ห์สุวรรณ
นายแคว้นมั่ง (2467)
สุนทร (2550)
มนตรี เจนอักษร
ทองใบ (2467)
พุดแก้ว (2550)
เพ็ญพักตร์ ศิริกุล
น้อยจั่น (2467)
พ.ต.ต. ราเมศวร์ (2550)
วริษฐ์ ทิพโกมุท
บัวเกี๋ยง อันดา กุลฑีรา (วัยเด็ก)
พิศมัย วิไลศักดิ์ (วัยชรา)
บทบาท นักแสดงสมทบ
แสง (2467)
พระอาจารย์เทียน (2550)
เลอวิทย์ สังข์สิทธิ์
อาม่ากิมฮวย ศิรินุช เพ็ชรอุไร
อากงเทียนอี้ ทศพล ศิริวัฒน์
อินทร์ถา ถนอม สามโทน
คำหอม นฤมล พงษ์สุภาพ
บัวตอง อรัญญา ประทุมทอง
แสงหล้า วิลาวัณย์ ทะลือ
ฟองคำ สิตางศุ์ ปุณภพ
เกตแก้ว สุพรรณิการ์ จำเริญชัย (รับบทสแตนอินของอุรัสยาด้วย)
ไซโตะซัง โชโกะ ทานิคาวะ
บทบาท นักแสดงรับเชิญ
อุ๊ยแก้ว สุเชาว์ พงษ์วิไล
ปานจิตร สุปราณี เจริญผล
พ่อครูอินถา สมมาตร ไพรหิรัญ
ครูดาบ วัชรชัย สุนทรศิริ
พ่อเลี้ยงบ้านวังสิงห์คำ พงศนารถ วินศิริ
หมอเนเกอร์การ์ด ปีเตอร์ ธูนสตระ
สุดาวดี ฉัตรฑริกา สิทธิพรม
หมอคอร์ท เคน ศรุตเกอร์

อ้างอิง

[แก้]
  1. ""กลิ่นกาสะลอง" เผยภาพเบื้องหลังขณะเร่งถ่ายทำ". ช่อง 3. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-02. สืบค้นเมื่อ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "เปิดเรตติ้ง กลิ่นกาสะลอง ตอนจบ พุ่งไป 6.2 งานนี้มีแถมเลขเด็ด !". กระปุก.คอม. สืบค้นเมื่อ 16 กันยายน 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. ""กลิ่นกาสะลอง" ละครพีเรียดดราม่า กับปมความรักความแค้นที่รอวันเอาคืน!!". คมชัดลึก. 8 มิถุนายน 2562. สืบค้นเมื่อ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "ไขความลับ การถ่ายฉากแฝดใน กลิ่นกาสะลอง ทำยังไงถึงได้เนียนขนาดนี้". กระปุก.คอม. สืบค้นเมื่อ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. จิรณัฏฐ์ จงประสพมงคล (7 มิถุนายน พ.ศ. 2562). "'ญาญ่า'ท้าฝีมือ3ตัวละคร 'กลิ่นกาสะลอง'ประชัน'เจมส์'". ข่าวสด. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  6. "มิติใหม่นางเอก "ญาญ่า" เปิดใจ บินไปพม่าทำบุญให้ตัวละครที่ตายครั้งแรก รับชื่อพริมพี่น่าตบ และน่ารำคาญ". ผู้จัดการออนไลน์. 13 มิถุนายน พ.ศ. 2562. สืบค้นเมื่อ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  7. "อินให้สุดกับ "กลิ่นกาสะลอง" ชวนไปเยี่ยมบ้าน "ซ้องปีบ" ที่เจียงใหม่". ไนน์เอนเตอร์เทน. สืบค้นเมื่อ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  8. "ถอด 4 คาแรกเตอร์ใน 'กลิ่นกาสะลอง' ญาญ่าแสดงเป็นใคร ทำไมคนชมกันทั่วบ้านทั่วเมือง". เดอะสแตนดาร์ด. 5 กรกฎาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 19 กรกฎาคม 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  9. "งดงามเลอค่า! ญาญ่า อุรัสยา กับฉากรำฟ้อนอ่อนช้อยในละครกลิ่นกาสะลอง". โพสต์ทูเดย์. 27 มิถุนายน 2562. สืบค้นเมื่อ 19 กรกฎาคม 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]