ข้ามไปเนื้อหา

ถนนลาดพร้าว

พิกัด: 13°47′32″N 100°35′56″E / 13.7922°N 100.5989°E / 13.7922; 100.5989
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ถนนลาดพร้าว
แยกลาดพร้าว 86 จุดตัดกับถนนประดิษฐ์มนูธรรม
ทางแยกที่สำคัญ
ปลายทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ แยกลาดพร้าว ในเขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
 
ปลายทางทิศตะวันออกเฉยีงใต้ แยกบางกะปิ ในเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 336
สะพานเข้าถนนลาดพร้าว
ข้อมูลของเส้นทาง
ความยาว0.851 กิโลเมตร (0.529 ไมล์; 2,790 ฟุต)
ทางแยกที่สำคัญ
ปลายทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ถนนวิภาวดีรังสิต , ถนนพหลโยธิน ในเขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
ปลายทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ถนนลาดพร้าว(เขตกรุงเทพมหานครควบคุม) ในเขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
ตำแหน่งที่ตั้ง
ประเทศไทย
ระบบทางหลวง
ถนนลาดพร้าว ช่วงเดอะมอลล์บางกะปิ
ถนนลาดพร้าว ช่วงซอยลาดพร้าว 80

ถนนลาดพร้าว (อักษรโรมัน: Thanon Lat Phrao) เป็นถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร มีจุดเริ่มต้นที่ห้าแยกลาดพร้าว (หรือที่นิยมเรียกว่า "ปากทางลาดพร้าว") ในพื้นที่เขตจตุจักร ซึ่งเป็นจุดตัดกับถนนพหลโยธินและถนนวิภาวดีรังสิต มีทิศทางมุ่งไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านจุดตัดกับถนนรัชดาภิเษก ข้ามคลองน้ำแก้ว คลองบางซื่อ ผ่านพื้นที่แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง ในระยะสั้น ๆ ข้ามคลองลาดพร้าวเข้าสู่พื้นที่เขตวังทองหลาง เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงสะพานสอง กับแขวงวังทองหลาง ตัดกับถนนโชคชัย 4 และถนนประดิษฐ์มนูธรรม จากนั้นเป็นเส้นแบ่งระหว่างแขวงคลองเจ้าคุณสิงห์กับแขวงพลับพลา จากนั้นตัดกับถนนลาดพร้าว 101 เข้าสู่พื้นที่แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ ผ่านสามแยกบางกะปิซึ่งเป็นจุดตัดกับถนนศรีนครินทร์ ไปสิ้นสุดที่สี่แยกบางกะปิซึ่งเป็นจุดตัดกับถนนนวมินทร์และถนนพ่วงศิริ โดยมีถนนที่ตรงต่อเนื่องต่อไปคือถนนเสรีไทย

ถนนลาดพร้าวได้รับการกำหนดเป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3185 ต่อมาเปลี่ยนเป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 336 แต่ปัจจุบันอยู่ในความควบคุมของกรุงเทพมหานคร (ยกเว้นสะพานเข้าถนนลาดพร้าว ที่ยังอยู่ในความดูแลของกรมทางหลวง)

ช่วงระหว่างห้าแยกลาดพร้าวจนถึงจุดตัดกับถนนรัชดาภิเษก มีระบบขนส่งมวลชนคือ รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล และมีรถไฟฟ้าสายสีเหลืองที่เริ่มตั้งแต่บริเวณสี่แยกรัชดา-ลาดพร้าว ไปจนถึงสามแยกบางกะปิ

ประวัติ

[แก้]

ถนนลาดพร้าวเริ่มตัดถนนเมื่อ พ.ศ. 2487 ซึ่งเป็นช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่สอง จึงเริ่มมีประชาชนอพยพหลบภัยจากการทิ้งระเบิด โดยในระยะแรกตัดถนนถึงสามแยกสะพานคลองแสนแสบ ต่อมา พ.ศ. 2497 ประชาชนได้ช่วยกันสร้างถนนถึงช่วงที่ว่าการอำเภอบางกะปิ[1]

ในปี พ.ศ. 2556 ถนนลาดพร้าวได้รับการจัดอันดับให้เป็นถนนที่มีการจราจรติดขัดที่สุดในกรุงเทพมหานคร[2] ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 มีรายงานจากกรมควบคุมมลพิษว่า ถนนลาดพร้าวมีปริมาณฝุ่นละอองที่มีค่า PM2.5 อยู่ที่ 91 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งเกินกว่าค่ามาตรฐาน นับว่ามากที่สุดในกรุงเทพมหานคร เทียบเท่ากับถนนอินทรพิทักษ์ในฝั่งธนบุรี[3]

ทางแยกสำคัญ

[แก้]
รายชื่อทางแยกบน ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 336 (ถนนลาดพร้าว) ทิศทาง: ลาดพร้าว–บางกะปิ
จังหวัด กม.ที่ ชื่อจุดตัด ซ้าย ขวา
ถนนลาดพร้าว (สะพานข้ามแยกลาดพร้าว) ในเขตควบคุมแขวงทางหลวงกรุงเทพ
กรุงเทพมหานคร 0+000 แยกลาดพร้าว (ห้าแยกลาดพร้าว) ถนนพหลโยธิน ไป สะพานควาย

ถนนวิภาวดีรังสิต ไป สุทธิสาร, หลักสี่

ถนนพหลโยธิน ไปรัชโยธิน
ถนนลาดพร้าว (แยกลาดพร้าว - แยกบางกะปิ) ในเขตควบคุมกรุงเทพมหานคร
กรุงเทพมหานคร 0+851 เชื่อมต่อจาก: ถนนลาดพร้าว (ในเขตควบคุมแขวงทางหลวงกรุงเทพ)
1+700 แยกรัชดา–ลาดพร้าว ถนนรัชดาภิเษก ไปแยกห้วยขวาง, ศูนย์วัฒนธรรม ถนนรัชดาภิเษก ไปรัชโยธิน, รัชวิภา
- แยกภาวนา - ซ.ลาดพร้าว 41 ไปถนนรัชดาภิเษก, ลาดพร้าววังหิน
- แยกโชคชัย 4 - ถนนโชคชัย 4 ไปเสนานิคม
- แยกเกตุนุติ ซ.ลาดพร้าว 64 ไปถนนสุทธิสารวินิจฉัย, รัชดาภิเษก
- แยกลาดพร้าว 80 ซ.ลาดพร้าว 80 ไปถนนประชาราษฎร์บำเพ็ญ
- แยกลาดพร้าว-ประดิษฐ์มนูธรรม ถนนประดิษฐ์มนูธรรม ไป พระราม 9, เอกมัย ถนนประดิษฐ์มนูธรรม ไป รามอินทรา
- แยกลาดพร้าว 112 - ซ.ลาดพร้าว 112 (เอี่ยมสมบูรณ์) ไป ซ.รามคำแหง 65
- แยกมหาดไทย ซ.ลาดพร้าว 122 ไป ถนนรามคำแหง (ซ.มหาดไทย 1)
- แยกลาดพร้าว 101 ซ.ลาดพร้าว 101 ไป ถนนโพธิ์แก้ว, ถนนนวมินทร์
- แยกแฮปปี้แลนด์ ถนนแฮปปี้แลนด์ ไป ถนนนวมินทร์
- แยกบางกะปิ ถนนศรีนครินทร์ ไปแยกลำสาลี, พระราม 9
ถนนพ่วงศิริ ไปรามคำแหง ถนนนวมินทร์ ไปเกษตร–นวมินทร์, ถนนรามอินทรา
ตรงไป: ถนนเสรีไทย ไปแยกนิด้า - มีนบุรี
      สะพาน              กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต

สถานที่สำคัญที่ถนนตัดผ่าน

[แก้]
  1. ที่ทำการไปรษณีย์สามแยกลาดพร้าว
  2. สถานีดับเพลิงลาดพร้าว
  3. ตลาดภาวนา
  4. ตลาดลาดพร้าวสะพาน 2
  5. สถานีตำรวจนครบาลโชคชัย
  6. ตลาดโชคชัย 4
  7. โรงเรียนถนอมพิศวิทยา
  8. โรงพิมพ์ องค์การค้าของ สกสค. และศึกษาภัณฑ์พาณิชย์ สาขาลาดพร้าว
  9. ที่ทำการไปรษณีย์ลาดพร้าว
  10. ศูนย์การเรียนปัญญาภิวัฒน์ ลาดพร้าว
  11. วัดสามัคคีธรรม
  12. โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ บดินทรเดชา
  13. ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี สาขาลาดพร้าว
  14. สถานีย่อยคลองจั่น การไฟฟ้านครหลวง
  15. เดอะมอลล์บางกะปิ
  16. ตลาดบางกะปิ
  17. สำนักงานเขตบางกะปิ

อ้างอิง

[แก้]
  1. วริศรา ตั้งจิตเจริญพงศ์. "กระบวนการขยับบ้านหลังย้ายขึ้นจากคลองพิชัยของเคหะชุมชนเพชรคลองจั่น เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร" (PDF). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์. p. 39. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-07-22. สืบค้นเมื่อ 2023-07-22.
  2. ซูม (2013-08-15). "ถนนลาดพร้าว แชมป์รถติดตลอดกาล". ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ 2017-04-23.
  3. "กรมควบคุมมลพิษ เผยฝุ่นละอองมาพร้อมหมอก กทม.ค่าPM 2.5 เกินมาตรฐาน!". พีพีทีวี. 2018-02-08. สืบค้นเมื่อ 2018-02-10.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

13°47′32″N 100°35′56″E / 13.7922°N 100.5989°E / 13.7922; 100.5989