ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิทยาลัยนาฏศิลป"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 12: บรรทัด 12:
* '''หลักสูตรประกาศนียบัตรนาฏศิลป์ชั้นต้น''' รับผู้สำเร็จการศึกษาในชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เข้าศึกษาตามหลักสูตร 3 ปี
* '''หลักสูตรประกาศนียบัตรนาฏศิลป์ชั้นต้น''' รับผู้สำเร็จการศึกษาในชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เข้าศึกษาตามหลักสูตร 3 ปี
* '''หลักสูตรประกาศนียบัตรนาฏศิลป์ชั้นกลาง ''' รับนักเรียนต่อเนื่องจากระดับนาฏศิลป์ชั้นต้นปีที่ 3 และนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.3) เข้าศึกษาตามหลักสูตร 3 ปี
* '''หลักสูตรประกาศนียบัตรนาฏศิลป์ชั้นกลาง ''' รับนักเรียนต่อเนื่องจากระดับนาฏศิลป์ชั้นต้นปีที่ 3 และนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.3) เข้าศึกษาตามหลักสูตร 3 ปี
* '''หลักสูตรประกาศนียบัตรนาฏศิลป์ชั้นสูง''' (เทียบเท่าอนุปริญญา) รับนักเรียนต่อเนื่องจากระดับนาฏศิลป์ชั้นกลางเข้าศึกษาต่อ 2 ปี และระดับปริญาตรี 4และ5 ปี แล้วแต่คณะ
* '''หลักสูตรประกาศนียบัตรนาฏศิลป์ชั้นสูง''' (เทียบเท่าอนุปริญญา) รับนักเรียนต่อเนื่องจากระดับนาฏศิลป์ชั้นกลางเข้าศึกษาต่อ 2 ปี


== [[วิทยาลัยนาฏศิลป ]] ๑๒ แห่ง ==
== [[วิทยาลัยนาฏศิลป ]] ๑๒ แห่ง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 01:07, 22 ตุลาคม 2552

วิทยาลัยนาฏศิลป เป็นสถาบันการศึกษาในสังกัดสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป กระทรวงวัฒนธรรม โดยเปิดสอนเพื่อผลิตครูและบุคลากรสายอาชีพในด้านนาฏศิลป์ และดนตรี

ประวัติ

วิทยาลัยนาฏศิลป เดิมมีชื่อว่า "โรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์" ก่อตั้งโดย พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ เปิดการเรียนการสอนครั้งแรกเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2477 ซึ่งนับเป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกที่ให้การศึกษาทั้งวิชาสามัญและวิชาศิลป์

ในปี พ.ศ. 2478 ได้มีการก่อตั้งโรงเรียนศิลปากรขึ้น ซึ่งเปิดสอนทางด้านช่างปั้น ช่างเขียน และช่างรัก และมีการโอนโรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์ไปรวมเป็นแผนกหนึ่งของโรงเรียนศิลปากร เรียกว่า “แผนกนาฏดุริยางค์” โดยจัดการศึกษาวิชาศิลปทางดนตรี ปี่พาทย์ และละคร ต่อมา กรมศิลปากรได้ปรับปรุงกองดุริยางคศิลป์ โดยเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นกองการสังคีต และได้โอนแผนกนาฏดุริยางค์จากโรงเรียนศิลปากรมาขึ้นอยู่กับแผนกนาฏศิลป กองการสังคีต พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนสังคีตศิลป” แต่การเรียนการสอนได้หยุดไปชั่วขณะเนื่องจากสงครามโลกครั้งที่ 2

ในปี พ.ศ. 2488 โรงเรียนสังคีตศิลป ได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น “ โรงเรียนนาฏศิลป” พร้อมทั้งขยายการศึกษาครอบคลุมทั้งนาฏดุริยางคศิลป์ไทยและสากล หลังจากนั้น จึงได้รับการยกฐานะให้เป็น “ วิทยาลัยนาฏศิลป” เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2515 และเมื่อสถาปนา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ขึ้น วิทยาลัยนาฏศิลป และวิทยาลัยนาฎศิลปในภูมิภาคอีก 11 แห่ง (พร้อมทั้งวิทยาลัยช่างศิลป 3 แห่ง)จึงได้สังกัดสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์จนถึงปัจุบัน

หลักสูตร

  • หลักสูตรประกาศนียบัตรนาฏศิลป์ชั้นต้น รับผู้สำเร็จการศึกษาในชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เข้าศึกษาตามหลักสูตร 3 ปี
  • หลักสูตรประกาศนียบัตรนาฏศิลป์ชั้นกลาง รับนักเรียนต่อเนื่องจากระดับนาฏศิลป์ชั้นต้นปีที่ 3 และนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.3) เข้าศึกษาตามหลักสูตร 3 ปี
  • หลักสูตรประกาศนียบัตรนาฏศิลป์ชั้นสูง (เทียบเท่าอนุปริญญา) รับนักเรียนต่อเนื่องจากระดับนาฏศิลป์ชั้นกลางเข้าศึกษาต่อ 2 ปี

วิทยาลัยนาฏศิลป ๑๒ แห่ง

อ้างอิง


แหล่งข้อมูลอื่น