ท่าเรือ
ท่าเรือ เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกพาณิชย์ทางทะเลซึ่งอาจมีท่าเทียบเรือตั้งแต่หนึ่งแห่งขึ้นไปที่เรือสามารถเทียบเพื่อบรรจุและปล่อยผู้โดยสารและสินค้า ปกติท่าเรือตั้งอยู่ที่ชายฝั่งทะเลหรือชะวากทะเล แต่ท่าเรือบางแห่ง เช่น ฮัมบวร์คหรือแมนเชสเตอร์ ตั้งอยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดิน ซึ่งเรือจากทะเลสามารถเข้าถึงได้โดยทางแม่น้ำหรือคลอง เนื่องจากท่าเรือทำหน้าที่เป็นท่าขาเข้าของผู้อพยพกับทหารในช่วงสงคราม ทำให้ท่าเรือหลายแห่งมีการเปลี่ยนแปลงทางเชื้อชาติและวัฒนธรรมอย่างมากตลอดทั้งประวัติศาสตร์[1]
ท่าเรือมีส่วนสำคัญต่อเศรษฐกิจโลกอย่างมาก โดยร้อยละ 70 ของการค้าสินค้าทั่วโลกโดยมูลค่าผ่านท่าเรือ[2] ด้วยเหตุผลนี้ ทำให้ที่อยู่อาศัยบริเวณท่าเรือมักมีประชากรหนาแน่น ซึ่งจัดเตรียมแรงงานไว้ทำงานและจัดการสินค้าและบริการที่เกี่ยวข้องกับท่าเรือ ปัจจุบัน การพัฒนาท่าเรือที่เติบโตเร็วสุดอยู่ในทวีปเอเชีย ซึ่งเป็นทวีปที่มีท่าเรือใหญ่สุดและวุ่นวายที่สุดของโลกอันดับต้น ๆ เช่น สิงคโปร์ เซี่ยงไฮ้และหนิงโป-โจวชานของจีน ใน ค.ศ. 2020 ท่าเรือที่วุ่นวายที่สุดในโลกคือท่าเรือเฮลซิงกิในประเทศฟินแลนด์[3] ถึงกระนั้น มีท่าเรือขนาดเล็กจำนวนมากที่มีไว้เพื่อการท่องเที่ยวท้องถิ่นหรืออุตสาหกรรมปลา
ดูเพิ่ม
[แก้]- ท่าเรือบก (Dry port)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Caves, R. W. (2004). Encyclopedia of the City. Routledge. pp. 528. ISBN 9780415252256.
- ↑ Asariotis, Regina; Benamara, Hassiba; Mohos-Naray, Viktoria (December 2017). Port Industry Survey on Climate Change Impacts and Adaptation (PDF) (Report). UN Conference on Trade and Development.
- ↑ "Maritime ports freight and passenger statistics" (PDF). Eurostat. สืบค้นเมื่อ 18 June 2020.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Port Industry Statistics, American Association of Port Authorities
- Information on yachting facilities at ports around the world from Noonsite.com
- Social & Economic Benefits of PORTS from "NOAA Socioeconomics" website initiative
- Antunes, Cátia: Early Modern Ports, 1500-1750, European History Online, Mainz: Institute of European History, 2011, retrieved: November 2, 2011.