สนามบิน
สนามบิน[1] (อังกฤษ: aerodrome ภาษาอังกฤษเครือจักรภพ, airdrome ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน[2]) คือสถานที่ซึ่งมีการดำเนินการบินของอากาศยาน ไม่ว่าจะเกี่ยวข้องกับการขนส่งสินค้าทางอากาศ ผู้โดยสาร หรือไม่ก็ตาม และไม่ว่าจะเป็นการใช้งานสาธารณะหรือส่วนตัวก็ตาม สนามบิน ได้แก่ สนามบินการบินทั่วไปขนาดเล็ก สนามบินพาณิชย์ขนาดใหญ่ และฐานทัพอากาศทางทหาร
คำว่า ท่าอากาศยาน (airport) อาจหมายความถึงสนามบินที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน (โดยผ่านเกณฑ์การรับรองหรือข้อกำหนดด้านกฎระเบียบบางประการ) ซึ่งไม่ใช่ว่าสนามบินทุกแห่งจะเข้าหลักเกณฑ์ดังกล่าว
นั่นหมายความว่าท่าอากาศยาน (airport) ทั้งหมดถือว่าเป็นสนามบิน (aerodrome) แต่ไม่ใช่ทุกสนามบิน (aerodrome) ที่จะถือว่าเป็นท่าอากาศยาน (airport)
การใช้คำว่า "สนามบิน" ยังคงพบเห็นได้ทั่วไปในไอร์แลนด์และประเทศในเครือจักรภพ และในทางกลับกัน แทบไม่เป็นที่รู้จักในภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน ซึ่งคำว่า "ท่าอากาศยาน" ถูกนำมาใช้เกือบทั้งหมด
สนามบินน้ำ เป็นพื้นที่ของน้ำเปิดที่ใช้งานเป็นประจำโดยเครื่องบินทะเล เครื่องบินทุ่นลอยน้ำ หรืออากาศยานสะเทินน้ำสะเทินบกในการลงจอดและบินขึ้น
ในคำศัพท์ที่เป็นทางการ ตามที่กำหนดโดยองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) สนามบินคือ "พื้นที่ที่กำหนดบนบกหรือในน้ำ (รวมถึงอาคาร สิ่งติดตั้ง และอุปกรณ์ใดๆ) ที่มีจุดประสงค์เพื่อใช้ทั้งหมดหรือบางส่วนสำหรับการมาถึง การออกเดินทางและการเคลื่อนตัวบนพื้นผิวของอากาศยาน”[3]
นิรุกติศาสตร์
[แก้]คำว่า aerodrome (สนามบิน) มาจากภาษากรีกโบราณ ἀήρ (aḗr) แปลว่า อากาศ (air) และ δρόμος (drómos) แปลว่า ถนน (road) หรือ เส้นทาง (course) ซึ่งมีความหมายตามตัวอักษรว่า เส้นทางอากาศ (air course) ภาษาที่ใช้งานใกล้เคียงกันในสมัยโบราณคือ ฮิปโปโดรม (hippodrome) (สนามกีฬาสำหรับการแข่งม้าและการแข่งรถม้า) มาจากคำว่า ἵππος (híppos) แปลว่า ม้า (horse) และ δρόμος (drómos) แปลว่า ถนน (road) หรือ เส้นทาง (course) ความคล้ายคลึงกันทางภาษาสมัยใหม่คือ velodrome ซึ่งเป็นเวทีสำหรับ velocipedes (จักรยานโบราณ) Αεροδρόμιο เป็นคำสำหรับท่าอากาศยานในภาษากรีกสมัยใหม่ ซึ่งทับศัพท์ว่า aerodromio
ในการใช้งานทางการทหารของอังกฤษ กองบินหลวง (Royal Flying Corps) ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และกองทัพอากาศในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสอง ใช้คำนี้—มีข้อได้เปรียบที่พันธมิตรฝรั่งเศสซึ่งพวกเขามักอาศัยอยู่บนดิน และ ซึ่งพวกเขาใช้คำที่คล้ายร่วมกันว่า aérodrome (สนามบิน)
ในแคนาดา[4]และออสเตรเลีย[5] สนามบิน (aerodrome) เป็นคำศัพท์ทางกฎหมายสำหรับพื้นที่ทางบกหรือน้ำใด ๆ ที่ใช้ในการปฏิบัติการบิน โดยไม่คำนึงถึงสิ่งอำนวยความสะดวก
ในไทย คำว่า aerodrome (สนามบิน) จะใช้งานในด้านวิชาการด้านการขนส่งทางอากาศ โดยคำว่า สนามบิน เป็นคำที่ถูกกำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการเดินอากาศ และคำว่า ท่าอากาศยาน เป็นคำที่ถูกบัญญัติใช้ในพระราชบัญญัติศุลกากร ฉบับที่ 8 พ.ศ. 2480 ซึ่งคนทั่วไปมักเรียกท่าอากาศยานว่าสนามบิน[6] ขณะที่กองทัพอากาศไทยก็ได้ให้ความหมายคำว่า aerodrome ในภาษาไทยว่าหมายถึงคำว่า สนามบิน เช่นกันในส่วนของนิยามศัพท์มาตรฐานการบิน[1]
เอกสารขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ใช้คำว่า สนามบิน (aerodrome) ในภาคผนวกของอนุสัญญา ICAO เกี่ยวกับสนามบิน ลักษณะทางกายภาพ และการทำงานของสนามบิน[7]
ประวัติ
[แก้]ในยุคแรกของการบิน หากไม่มีรันเวย์ลาดยางและลานสำหรับลงจอดทั้งหมดเป็นพื้นหญ้า สนามบินทั่วไปอาจอนุญาตให้มีการบินวิ่งขึ้นและการบินร่อนลงได้เพียง 2 ทิศทางเท่านั้น เช่นเดียวกับท่าอากาศยานในปัจจุบัน ในขณะที่สนามบินมีความโดดเด่นเนื่องมาจาก ขนาดที่ใหญ่กว่า และความสามารถในการบินวิ่งขึ้นและการบินร่อนลงในทุกทิศทาง ความสามารถในการบินวิ่งขึ้นและการบินร่อนลงในกระแสลมได้โดยตรงซึ่งไม่ต้องคำนึงถึงทิศทางลม ถือเป็นข้อได้เปรียบที่สำคัญในช่วงแรก ๆ ของการบิน หากประสิทธิภาพของเครื่องบินในการบินวิ่งขึ้นและการบินร่อนลงผ่านลมขวาง (crosswind) ยังไม่ดีหรือก่อให้เกิดอันตราย การพัฒนาระบบห้ามล้อทั้งสองข้างจะแยกออกจากกัน (differential braking) ในอากาศยาน ประสิทธิภาพของอากาศยานจะดียิ่งขึ้นหากใช้ทางวิ่งลาดยาง และความจริงที่ว่า สนามบินทรงกลมต้องการพื้นที่มากกว่าสนามบินรูปตัว "L" หรือรูปสามเหลี่ยม ส่งผลให้สนามบินในยุคแรก ๆ ล้าสมัยไปในที่สุด
สนามบินที่ไม่ได้รับการปรับปรุงยังคงปรากฎในด้านการทหาร ซึ่งเครื่องดีเอชซี-4 คาริบู ประจำการในกองทัพสหรัฐฯ ในเวียดนาม (กำหนดให้เป็น ซีวี-2) สามารถลงจอดบนสนามบินที่ขรุขระและไม่ได้รับการปรับปรุงได้ ขณะที่เครื่อง ซี-130 เฮอร์คิวลิส ไม่สามารถทำงานได้ ก่อนหน้านี้เครื่องยุงเคิร์ส ยู 52 และฟีเซเลอร์ สตอร์ช ก็สามารถปฏิบัติการในรูปแบบเช่นเดียวกันได้ เช่น ในกรณีของการบินขึ้นจากฟือเรอร์บุงเคอร์ระหว่างการปิดล้อมของกองทหารรัสเซีย
ประเภท
[แก้]ท่าอากาศยาน
[แก้]ในการใช้ภาษาพูด สภาพแวดล้อมบางอย่าง คำว่า ท่าอากาศยาน (airport) และ สนามบิน (aerodrome) มักจะถูกใช้งานแทนกัน อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไป คำว่า ท่าอากาศยาน อาจหมายความถึงหรือกล่าวถึง สิ่งอำนวยความสะดวกด้านการบินบางอย่างที่สนามบินอื่นอาจไม่สามารถทำได้ ในเขตอำนาจศาลบางแห่ง ท่าอากาศยาน เป็นข้อกำหนดทางกฎหมายที่สงวนไว้เฉพาะสำหรับสนามบินที่ได้รับการรับรอง หรือได้รับอนุญาตให้เป็นท่าอากาศยานโดยสำนักงานการบินพลเรือนที่เกี่ยวข้อง หลังจากปฏิบัติตามเกณฑ์การรับรองที่ระบุหรือข้อกำหนดตามกฎระเบียบ[8]
ฐานทัพอากาศ
[แก้]ฐานทัพอากาศเป็นสนามบินที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกที่สำคัญเพื่อสนับสนุนอากาศยานและลูกเรือ โดยปกติคำนี้สงวนไว้สำหรับฐานทัพทหาร แต่ยังใช้กับฐานเครื่องบินน้ำพลเรือนด้วย
ลานบิน
[แก้]ลานบิน (airstrip) เป็นสนามบินขนาดเล็กที่ประกอบด้วยรันเวย์ ซึ่งอาจมีอุปกรณ์เติมเชื้อเพลิง[9] โดยทั่วไปจะอยู่ในสถานที่ห่างไกล เช่น ลานบินในประเทศแทนซาเนีย ลานบินหลายแห่ง (ปัจจุบันถูกทิ้งร้างส่วนใหญ่) ถูกสร้างขึ้นบนเกาะหลายร้อยแห่งในมหาสมุทรแปซิฟิกในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ลานบินบางแห่งถูกพัฒนาขึ้นจนกลายเป็นฐานทัพอากาศเต็มรูปแบบ เนื่องจากความสำคัญเชิงยุทธศาตร์หรือเศรษฐกิจของภูมิภาคนั้นเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป
พื้นที่ลงจอดขั้นสูง (advanced landing ground) เป็นลานบินชั่วคราวที่ฝ่ายสัมพันธมิตรใช้ในก่อนและระหว่างการรุกรานนอร์ม็องดี และสิ่งเหล่านี้ถูกสร้างขึ้นทั้งในอังกฤษและในแผ่นดินใหญ่ยุโรป
สนามบินน้ำ
[แก้]สนามบินน้ำ หรือฐานเครื่องบินทะเล (seaplane base) เป็นพื้นที่ของน่านน้ำเปิดที่เครื่องบินทะเล เครื่องบินทุ่นลอยน้ำ และอากาศยานสะเทินน้ำสะเทินบกใช้เป็นประจำในการบินวิ่งขึ้นและการบินร่อนลง อาจจะมีอาคารผู้โดยสารบนบกและ/หรือสถานที่ที่เครื่องบินสามารถเข้าฝั่งและเทียบท่าได้เหมือนกับเรือเรือเพื่อขนถ่ายสินค้า (เช่น สนามบินน้ำเยลโลไนฟ์) บางแห่งตั้งอยู่ร่วมกับสนามบินทางบกและเป็นสนามบินที่ได้รับการรับรองสิทธิ์ของตัวสนามบินน้ำเอง ซึ่งรวมถึงท่าอากาศยานน้ำนานาชาติแวนคูเวอร์และท่าอากาศยานนานาชาติแวนคูเวอร์ ส่วนอื่นๆ เช่น ศูนย์การบินท่าเรือแวนคูเวอร์ มีหอควบคุมของตนเอง ซึ่งก็คือ หอควบคุมท่าเรือแวนคูเวอร์
แบ่งตามประเทศ
[แก้]แคนาดา
[แก้]เอกสารแถลงข่าวการบินของแคนาดา (Canadian Aeronautical Information Manual) กล่าวว่า "...โดยส่วนใหญ่แล้ว ในแคนาดาทั้งหมดสามารถถือเป็นสนามบินได้" อย่างไรก็ตาม ยังมี "สนามบินจดทะเบียน" (registered aerodrome) และ "ท่าอากาศยานที่ได้รับการรับรอง" (certified airports) อีกด้วย ในการเป็นสนามบินจดทะเบียน ผู้ให้บริการจะต้องรักษามาตรฐานในบางข้อกำหนด และแจ้งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมทราบถึงการเปลี่ยนแปลงใด ๆ หากต้องการได้รับการรับรองให้เป็นท่าอากาศยาน สนามบินที่ต้องการจะได้รับการรับรองจะต้องรองรับการให้บริการเชิงพาณิชย์และจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัย[4] Nav Canada ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนที่รับผิดชอบด้านบริการควบคุมการจราจรทางอากาศในแคนาดา เผยแพร่เอกสารเพิ่มเติมสำหรับเที่ยวบินของแคนาดา (Canada Flight Supplement) ซึ่งเป็นไดเรกทอรีของสนามบินทางบกของแคนาดาที่จดทะเบียนทั้งหมด รวมถึงเอกสารเพิ่มเติมสำหรับสนามบินน้ำของแคนาดา (Canada Water Aerodrome Extra: CWAS)[10]
สาธารณรัฐไอร์แลนด์
[แก้]สนามบินเคสเมนท์ (Casement Aerodrome) เป็นสนามบินทหารหลักที่ใช้งานโดยกองทัพอากาศไอริช คำว่า "สนามบิน" (aerodrome) ใช้สำหรับท่าอากาศยาน (airport) และสนามบิน / ลานบิน (airfield) ที่มีความสำคัญน้อยกว่าในไอร์แลนด์ เช่น ที่แอบบีย์ชรูล แบนทรี; บีร์; อินิเชียร์; อินิชมาน; อินิชมอร์; นิวคาสเซิล เคาน์ตี้วิคโลว์; และทริม
ดูเพิ่ม
[แก้]- แอร์พาร์ค
- อัลติพอร์ต
- สนามบินเฮลิคอปเตอร์
- ท่าอากาศยานใช้งานร่วม
- ท่าอากาศยานไร้หอคอย
- ท่าอวกาศยาน
- สนามบินทางวิ่งสั้น
- ท่าอากาศยานแบบเทเบิลท็อป
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 คู่มือกองทัพอากาศ เรื่อง หลักเกณฑ์มาตรฐานสนามบินเกี่ยวกับการออกแบบสนามบินและปฏิบัติการในสนามบิน (AFM 03-014) (PDF). สำนักงานการบินกองทัพอากาศ กองทัพอากาศไทย. 2565. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2024-03-25. สืบค้นเมื่อ 2024-03-25.
- ↑ airdrome at Collins English Dictionary
- ↑ International Civil Aviation Organization (ICAO) Documents, Annex 14 to The Convention on International Civil Aviation (Chicago Convention), Volume I- Aerodrome Design and Operations under Definitions
- ↑ 4.0 4.1 Transport Canada AIM - AGA 2.0 Aerodromes and Airports เก็บถาวร พฤศจิกายน 26, 2014 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Commonwealth Consolidated Acts
- ↑ "ท่าอากาศยาน - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ". มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Compare airport, airfield and aerodrome at Google Books Ngram Viewer
- ↑ แม่แบบ:CFS
- ↑ Wragg, David W. (1974). A Dictionary of Aviation (1st American ed.). New York: Frederick Fell, Inc. p. 29. ISBN 0-85045-163-9.
- ↑ CWAS description
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]