อำเภอหนองพอก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอหนองพอก
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Nong Phok
คำขวัญ: 
หนองพอกถิ่นเมืองงาม
เรืองนามผาน้ำย้อย ใช้สอยน้ำพุใส เจดีย์ใหญ่ตระการตา โสภาสวนพฤกษศาสตร์ ธรรมชาติถ้ำภควัม อร่อยล้ำแกงอ่อมหวาย เที่ยวสบายเขื่อนวังนอง
แผนที่จังหวัดร้อยเอ็ด เน้นอำเภอหนองพอก
แผนที่จังหวัดร้อยเอ็ด เน้นอำเภอหนองพอก
พิกัด: 16°18′36″N 104°12′12″E / 16.31000°N 104.20333°E / 16.31000; 104.20333
ประเทศ ไทย
จังหวัดร้อยเอ็ด
พื้นที่
 • ทั้งหมด599.5 ตร.กม. (231.5 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด66,469 คน
 • ความหนาแน่น110.87 คน/ตร.กม. (287.2 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 45210
รหัสภูมิศาสตร์4509
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอหนองพอก หมู่ที่ 1 ตำบลหนองพอก อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด 45210
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

หนองพอก เป็นอำเภอที่ 11 ของจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นอำเภอท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดร้อยเอ็ด

ประวัติ[แก้]

อำเภอหนองพอกเดิมเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ชื่อบ้านหนองพอก ขึ้นกับตำบลกกโพธิ์ อำเภอโพนทองการที่ได้ชื่อว่า "หนองพอก" นั้นมาจากการที่หมู่บ้านนี้ตั้งอยู่ริมหนองนํ้าซึ่งมีต้นพอกใหญ่อยู่ริมหนอง ชาวบ้านจึงตั้งชื่อหมู่บ้านนี้ว่า บ้านหนองพอก

เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2508 กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศจัดตั้งกิ่งอำเภอหนองพอก โดยยกฐานะบ้านหนองพอกขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ ปลัดหัวหน้ากิ่งอำเภอหนองพอกคนแรก คือ นายสมรักษ์ สิทธิวิไล ในปี พ.ศ. 2511 ได้มีการก่อสร้างถนนหนองพอก-เลิงนกทา โดยถนนดังกล่าวเป็นความร่วมมือระหว่างทหารช่างไทยกับทหารอังกฤษ เป็นถนนสายหลักผ่านหน้าที่ว่าการอำเภอหนองพอกและเชื่อมต่อไปยังอำเภอเลิงนกทา และในวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2516 ได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะกิ่งอำเภอหนองพอกขึ้นเป็นอำเภอหนองพอก เป็นอำเภอที่ 11 ของจังหวัดร้อยเอ็ด ตั้งแต่เริ่มเป็นอำเภอจนถึงปัจจุบันมีนายอำเภอจำนวน 26 คน นายอำเภอคนปัจจุบัน คือ นายวิธรัช รามัญ

อำเภอหนองพอกถือเป็นอำเภอท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดร้อยเอ็ด เพราะมีแหล่งท่องเที่ยวเที่ยวมากมากมายและยังสามารถเที่ยวจังหวัดใกล้เคียงได้อีกด้วย เช่น วนอุทยานผานํ้าย้อย หน่วยพิทักษ์ป่าท่าสะอาด ผาหมอกมิวาย สวนพฤษศาสตร์วรรณคดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วัดผานํ้าทิพย์เทพประสิทธิ์วนาราม มหาเจดีย์ชัยมงคล นํ้าตกตาดทิพย์ นํ้าตกถํ้าโสดา และอีกมากมาย

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

อำเภอหนองพอกตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอหนองพอกแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 9 ตำบล 120 หมู่บ้าน

ตำบลของอำเภอหนองพอก
ลำดับ อักษรไทย อักษรโรมัน หมู่บ้าน ประชากร [a] [1]
1 หนองพอก Nong Phok 14 9,313
2 บึงงาม Bueng Ngam 11 5,801
3 ภูเขาทอง Phukhao Thong 17 9,712
4 กกโพธิ์ Kok Pho 12 6,485
5 โคกสว่าง Khok Sawang 10 4,881
6 หนองขุ่นใหญ่ Nong Khun Yai 13 8,276
7 รอบเมือง Rop Mueang 19 10,154
8 ผาน้ำย้อย Pha Nam Yoi 13 6,129
9 ท่าสีดา Tha Sida 11 6,198
รวม 120 66,949
  1. ข้อมูลวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่อำเภอหนองพอกประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 10 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลหนองพอก ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลหนองพอกและตำบลรอบเมือง
  • เทศบาลตำบลท่าสีดา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าสีดาทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองพอก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองพอก (นอกเขตเทศบาลตำบลหนองพอก)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบึงงาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบึงงามทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลภูเขาทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลภูเขาทองทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลกกโพธิ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกกโพธิ์ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโคกสว่าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกสว่างทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองขุ่นใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองขุ่นใหญ่ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลรอบเมือง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลรอบเมือง (นอกเขตเทศบาลตำบลหนองพอก)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลผาน้ำย้อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลผาน้ำย้อยทั้งตำบล

สถานศึกษา[แก้]

โรงเรียนมัธยมในเขตอำเภอหนองพอก[แก้]
โรงเรียนระดับประถมในเขตเทศบาลตำบลหนองพอก[แก้]
  • โรงเรียนหนองพอกพัฒนาประชานุสรณ์
  • โรงเรียนอนุบาลเมืองหนองพอก
  • โรงเรียนบัณฑิตวิทยา ฝั่งประถม(เอกชน)
  • โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลหนองพอก
  • ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลหนองพอก
  • ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลหนองพอก แห่งที่ 2
โรงเรียนเอกชนในเขตอำเภอหนองพอก[แก้]
  • วิทยาลัยเทคโนโลยีหนองพอก
  • โรงเรียนบัณฑิตวิทยา(วิทูรธรรมวิทยา)โรงเรียนเอกชนแห่งแรกของอำเภอหนองพอก
  • โรงเรียนอนุบาลจารุณี
  • โรงเรียนอนุบาลสุนันทา
  • โรงเรียนสาธิตดวงฤทัย ทัยกมลวิชชาลัย

วัดสำคัญในเขตเทศบาลตำบลหนองพอก[แก้]

  • วัดแสงอรุณผดุงสันต์
  • วัดหนองโมงบูรพาราม ศูนย์พัฒนาคุณธรรม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • วัดพรหมพิทักษ์วนาราม
  • วัดป่าติ้ว สุญญตาป่าติ้ว

งานประเพณีที่สำคัญประจำปี[แก้]

  • งานบวงสรวงเสด็จพ่อ ร.5 ประจำปี

จัดขึ้นในช่วงเดือนมกราคม จัด 7 วัน 7 คืน ภายในงานมีกิจกรรมมากมาย เช่น การประกวดเครื่องเสียง การประกวดรถแห่ การประกวดไก่สวยงาม เป็นต้น มีร้านค้ามากมายหลายร้าน สวนสนุกขนาดใหญ่ ที่สร้างสีสันในงานเป็นประจำทุกปีคือ มหรสพสมโภชตลอด 7 วันในการจัดงาน ซึ่งวันที่บวงสรวงอนุเสาวรีย์ ร.5 จะมีการแต่งกายย้อนยุคของข้าราชการ และ ประชาชน โดยในคืนนั้นจะมีรำวงย้อนยุค เป็นมหรสพสมโภช

ธนาคาร[แก้]

สถานที่สำคัญและที่ท่องเทียว[แก้]

  • สวนสาธารณะบึงหนองพอก ตั้งอยู่ถนนอินทนิล ทางไปวัดแสงอรุณผดุงสันต์ เป็นสวนสาธารณะขนาดใหญ่สำหรับประชาชน มีที่ออกกำลังกายสถานที่พักผ่อนย่อนใจบรรยากาศร่มรื่น มีศาลเจ้าปู่แสนฟ้าที่เคารพสักการะของชาวอำเภอหนองพอก และยังเป็นสถานที่จัดงานประเพณีและงานสำคัญของอำเภออีกด้วย
  • สวนรุกขชาติดงมะอี่(ป่าในเมือง)ตั้งอยู่ถนนกฐินณรงค์ ทางไปโรงเรียนหนองพอกวิทยาลัย เป็นป่าที่ตั้งอยู้ใจกลางเมือง สถานที่นั่งพักผ่อนย่อนใจของประชาชนมีเจ้าหน้าที่ดูแลความปลอดภัยของประชาชน นอกจากนี้สวนรุกขชาติดงมะอี่ยังอยู่ตรงข้ามตลาดสดเทศบาลตำบลหนองพอกอีกด้วย
  • บ่อนํ้าพุ ตั้งอยู่ที่วัดพุทธธรรมนํ้าพุ เป็นบ่อนํ้าธรรมชาติที่ชาวหนองพอกนำมาใช้สอย
  • พระมหาเจดีย์ชัยมงคล ตั้งอยู่บริเวณวัดผาน้ำทิพย์เทพประสิทธิ์วราราม ตำบลผาน้ำย้อย อำเภอหนองพอก ระยะทางจากตัวเมืองร้อยเอ็ดประมาณ80ก.ม มีลักษณะเป็นมหาเจดีย์ขนาดใหญ่ที่วิจิตรพิสดาร ใช้ศิลปกรรมร่วมสมัยระหว่างภาคกลางและภาคอีสานเป็นการผสมกันระหว่างพระปฐมเจดีย์และพระธาตุพนม ใช้งบประมาณก่อสร้างถึงปัจจุบันกว่า 3,000 ล้านบาท ดำเนินการสร้างโดย“หลวงปู่ศรี มหาวิโร” ซึ่งเป็นศิษย์พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต พระมหาเจดีย์ชัยมงคลออกแบบโดยกรมศิลปากร เป็นสีขาวตกแต่งลวดลายตระการตาด้วยสีทองเหลืองอร่าม รายล้อมด้วยเจดีย์องค์เล็กทั้ง 8 ทิศสร้าง ในเนื้อที่ 101 ไร่ กว้าง 101 เมตร ยาว 101 เมตร ความสูง 101 เมตร รวมยอดทองคำเป็น 109เมตร ใช้ทอง คำหนัก 4,750 บาท หรือประมาณ 60 กิโลกรัม ภายในองค์พระมหาเจดีย์เหมือน อยู่บนวิมานแดนสวรรค์
    • ชั้นที่ 1 เป็นห้องโถงกว้างใหญ่ โอ่อ่า ผนังจารึกนามทานาธิบดีต่าง ๆ ใช้เป็นห้องประชุม บำเพ็ญบุญ
    • ชั้นที่ 2 เป็นห้องโถงโอ่อ่าเช่นกัน ผนังติดตั้งรูปพระพุทธประวัติ ลวดลายไทยวิจิตรพิสดาร
    • ชั้นที่ 3 เป็นที่ประดิษฐานรูปพระณาจารย์ ปราชญ์ อีสานในอดีต เป็นรูปเหมือนสลักหินอ่อน และหุ่นรูปเหมือนพระสุปฏิปันโน 101 องค์
    • ชั้นที่ 4 จัดเป็นพิพิธภัณฑ์แสดงวัดวาอาราม สถานปฏิบัติสม ถะวิปัสสนา กรรมฐานที่หลวงปู่ศรี เคยบำเพ็ญธรรมมา
    • ชั้นที่ 5 บันไดเวียน 119 ชั้น เป็นห้องโถงรูประฆัง 8 เหลี่ยมบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
  • สวนพฤกษศาสตร์วรรณคดีดงมะอี่ เดิมชื่อสวนพฤกษศาสตร์วรรณคดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2530 โดยสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในวโรกาสทรงพระเจริญพระชนมพรรษา ครบ 60 พรรษา ที่บริเวณป่าสงวนแห่งชาติป่าดงมะอี่ อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด เนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 1,000 ไร่ ต่อมาในปี พ.ศ. 2535 ได้โอนให้กรมป่าไม้ ในปัจจุบันอยู่ในความรับผิดชอบของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
  • ขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำผาน้ำทิพย์ ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอหนองพอก ครอบคุมดูแลพื้นที่ประมาณ 151,242 ไร่ หรือประมาณ 242 ตารางกิโลเมตร โดยสภาพพื้นที่จะเป็นเทือกเขาหินทรายสูงชัน และสลับซับซ้อน ประกอบด้วยป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรัง ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ สัตว์ป่าที่พบในพื้นที่ป่าแห่งนี้ ได้แก่ ไก่ฟ้าพญาลอ หมูป่า สุนัขจิ้งจอก เป็นต้น จุดท่องเที่ยวที่ น่าสนใจในบริเวณเขตห้ามล่าฯ คือ ผาพยอม ซึ่งเป็นจุดที่ใช้สำหรับชมพระอาทิตย์ขึ้น และ ผาน้ำทิพย์ซึ่งเป็นจุดที่ใช้ชมพระอาทิตย์ตกดิน

นอกจากนี้ยังมีเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ 2 เส้นทาง ระยะทาง 2 กิโลเมตร และ 3 กิโลเมตร นักท่องเที่ยวสามารถเดินเองได้ บริเวณเขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำผาน้ำทิพย์ มีบริการบ้านพักและ สถานที่สำหรับกางเต็นท์ หากต้องการเข้าพักเป็นหมู่คณะ และต้องการเจ้าหน้าที่นำทางต้องทำ หนังสือติดต่อล่วงหน้า ไปยังหัวหน้าสวนพฤกษศาสตร์และวรรณคดีตะวันออกเฉียงเหนือ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าผาน้ำทิพย์ ตู้ ปณ.1 ตำบลบึงงาม อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด 45210 สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 0 9551 1782

การเดินทาง จากกรุงเทพฯ ถึงขอนแก่น ใช้ทางหลวงหมายเลข 2 จากขอนแก่น-หนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด ใช้ทางหลวงหมายเลข 2 จากอำเภอหนองพอกถึงบ้านท่าสะอาด ระยะทาง 9 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายจากบ้านท่าสะอาดถึงสำนักงานเขตห้ามล่าสัตว์ป่าผาน้ำทิพย์ 13 กิโลเมตร

  • ถํ้าโสดา สภาพ พื้นที่โดยทั่วไปของแหล่งท่องเที่ยวน้ำตกถ้ำโสดา เป็นพื้นที่ป่าเขียว และตั้งอยู่ในบริเวณที่ราบสูงที่เรียกว่าภูเขียว เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของเขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำผาน้ำทิพย์ มีหินทรายวางสลับซับซ้อน กันรวมทั้งผาหินขนาดใหญ่ บริเวณใกล้เคียงมีอ่างเก็บน้ำห้วยพุงใหญ่ ตัวแหล่งท่องเที่ยวน้ำตกถ้ำโสดามีทรัพยากรทางธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ทั้ง ทรัพยากรน้ำ ป่าไม้ สัตว์ป่าบางชนิด และที่สำคัญมีเจดีย์หินที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติโดยมีฐานที่ตั้งขนาดเล็ก มาก แต่สามารถตั้งอยู่ได้ถือเป็นความมหัศจรรย์ทางธรรมชาติ มีพระพุทธรูปศากยมุนีโคดมประดิษฐานในศาลาที่พักสงฆ์ไว้เป็นที่สักการบูชาของ นักท่องเที่ยว มีน้ำตกให้นักท่องเที่ยวได้เล่นน้ำ มีถ้ำโสดาแต่ปัจจุบันปากถ้ำถูกปิดเนื่องจากมีหินขนาดใหญ่ล่นลงมาทับปากทาง เข้าถ้ำ จึงเหมาะเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติสำหรับเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของนัก ท่องเที่ยว และยังมีสถานที่ปฏิบัติธรรมในสำนักสงฆ์เพราะเป็นสถานที่ที่เงียบสงบ มีความเป็นธรรมชาติ และบรรยากาศของตัวแหล่งท่องเที่ยวดีมาก
  • อ่างเก็บน้ำวังนอง เป็นอ่างเก็บนํ้าขนาดใหญ่ครองคลุมพื่นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์และมุกดาหาร
  • วนอุทยานผาน้ำย้อย (พุทธอุทยานอีสาน) ตั้งอยู่ที่บ้านโคกกลาง ตำบลผาน้ำย้อย อำเภอหนองพอก เป็นผาหินขนาดใหญ่ ซึ่งมีน้ำไหลตลอดปีอยู่บนภูเขาเขียวเป็นภูเขาแบ่งพรมแดนระหว่างอำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร และอำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ บนเขาลูกนี้มีวัดอยู่วัดหนึ่งสร้างในพื้นที่ 2,500 ไร่ ตามไหล่เขามีศาลาการเปรียญที่ใหญ่โตมาก มีขนาดกว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร วัดนี้มีชื่อว่า "วัดผาน้ำทิพย์เทพประสิทธิ์วนาราม"
  • อ่างเก็บน้ำห้วยพุงใหญ่ ตั้งอยู่ที่ บ้านนาคำข่า ต.บึงงาม อ.หนองพอก ถนนอ.หนองพอก-อ.เลิงนกทาเส้นทางเดียวกับทางไปเจดีย์ชัยมงคล ออกจาก อ.หนองพอกประมาณ 6-7กม.ถึงบ้านเหล่าขุมมันเลี้ยวซ้ายไป ต.ภูเขาทอง(ถึงก่อนทางขึ้นเจดีย์) ไปอีกประมาณ 8-9กม.(ผ่านบ้านหนองแข้เท่านั้น จะมีสามแยกขวามีป้ายวัดรอยพระพุทธบาทเลี้ยวเข้าไปก็เจอ ในบริเวณอ่างเก็บน้ำจะมี หาด แพ แหล่งตกปลา และการประมงอยู่เต็มบริเวณอ่าง นอกจากนั้นยังเป็นทางเชื่อมต่อไปยังน้ำตกถ้ำโสดาซึ่งมีศูนย์บริการโอท็อปไว้บริการและติดกับผาหมอกมิวาย ซึ่งมีหมอกให้เห็นตลอดทั้งปีบริเวณสันเขื่อนสามารถมองเห็นเจดีย์ชัยมงคลได้

อ้างอิง[แก้]

  1. กระทรวงสาธารณสุข (1 มกราคม 2562). "จำนวนประชากรทะเบียนราษฏร์ ย้อนหลัง 3 ปี". hdcservice.moph.go.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-08. สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)