ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาวิทยาลัยแม่โจ้"

พิกัด: 18°53′50″N 99°00′40″E / 18.897151°N 99.011117°E / 18.897151; 99.011117
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 240: บรรทัด 240:
== พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ==
== พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ==
[[พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช]] พระองค์เสด็จพระราชดำเนินมาในการ[[พิธีพระราชทานปริญญาบัตร]]ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ครั้งแรก เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2521 และได้เสด็จพระราชดำเนินในการพิธีพระราชทานปริญญาบัตรด้วยพระองค์เองเรื่อยมา แต่ในปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ [[สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี]] เสด็จแทนพระองค์ในการพระราชทานปริญญาบัตร แก่บัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิตของมหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นประจำทุกปี ดังนั้น วันพระราชทานปริญญาบัตรของทุกปี จึงจัดให้อยู่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ตามอย่างคราวรับพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งแรก ในคราวรับพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกนั้นจัดขึ้นที่อาคารแผ่พืชน์ ซึ่งในปี 2558 เป็นครั้งที่ 37 บัณฑิตรุ่นที่ 38 ปัจจุบันพิธีพระราชทานปริญญาบัตร จัด ณ [[ศูนย์กีฬากาญจนาภิเษก รัชกาลที่ 9]] [[มหาวิทยาลัยแม่โจ้]] อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ วันที่ 19 - 20 กุมภาพันธุ์ 2558
[[พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช]] พระองค์เสด็จพระราชดำเนินมาในการ[[พิธีพระราชทานปริญญาบัตร]]ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ครั้งแรก เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2521 และได้เสด็จพระราชดำเนินในการพิธีพระราชทานปริญญาบัตรด้วยพระองค์เองเรื่อยมา แต่ในปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ [[สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี]] เสด็จแทนพระองค์ในการพระราชทานปริญญาบัตร แก่บัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิตของมหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นประจำทุกปี ดังนั้น วันพระราชทานปริญญาบัตรของทุกปี จึงจัดให้อยู่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ตามอย่างคราวรับพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งแรก ในคราวรับพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกนั้นจัดขึ้นที่อาคารแผ่พืชน์ ซึ่งในปี 2558 เป็นครั้งที่ 37 บัณฑิตรุ่นที่ 38 ปัจจุบันพิธีพระราชทานปริญญาบัตร จัด ณ [[ศูนย์กีฬากาญจนาภิเษก รัชกาลที่ 9]] [[มหาวิทยาลัยแม่โจ้]] อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ วันที่ 19 - 20 กุมภาพันธุ์ 2558

== การรับน้องและระบบโซตัส ==
ปี 2554 เว็บไซต์ [http://www.cm108.com/ www.cm108.com] ได้มีการเสนอข่าวเกี่ยวกับนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้ทำการเดินขบวนประท้วงปิดมหาวิทยาลัยเนื่องจากอธิการบดีลดเวลาการรับน้องลง โดยในเว็บบอร์ดของเว็บไซต์ดังกล่าวได้มีผู้อ้างเป็นนักศึกษาและศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยแม่โจ้โพสต์ข้อความเชิงข่มขู่ต่อผู้เสนอข่าวที่เสนอเรื่องของการรับน้องของมหาวิทยาลัยแม่โจ้รวมถึงมีการขู่ฆ่าผู้นำเสนอข่าวและอธิการบดีที่ลดเวลาการรับน้องลงด้วย <ref>[http://drama-addict.com/2011/08/19/%E0%B8%82%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%83%E0%B8%88%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B9%82%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%B6%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%95/]</ref>

ปี 2558 ได้เกิดเหตุระเบิดจากการประกอบประทัดยักษ์สำหรับการรับน้องส่งผลให้นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ของได้รับบาดเจ็บสาหัสจนมือซ้ายและขาซ้ายขาด<ref>[http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9580000088389 http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9580000088389]</ref> อย่างไรก็ตามรองอธิการบดี ฝ่ายพัฒนานักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยได้ปฏิเสธในเรื่องของการใช้ระเบิดประกอบการรับน้องดังกล่าว <ref>[http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9580000088684 ม.แม่โจ้ยันพลุระเบิดไม่เกี่ยวรับน้อง นศ.ใหม่ 5 พันชีวิตวิ่งเฉลิมพระเกียรติคึกคัก(ชมคลิป)]</ref>


== บุคคลสำคัญจากมหาวิทยาลัย ==
== บุคคลสำคัญจากมหาวิทยาลัย ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:32, 8 ตุลาคม 2559

มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ไฟล์:มหาวิทยาลัยแม่โจ้ edit.png
ชื่อย่อมมจ. / MJU
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
สถาปนา11 พฤศจิกายน 2539 (มหาวิทยาลัย)
7 มิถุนายน 2477 (โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรม)
อธิการบดีจำเนียร ยศราช
อธิการบดีจำเนียร ยศราช
นายกสภาฯอำนวย ยศสุข
ที่ตั้ง
เว็บไซต์www.mju.ac.th
ไฟล์:แม่โจ้.jpg

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ตั้งอยู่ที่อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2477 โดยมีรากฐานจาก "โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมประจำภาคเหนือ" จนได้รับการเปลี่ยนสถานะเป็นมหาวิทยาลัยแม่โจ้เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐลำดับที่ 20 ในประเทศไทย

มหาวิทยาลัยแม่โจ้มีชื่อเสียงในเรื่องของการรับน้องและระบบโซตัสที่เข้มข้นรุนแรงจนเป็นที่วิพากวิจารณ์ในสังคมไทยมาจนถึงปัจจุบัน [1]

ประวัติ

ยุคโรงเรียนฝึกหัดครูกสิกรรม

มหาวิทยาลัยแม่โจ้มีการพัฒนาจาก โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมประจำภาคเหนือ ซึ่งได้รับการสถาปนาเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2477[2] ตามคำบัญชาของเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี รัฐมนตรีกระทรวงธรรมการในขณะนั้นเพื่อเป็นการขยายการศึกษาด้านการเกษตรไปยังส่วนภูมิภาคมากขึ้น ซึ่งโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมประจำภาคเหนือถือเป็นสถานศึกษาด้านการเกษตรแห่งแรกที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค โดยตั้งอยู่บนพื้นที่จำนวน 900 ไร่เศษบริเวณพื้นที่บ้านแม่โจ้ ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ควบคู่กับสถานีทดลองกสิกรรมภาคพายัพ มีพระช่วงเกษตรศิลปการเป็นอาจารย์ใหญ่คนแรกของโรงเรียน รับนักเรียนจากผู้ที่สำเร็จมัธยมปีที่ 6 หรือประกาศนียบัตรครูมูลเข้าศึกษาในหลักสูตรกำหนดเวลาเรียน 2 ปี โดยได้รับประกาศนียบัตรประโยคครูประถมกสิกรรม (ป.ป.ก.) มีนักเรียนเข้าศึกษาในปีแรกจำนวน 48 คน ซึ่งในขณะนั้นพื้นที่ของโรงเรียนเรียนมีความไม่พร้อมในการทำเกษตรกรรมเนื่องจากเป็นพื้นที่ดินทรายจึงต้องมีการปรับปรุงดินให้ใช้ในกการทำการเกษตรได้ อีกทั้งสิ่งปลูกสร้างต่างๆเช่น ห้องเรียน เรือนนอน โรงอาหารและบ้านพักครู ต้องจัดสร้างขึ้นอย่างชั่วคราวเพื่อให้ทันต่อนโยบายของกระทรวงธรรมการในการเปิดโรงเรียน ทำให้ช่วงแรกของการก่อตั้งมีความยากลำบากอย่างมาก

ต่อมาได้มีการเปลี่ยนสถานะของโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมประจำภาคเหนือเป็น โรงเรียนมัธยมวิสามัญเกษตรกรรมภาคเหนือ ในปี พ.ศ. 2479 หลังเปิดการการเรียนการสอนได้เพียง 3 รุ่น ซึ่งกระทรวงธรรมการเห็นว่าหลักสูตรประโยคครูประถมกสิกรรมที่เปิดไปมีผู้สำเร็จการศึกษาจำนวนเพียงพอและมีสถานศึกษาที่ต้องใช้ครูเกษตรจำนวนน้อย จึงเปิดหลักสูตรมัธยมวิสามัญเกษตรกรรม (มก.) ขึ้นแทนโดยรับผุ้ที่สำเร็จการศึกษาขั้นมัธยมปีที่ 4 เข้าศึกษาโดยกำหนดเวลาเรียน 4 ปี มีผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรจำนวน 4 รุ่น

ยุคโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ในปี พ.ศ. 2481 ได้มีการยุบรวมโรงเรียนมัธยมวิสามัญเกษตรกรรมในส่วนภูมิภาค ได้แก่ ภาคใต้ที่ตำบลคอหงส์ จังหวัดสงขลา ภาคกลางที่อำเภอบางกอกน้อย จังหวัดธนบุรี และภาคอีสานที่ตำบลโนนวัด จังหวัดนครราชสีมา แต่มิได้ยุบโรงเรียนมัธยมวิสามัญเกษตรกรรมภาคเหนือจากการผลักดันของพระช่วงเกษตรศิลปการ หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจและหลวงอิงคศรีกสิการ ให้มีการรักษาโรงเรียนมัธยมวิสามัญเกษตรกรรมไว้ซึ่งต่อมาได้ยกฐานะเป็น วิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สังกัดกระทรวงเกษตราธิการ โดยรับผู้ที่สำเร็จชั้นมัธยม 8 เข้าศึกษาในหลักสูตรอนุปริญญาทางเกษตรศาสตร์ สหกรณ์และวนศาสตร์เป็นเวลา 2 ปี โดยมีพระช่วงเกษตรศิลปการเป็นผู้อำนวยการคนแรก ซึ่งต่อมาได้เป็นรากฐานของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในปัจจุบัน

ในปี พ.ศ. 2482 วิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ย้ายที่ตั้งจากแม่โจ้ไปยังสถานีเกษตรกลาง อำเภอบางเขน จังหวัดพระนคร โดยในส่วนของพื้นที่แม่โจ้นั้นได้ก่อตั้งเป็น โรงเรียนเตรียมเกษตรศาสตร์ โดยรับผู้สำเร็จชั้นมัธยมปีที่ 6 เข้าศึกษาในหลักสูตร 2 ปี เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วจึงสามารถเข้าศึกษาในระดับปริญญาที่วิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่บางเขนได้โดยไม่ต้องส เมื่อวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้รับการสถาปนาเป็นมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในปี พ.ศ. 2486 โรงเรียนเตรียมเกษตรศาสตร์จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ยุคสถาบันอาชีวศึกษา

ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ประสบปัญหาจากความรุนแรงที่เกิดขึ้นในช่วงสงครามดังกล่าวทำให้มีผู้สมัคเรียนจำนวนน้อยอีกทั้งยังมีการคมนาคมที่ลำบากและห่างไกลจากกรุงเทพมหานครมาก จึงมีแนวคิดที่จะยุบโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ลงในปี พ.ศ. 2488 โดยได้มีการงดการรับนักศึกษาในปี พ.ศ. 2490 - 2491 เนื่องจากขาดงบประมาณและจำนวนผู้เรียนน้อย จนกระทั่งปี พ.ศ. 2491 กระทรวงเกษตราธิการได้โอนกิจการของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ให้กับกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ โดยเปลี่ยนสถานะเป็นสถานศึกษาในระดับอาชีวศึกษาใช้ชื่อว่า โรงเรียนเกษตรกรรมแม่โจ้ และเริ่มเปิดสอนในปี พ.ศ. 2492 โดยรับจากผู้สำเร็จชั้นมัธยมปีที่ 6 เข้าศึกษาในหลักสูตร 3 ปี เมื่อสำเร็จแล้วจะได้รับประกาศนียบัตรอาชีวชั้นสูง แผนกเกษตรกรรม และต่อมาได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น วิทยาลัยเกษตรกรรมเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2499

ยุคมหาวิทยาลัย

ในปี พ.ศ. 2518 ได้มีการเปลี่ยนสถานะของวิทยาลัยเกษตรกรรมเชียงใหม่ใหม่เป็น สถาบันเทคโนโลยีการเกษตร[3] และย้ายสังกัดจากกรมอาชีวศึกษาไปสังกัดทบวงมหาวิทยาลัยแทน โดยเปิดสอนในหลักสูตรเทคโนโลยีการเกษตรบัณฑิต (ทก.บ.) ซึ่งเป็นหลักสูตรแรกในระดับปริญญาตรี รวมถึงในระดับอนุปริญญา ประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงและประกาศนียบัตรบัณฑิต และได้เปลี่ยนชื่อสถาบันในปี พ.ศ. 2525 เป็น สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ เนื่องจากคำว่าแม่โจ้เป็นที่รู้จักของบุคคลทั่วไปมากกว่า[4]

สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ได้รับการสถานปนาเป็น มหาวิทยาลัยแม่โจ้ [5] เมื่อวัน 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 เพื่อขยายขอบเขตการให้การศึกษาและเกิดความคล่องตัวทางวิชาการและการบริหารมากขึ้น โดยปัจจุบันมีการเปิดสอนในระดับปริญญาตรีถึงปริญญาเอกโดยมีความหลากหลายในสาขาวิชานอกเหนือจากสาขาเกษตรกรรมซึ่งแม่โจ้มีความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะทางด้านการปฏิบัติมาตั้งแต่ในช่วงของการศึกษาด้านอาชีวศึกษา รวมถึงยังมีการจัดตั้งวิทยาเขตเพื่อขยายการศึกษาไปยังส่วนภูมิภาคต่างๆ โดยวิทยาเขตแรกคือมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติตั้งอยู่ที่อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ และมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพรที่อำเภอละแม จังหวัดชุมพร และวิทยาเขตล่าสุดคือมหาวิทยาลัยแม่โจ้-อุตรดิตถ์ที่อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง

สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย

ต้นไม้สัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัย คือ อินทนิล[6]

  • อินทนิล เป็นไม้ยืนต้นที่แข็งแรง อายุยาวนาน และเจริญเติบโตได้ทุกสภาพของประเทศไทย แทน ความแข็งแกร่ง อดทน ของศิษย์แม่โจ้
  • ช่ออินทนิล มีลักษณะเกาะกันเป็นกลุ่มแน่น สีสด แทน ความรัก ความสามัคคี และความกลมเกลียว
  • อินทนิลเป็นต้นไม้ที่เจริญได้ดีในทุกภาคของประเทศไทย แทน ศิษย์แม่โจ้ที่มาจากทุกหนทุกแห่ง และกระจายกันออกไปเจริญเติบโตก้าวหน้าอยู่ทั่วทุกภาค
  • ต้น เปลือก และใบ ของอินทนิล ใช้เป็นยาสมุนไพรได้ แทน คุณค่าของศิษย์แม่โจ ที่ได้สร้างประโยชน์ให้กับสังคม

รายนามอธิการบดี

โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมประจำภาคเหนือ/โรงเรียนเตรียมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์/วิทยาลัยเกษตรกรรมเชียงใหม่
คนที่ รายนามอาจารย์ใหญ่/ผู้อำนวยการ วาระการดำรงตำแหน่ง
1. อำมาตย์โท พระช่วงเกษตรศิลปการ 2477 - 2481
2. หลวงอิงคศรีกสิการ (อินทรี จันทรสถิตย์) รักษาการ ก.ค.-ต.ค.2479
3. จรัด สุนทรศิล รักษาการ 2481 - 2482
4. ศาสตราจารย์ ดร.พนม สมิตานนท์ ผู้อำนวยการ 2482 - 2484,2486-2495
5. ประเทือง ประทีปเสน 2484 - 2486
6. ไสว ชูติวัตร 2495 - 2497
สถาบันเทคโนโลยีการเกษตร
คนที่ รายนามอธิการบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
7. ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2518 - 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2522
21 กรกฎาคม พ.ศ. 2522 - 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2526
8. พันเอก ดร.อาทร ชนเห็นชอบ รักษาการ 21 กรกฎาคม - 15 สิงหาคม พ.ศ. 2522
สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้
9. ศาสตราจารย์ ดร.ยรรยง สิทธิชัย 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2526 - 4 มิถุนายน พ.ศ. 2530
10. ศาสตราจารย์ ดร.สุรพล สงวนศรี 5 มิถุนายน พ.ศ. 2530 - 30 เมษายน พ.ศ. 2532
11. รองศาสตราจารย์ ดร.อานนท์ เที่ยงตรง 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2532 - 30 เมษายน พ.ศ. 2536
1 พฤษภาคม พ.ศ. 2536 - 30 เมษายน พ.ศ. 2540
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
1 พฤษภาคม พ.ศ. 2540 - 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2541
12. ศาสตราจารย์ ดร.กำพล อดุลวิทย์ รักษาการ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2540 - 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2541
13. นายสราญ เพิ่มพูล 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 - 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2545
14. รองศาสตราจารย์ ดร.เทพ พงษ์พานิช 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 - 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2549
8 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 - 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
15. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จำเนียร ยศราช 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 - 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
1 เมษายน พ.ศ. 2558[7] - ปัจจุบัน

การจัดอันดับมหาวิทยาลัย

การจัดอันดับโดย เว็บโอเมตริกซ์ (Webometrics) ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อแสดงความตั้งใจของสถาบันต่าง ๆ ในการเผยแพร่ความรู้สู่เว็บไซต์ และเป็นความริเริ่มเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงความรู้อย่างเปิดกว้าง (Open Access) ทั่วโลก โดยบ่งบอกถึงปริมาณและคุณภาพของสิ่งตีพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ของสถาบัน เพื่อใช้ร่วมกับตัวชี้วัดอื่น ๆ ในการประเมินผลงานวิจัยของสถาบัน ซึ่งทางเว็บโอเมตริกซ์ได้จัดอันดับปีละ 2 ครั้งในเดือนมกราคม และกรกฎาคม ล่าสุดเดือนมกราคม พ.ศ. 2559 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อยู่ในอันดับที่ 2,166 ของโลก อันดับที่ 59 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันดับที่ 22 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย[8]

หน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย