มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ตราพระพิรุณทรงนาค สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย | |
ชื่อเดิม | โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมประจำภาคเหนือ |
---|---|
ชื่อย่อ | มจ.[1] / MJU |
ประเภท | สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ |
สถาปนา | 7 มิถุนายน พ.ศ. 2477 |
นายกสภาฯ | อำนวย ยศสุข |
อธิการบดี | รองศาสตราจารย์ดร.วีระพล ทองมา |
ผู้ศึกษา | 14,716 คน (ปีการศึกษา 2563)[2] |
ที่ตั้ง | มหาวิทยาลัยแม่โจ้เชียงใหม่ ถนนเชียงใหม่-พร้าว ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ สำหรับวิทยาเขตอื่น ดูในบทความ |
ต้นไม้ | อินทนิล |
สี | สีเขียว-ขาว-เหลือง |
เว็บไซต์ | www.mju.ac.th |
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (อังกฤษ: Maejo University; อักษรย่อ: มจ. – MJU) เป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ ตั้งอยู่ที่อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2477 โดยมีรากฐานจาก "โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมประจำภาคเหนือ" จนได้รับการเปลี่ยนสถานะเป็นมหาวิทยาลัยแม่โจ้เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐลำดับที่ 23 ในประเทศไทย เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 เปลี่ยนสถานภาพเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ
ประวัติ
[แก้]“ โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรม “
[แก้]มหาวิทยาลัยแม่โจ้มีการพัฒนาจาก โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมประจำภาคเหนือ ซึ่งได้รับการสถาปนาเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2477[3] ตามคำบัญชาของเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) รัฐมนตรีกระทรวงธรรมการในขณะนั้นเพื่อเป็นการขยายการศึกษาด้านการเกษตรไปยังส่วนภูมิภาคมากขึ้น ซึ่งโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมประจำภาคเหนือถือเป็นสถานศึกษาด้านการเกษตรแห่งแรกที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค โดยตั้งอยู่บนพื้นที่จำนวน 900 ไร่เศษบริเวณพื้นที่บ้านแม่โจ้ ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ควบคู่กับสถานีทดลองกสิกรรมภาคพายัพ มีพระช่วงเกษตรศิลปการ (ช่วง โลจายะ)|พระช่วงเกษตรศิลปการเป็นอาจารย์ใหญ่คนสุดท้ายของโรงเรียน รับนักเรียนจากผู้ที่สำเร็จมัธยมปีที่ 6 หรือประกาศนียบัตรครูมูลเข้าศึกษาในหลักสูตรกำหนดเวลาเรียน 2 ปี โดยได้รับประกาศนียบัตรประโยคครูประถมกสิกรรม (ป.ป.ก.) มีนักเรียนเข้าศึกษาในปีแรกจำนวน 48 คน ซึ่งในขณะนั้นพื้นที่ของโรงเรียนเรียนมีความไม่พร้อมในการทำเกษตรกรรมเนื่องจากเป็นพื้นที่ดินทรายจึงต้องมีการปรับปรุงดินให้ใช้ในกการทำการเกษตรได้ อีกทั้งสิ่งปลูกสร้างต่างๆเช่น ห้องเรียน เรือนนอน โรงอาหารและบ้านพักครู ต้องจัดสร้างขึ้นอย่างชั่วคราวเพื่อให้ทันต่อนโยบายของกระทรวงธรรมการในการเปิดโรงเรียน ทำให้ช่วงแรกของการก่อตั้งมีความยากลำบากอย่างมาก ต่อมาได้มีการเปลี่ยนสถานะของโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมประจำภาคเหนือเป็น โรงเรียนมัธยมวิสามัญเกษตรกรรมภาคเหนือ ในปี พ.ศ. 2479 หลังเปิดการการเรียนการสอนได้เพียง 3 รุ่น ซึ่งกระทรวงธรรมการเห็นว่าหลักสูตรประโยคครูประถมกสิกรรมที่เปิดไปมีผู้สำเร็จการศึกษาจำนวนเพียงพอและมีสถานศึกษาที่ต้องใช้ครูเกษตรจำนวนน้อย จึงเปิดหลักสูตรมัธยมวิสามัญเกษตรกรรม (มก.) ขึ้นแทนโดยรับผุ้ที่สำเร็จการศึกษาขั้นมัธยมปีที่ 4 เข้าศึกษาโดยกำหนดเวลาเรียน 4 ปี มีผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรจำนวน 4 รุ่น
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
[แก้]ในปี พ.ศ. 2481 ไดมีการยุบรวมโรงเรียนมัธยมวิสามัญเกษตรกรรมในส่วนภูมิภาค ได้แก่ ภาคใต้ที่ตำบลคอหงส์ จังหวัดสงขลา ภาคกลางที่อำเภอบางกอกน้อย จังหวัดธนบุรี และภาคอีสานที่ตำบลโนนวัด จังหวัดนครราชสีมา แต่มิได้ยุบโรงเรียนมัธยมวิสามัญเกษตรกรรมภาคเหนือจากการผลักดันของพระช่วงเกษตรศิลปการ (ช่วง โลจายะ) หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจและหลวงอิงคศรีกสิการ ให้มีการรักษาโรงเรียนมัธยมวิสามัญเกษตรกรรมไว้ซึ่งต่อมาได้ยกฐานะเป็น วิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สังกัดกระทรวงเกษตราธิการ โดยรับผู้ที่สำเร็จชั้นมัธยม 8 เข้าศึกษาในหลักสูตรอนุปริญญาทางเกษตรศาสตร์ สหกรณ์และวนศาสตร์เป็นเวลา 2 ปี โดยมีพระช่วงเกษตรศิลปการเป็นผู้อำนวยการคนแรก ซึ่งต่อมาได้เป็นรากฐานของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในปัจจุบัน
ในปี พ.ศ. 2482 วิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ย้ายที่ตั้งจากแม่โจ้ไปยังสถานีเกษตรกลาง อำเภอบางเขน จังหวัดพระนคร โดยในส่วนของพื้นที่แม่โจ้นั้นได้ก่อตั้งเป็น โรงเรียนเตรียมเกษตรศาสตร์ โดยรับผู้สำเร็จชั้นมัธยมปีที่ 6 เข้าศึกษาในหลักสูตร 2 ปี เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วจึงสามารถเข้าศึกษาในระดับปริญญาที่วิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่บางเขนได้โดยไม่ต้องสอบ เมื่อวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้รับการสถาปนาเป็นมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในปี พ.ศ. 2486 โรงเรียนเตรียมเกษตรศาสตร์จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สถาบันอาชีวศึกษา
[แก้]ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ประสบปัญหาจากความรุนแรงที่เกิดขึ้นในช่วงสงครามดังกล่าวทำให้มีผู้สมัคเรียนจำนวนน้อยอีกทั้งยังมีการคมนาคมที่ลำบากและห่างไกลจากกรุงเทพมหานครมาก จึงมีแนวคิดที่จะยุบโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ลงในปี พ.ศ. 2488 โดยได้มีการงดการรับนักศึกษาในปี พ.ศ. 2490 - 2491 เนื่องจากขาดงบประมาณและจำนวนผู้เรียนน้อย จนกระทั่งปี พ.ศ. 2491 กระทรวงเกษตราธิการได้โอนกิจการของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ให้กับกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ โดยเปลี่ยนสถานะเป็นสถานศึกษาในระดับอาชีวศึกษาใช้ชื่อว่า โรงเรียนเกษตรกรรมแม่โจ้ และเริ่มเปิดสอนในปี พ.ศ. 2492 โดยรับจากผู้สำเร็จชั้นมัธยมปีที่ 6 เข้าศึกษาในหลักสูตร 3 ปี เมื่อสำเร็จแล้วจะได้รับประกาศนียบัตรอาชีวชั้นสูง แผนกเกษตรกรรม และต่อมาได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น วิทยาลัยเกษตรกรรมเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2499
มหาวิทยาลัย
[แก้]ในปี พ.ศ. 2518 ได้มีการเปลี่ยนสถานะของวิทยาลัยเกษตรกรรมเชียงใหม่ใหม่เป็น สถาบันเทคโนโลยีการเกษตร[4] และย้ายสังกัดจากกรมอาชีวศึกษาไปสังกัดทบวงมหาวิทยาลัยแทน โดยเปิดสอนในหลักสูตรเทคโนโลยีการเกษตรบัณฑิต (ทก.บ.) ซึ่งเป็นหลักสูตรแรกในระดับปริญญาตรี รวมถึงในระดับอนุปริญญา ประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงและประกาศนียบัตรบัณฑิต และได้เปลี่ยนชื่อสถาบันในปี พ.ศ. 2525 เป็น สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ เนื่องจากคำว่าแม่โจ้เป็นที่รู้จักของบุคคลทั่วไปมากกว่า[5]
สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ได้รับการสถานปนาเป็น มหาวิทยาลัยแม่โจ้ [6] เมื่อวัน 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 เพื่อขยายขอบเขตการให้การศึกษาและเกิดความคล่องตัวทางวิชาการและการบริหารมากขึ้น โดยปัจจุบันมีการเปิดสอนในระดับปริญญาตรีถึงปริญญาเอกโดยมีความหลากหลายในสาขาวิชานอกเหนือจากสาขาเกษตรกรรมซึ่งแม่โจ้มีความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะทางด้านการปฏิบัติมาตั้งแต่ในช่วงของการศึกษาด้านอาชีวศึกษา รวมถึงยังมีการจัดตั้งวิทยาเขตเพื่อขยายการศึกษาไปยังส่วนภูมิภาคต่างๆ โดยวิทยาเขตแรกคือมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติตั้งอยู่ที่อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ และมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพรที่อำเภอละแม จังหวัดชุมพร
มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ
[แก้]มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พ.ศ. 2539 เปลี่ยนสถานะจากมหาวิทยาลัยของรัฐเป็น มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ภายในการกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงศึกษาธิการ โดยไม่สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พ.ศ. 2560 ซึ่งประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา ในวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2560 และมีผลบังคับใช้ 30 วันนับจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไปคือให้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย
[แก้]ต้นไม้สัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัย คือ อินทนิล[7]
- อินทนิล เป็นไม้ยืนต้นที่แข็งแรง อายุยาวนาน และเจริญเติบโตได้ทุกสภาพของประเทศไทย แทน ความแข็งแกร่ง อดทน ของศิษย์แม่โจ้
- ช่ออินทนิล มีลักษณะเกาะกันเป็นกลุ่มแน่น สีสด แทน ความรัก ความสามัคคี และความกลมเกลียว
- อินทนิลเป็นต้นไม้ที่เจริญได้ดีในทุกภาคของประเทศไทย แทน ศิษย์แม่โจ้ที่มาจากทุกหนทุกแห่ง และกระจายกันออกไปเจริญเติบโตก้าวหน้าอยู่ทั่วทุกภาค
- ต้น เปลือก และใบ ของอินทนิล ใช้เป็นยาสมุนไพรได้ แทน คุณค่าของศิษย์แม่โจ ที่ได้สร้างประโยชน์ให้กับสังคม
รายนามอธิการบดี
[แก้]โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมประจำภาคเหนือ/ โรงเรียนเตรียมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์/ วิทยาลัยเกษตรกรรมเชียงใหม่ | ||
---|---|---|
คนที่ | รายนามอาจารย์ใหญ่/ผู้อำนวยการ | วาระการดำรงตำแหน่ง |
1. | อำมาตย์โท พระช่วงเกษตรศิลปการ | 2477 - 2481 |
2. | หลวงอิงคศรีกสิการ (อินทรี จันทรสถิตย์) | รักษาการ ก.ค.-ต.ค.2479 |
3. | จรัด สุนทรศิล | รักษาการ 2481 - 2482 |
4. | ศาสตราจารย์ ดร.พนม สมิตานนท์ | ผู้อำนวยการ 2482 - 2484,2486-2495 |
5. | ประเทือง ประทีปเสน | 2484 - 2486 |
6. | ไสว ชูติวัตร | 2495 - 2497 |
สถาบันเทคโนโลยีการเกษตร | ||
คนที่ | รายนามอธิการบดี | วาระการดำรงตำแหน่ง |
7. | ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย | 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2518 - 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2522 |
21 กรกฎาคม พ.ศ. 2522 - 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2526 | ||
8. | พันเอก ดร.อาทร ชนเห็นชอบ | รักษาการ 21 กรกฎาคม - 15 สิงหาคม พ.ศ. 2522 |
สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ | ||
9. | ศาสตราจารย์ ดร.ยรรยง สิทธิชัย | 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2526 - 4 มิถุนายน พ.ศ. 2530 |
10. | ศาสตราจารย์ ดร.สุรพล สงวนศรี | 5 มิถุนายน พ.ศ. 2530 - 30 เมษายน พ.ศ. 2532 |
11. | รองศาสตราจารย์ ดร.อานนท์ เที่ยงตรง | 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2532 - 30 เมษายน พ.ศ. 2536 |
1 พฤษภาคม พ.ศ. 2536 - 30 เมษายน พ.ศ. 2540 | ||
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ | ||
1 พฤษภาคม พ.ศ. 2540 - 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 | ||
12. | ศาสตราจารย์ ดร.กำพล อดุลวิทย์ | 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2540 - 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 (รักษาราชการแทน) |
13. | นายสราญ เพิ่มพูล | 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 - 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 |
14. | รองศาสตราจารย์ ดร.เทพ พงษ์พานิช | 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 - 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 |
8 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 - 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 | ||
15. | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จำเนียร ยศราช | 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 - 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 |
1 เมษายน พ.ศ. 2558[8] - 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 | ||
16. | รองศาสตราจารย์ ดร.วีรพล ทองมา | 1 เมษายน พ.ศ. 2562 - 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 (รักษาราชการแทน) |
27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563[9] - ปัจจุบัน |
การจัดอันดับและมาตรฐานของมหาวิทยาลัย
[แก้]การจัดอันดับโดย Webometrics Ranking of World University
การจัดอันดับโดย เว็บโอเมตริกซ์ (Webometrics) ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อแสดงความตั้งใจของสถาบันต่าง ๆ ในการเผยแพร่ความรู้สู่เว็บไซต์ และเป็นความริเริ่มเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงความรู้อย่างเปิดกว้าง (Open Access) ทั่วโลก โดยบ่งบอกถึงปริมาณและคุณภาพของสิ่งตีพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ของสถาบัน เพื่อใช้ร่วมกับตัวชี้วัดอื่น ๆ ในการประเมินผลงานวิจัยของสถาบัน ซึ่งทางเว็บโอเมตริกซ์ได้จัดอันดับปีละ 2 ครั้งในเดือนมกราคม และกรกฎาคม ล่าสุดเดือนมกราคม พ.ศ. 2564 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อยู่ในอันดับที่ 2,875 ของโลก อันดับที่ 97 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันดับที่ 23 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย[10]
การจัดอันดับโดย UI Green Metric World University Ranking
เป็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียวที่จัดโดยมหาวิทยาลัยอินโดนีเซีย ประเทศอินโดนีเซีย เพื่อสนับสนุนการเป็นมหาวิทยาลัยยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมทั่วโลก มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวอันดับ 9 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย และเป็นอันดับที่ 121 ของโลกในปี 2664[11]
การจัดอันดับโดย SDG Impact Ranking the Times Higher Education Impact Rankings (Impact Rankings)
เป็นการจัดอันดับสถาบันอุดมศึกษาทั่วโลกที่มีการดำเนินงานเพื่อสนับสนุน เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของ องค์การสหประชาชาติ (United Nations-UN) โดยมีเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน มี 17 เป้าหมาย มีตัวชี้วัดที่กำหนดขึ้นมา ทั้งหมด 4 ด้าน ได้แก่
• Research : มีการทำวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้ง 17 ด้าน
• Stewardship: มีการดูแลรับผิดชอบทรัพยากรของสถาบัน
• Outreach : มีการทำงานร่วมกับหน่วยงานระดับ ท้องถิ่น ภูมิภาค ชาติและนานาชาติ
• Teaching : การสอนมีบทบาทสำคัญในการผลิตบุคลากรที่มีทักษะและเชี่ยวชาญในส่งเสริมให้เป้าหมายทั้ง 17 เป้าหมายของสหประชาชาติประสบความสำเร็จ และเพื่อให้แน่ใจว่าบัณฑิตของสถาบันนำสิ่งที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับความยั่งยืนไปประยุกต์ใช้ในอาชีพการงานของตน
โดยมหาวิทยาลัยแม่โจ้อยู่ในอันดับที่ 5 ของประเทศไทย อันดับที่ 301-400 ของโลก [12]
การจัดอันดับโดย SCD Ranking Sustainable Community Development University Rankings (SCDUR)
การจัดอันดับมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน (SCDUR) จัดขึ้นโดยมูลนิธิเพื่อการส่งเสริมกระทรวงมหาวิทยาลัย (UFPMUA) ประเทศไทย เกณฑ์การให้คะแนน จะดูจากการดำนเนินงานของมหาวิทยาลัย ที่ ครอบคลุม 7 ด้าน ได้แก่
· นโยบายการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน
· หลักสูตรศึกษา-สอนเกี่ยวกับการพัฒนาชุมชนอย่าง
· บริการวิชาการเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน
· การหล่อเลี้ยงวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน
· การวิจัยการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน
· ศิษย์เก่าที่ทำงานในชุมชนเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน
· รางวัลด้านการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน
ซึ่งทางมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในอันดับที่ 2 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย
การจัดอันดับโดย 4 International Colleges & Universities
การจัดอันดับเว็บไซต์มหาวิทยาลัยโดยระบบ 4 International Colleges & Universities (4icu.org) ซึ่งเป็นหน่วยงานอิสระ มีสำนักงานอยู่ที่ประเทศออสเตรเลีย ดำเนินการจัดอันดับความนิยมเว็บไซต์ ของมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยต่าง ๆ ในประเทศและทั่วโลกมาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2005 โดยรายงาน ผลปีละ 2 ครั้ง คือ เดือนมกราคมและเดือนกรกฎาคม มีจุดมุ่งหมายเพื่อจัดอันดับความนิยมของมหาวิทยาลัย และวิทยาลัยนานาชาติ บนพื้นฐานของความนิยมในการเข้าติดตามชมเว็บไซต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่จะเป็น เว็บไซต์ที่ช่วยให้นักศึกษานานาชาติได้เข้าใจเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยนานาชาติมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ การที่เว็บไซต์ที่มีข้อมูลถูกต้อง ครบถ้วน และมีการ Update ข้อมูลข่าวสารที่สม่าเสมอจะถูกนำมาใช้ในการ พิจารณาจัดอันดับอีกด้วย ล่าสุดปี 2564 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อยู่ในอันดับที่ 3,799 ของโลก อันดับที่ 28 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย [13]
การจัดอันดับโดย SCIMAGO SCImago Institutions Ranking
การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดย SCIMAGO เป็นการจัดอันดับสถาบันที่มีผลงานวิจัยในระดับนานาชาติ ในด้านของความสามารถในการเผยแพร่ผลงานวิชาการทุกประเภท (หรือมหาวิทยาลัยบนฐานข้อมูล Scopus) การจัดอันดับนั้นสามารถดูได้ทั้งแบบในภาพรวม หรือเลือกดูเฉพาะกลุ่ม ซึ่งการเลือกดูเฉพาะกลุ่ม จะแยกเป็นประเภทสาขาวิชา ซึ่งแบ่งเป็น 19 กลุ่ม เช่น Agricultural and biological sciences และ Computer science ในปี พ.ศ. 2566 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้รับการจัดอันดับ ดังนี้
- Overall Rank อับดับที่ 9 ของมหาวิทยาลัยไทย
- Research Rank อับดับที่ 10 ของมหาวิทยาลัยไทย
- Innovation Rank อับดับที่ 7 ของมหาวิทยาลัยไทย [14]
การจัดอันดับ UPM (University Performance Metric)
การจัดอันดับ UPM (University Performance Metric) เป็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัยด้วยการวัดระดับประสิทธิภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการตอบสนองของมหาวิทยาลัยในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0 ซึ่งเป็นยุคของการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำ 100 อันดับแรกของเอเชีย โดยมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้รับ 658 คะแนน อยู่ในลำดับที่ 5 ของประเทศไทย อันดับที่ 16 ของเอเชีย [15]
การจัดอันดับโดย U-MultiRank
การจัดอันดับเชิงเปรียบเทียบสถาบันการศึกษาในหลากหลายมิติ ดำเนินการโดยนักวิชาการจากสถาบันการศึกษาต่างๆ ในทวีปยุโรป ซึ่งจะประเมินมหาวิทยาลัยผ่านเกณฑ์ในการพิจารณา 5 ด้าน คือ
· ด้านการสอนและการเรียนรู้ (Teaching and Learning)
· ด้านการวิจัย (Research)
· ด้านการถ่ายทอดความรู้ (Knowledge Transfer)
· ด้านความเป็นนานาชาติ (International Orientation)
· ด้านการมีส่วนร่วมในภูมิภาค (Regional Engagement)
โดยการจัดอันดับประจำปี ค.ศ. 2021 มหาวิทยาลัยแม่โจ้อยู่ในอันดับที่ 28 ของประเทศไทย และอยู่ในอันดับที่ 3,799 ของโลก [16]
การจัดอันดับโดย URAP University Ranking by Academic Performance เป็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก มีวัตถุประสงค์หลักคือ ต้องการที่จะพัฒนาระบบการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก โดยมีพื้นฐานทางด้านวิชาการตรงตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คุณภาพและปริมาณของบทความตีพิมพ์ทางวิชาการ บทความวิจัย การเผยแพร่ และการอ้างอิง เป็นต้น โดยเริ่มทำการเผยแพร่งานวิจัยผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยตั้งแต่ปี 2010 เป็นต้นมา โดยมหาวิทยาลัยแม่โจ้อยู่ในอันดับที่ 21 ของประเทศไทย และอันดับที่ 2,822 ของโลก
การจัดอันดับโดย Nature Index (Thailand) เป็นการจัดอันดับตัวชี้วัดคุณภาพงานวิจัย โดยจัดอันดับประเทศและสถาบัน ด้วยการพิจารณาการตีพิมพ์บทความวิจัย ในวารสารที่มีผลกระทบสูงและเป็นที่ยอมรับของแต่ละสาขาในเครือ Nature Research ซึ่งแบ่งเป็น 4 สาขาวิชา
• วิทยาศาสตร์กายภาพ (Physical Sciences)
• วิทยาศาสตร์ชีวภาพ (Life Sciences)
• เคมี (Chemistry)
• วิทยาศาสตร์โลกและสิ่งแวดล้อม (Earth & Environmental Sciences)
สถาบันที่จัด | อันดับในประเทศ / อันดับโลก |
---|---|
Green University | 9/121 |
SDG Impact Ranking | 5/301-400 |
Webometrics | 23/2,875 |
SCD Ranking | 2 |
UPM (University Performance Metric | 5/16(Asean) |
U-Multirank | 28/3,799 |
SCIMAGO | Overall Rank 9/5,115
Research Rank 7/5,057 Innovation Rank 7/4,224 |
Nature Index (Thailand) | All Sector 25/Earth & Envi.8 |
URAP | 21/2,882 |
หน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย
[แก้]
กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ[แก้]
|
กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี[แก้]
|
กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์[แก้]
|
สำนักงานมหาวิทยาลัย[แก้]
|
หน่วยงานแบบวิสาหกิจ[แก้]
|
วิทยาเขต
[แก้]มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตั้งอยู่บนถนนเชียงใหม่-พร้าว ในพื้นที่ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ โดยห่างจากตัวเมืองจังหวัดเชียงใหม่ 10 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 12,879 ไร่ อยู่ใน 3 จังหวัด คือ
- มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ที่ 4 ถนนเชียงใหม่ - พร้าว ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
- มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ เลขที่ 17 หมู่ 3 ถนนยันตรกิจโกศล ตำบลแม่ทราย อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่
- มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เลขที่ 99 หมู่ที่ 5 ตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร
พิธีพระราชทานปริญญาบัตร
[แก้]พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระองค์เสด็จพระราชดำเนินมาในการพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ครั้งแรก เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2521 และได้เสด็จพระราชดำเนินในการพิธีพระราชทานปริญญาบัตรด้วยพระองค์เองเรื่อยมา แต่ในปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารีเสด็จแทนพระองค์ในการพระราชทานปริญญาบัตร แก่บัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิตของมหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นประจำทุกปี ดังนั้น วันพระราชทานปริญญาบัตรของทุกปี จึงจัดให้อยู่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ตามอย่างคราวรับพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งแรก ในคราวรับพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกนั้นจัดขึ้นที่อาคารแผ่พืชน์ ซึ่งในปี 2558 เป็นครั้งที่ 37 บัณฑิตรุ่นที่ 38 ปัจจุบันพิธีพระราชทานปริญญาบัตร จัด ณ ศูนย์กีฬากาญจนาภิเษก รัชกาลที่ 9 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ วันที่ 19 - 20 กุมภาพันธุ์ 2558
บุคคลสำคัญจากมหาวิทยาลัย
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ การกำหนดรหัสตัวพยัญชนะประจำกระทรวงและเลขที่หนังสือออกของ กระทรวงการอดุมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม[ลิงก์เสีย] สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2564
- ↑ จำนวนนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่เก ปีการศึกษา 2563 สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2563
- ↑ "ประวัติความเป็นมาของมหาวิทยาลัยแม่โจ้จากอดีตจนถึงปัจจุบัน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-11-07.
- ↑ พระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีการเกษตร พ.ศ. ๒๕๑๘
- ↑ พระราชบัญญัติเปลี่ยนชื่อสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรเป็นสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ พ.ศ. ๒๕๒๕
- ↑ พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พ.ศ. ๒๕๓๙
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-05. สืบค้นเมื่อ 2007-09-07.
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ (นายจำเนียร ยศราช)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ (นายวีระพล ทองมา)
- ↑ [http://www.webometrics.info/en/Asia_Pacifico/South%20East%20Asia
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-12. สืบค้นเมื่อ 2021-03-10.
- ↑ https://www.timeshighereducation.com/rankings/impact/2022/overall#!/page/0/length/25/locations/THA/sort_by/rank/sort_order/asc/cols/undefined
- ↑ http://www.4icu.org/reviews/4489.htm
- ↑ "University Rankings - Thailand 2023". www.scimagoir.com.
- ↑ "University Performance Metrics". University Performance Metrics (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ https://www.umultirank.org/compare?trackType=compare&sightMode=undefined§ion=compareRanking&mode=likewithlike&instutionalField=true&pref-4=1&pref-4=2&name=null&country=77&co&valueLetterMode=showLetters&sortOrder=desc&sortCol=overallPerformance