ข้ามไปเนื้อหา

ผัดผักบุ้ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ผัดผักบุ้ง
มื้อเครื่องเคียง
ภูมิภาคเอเชียตะวันออก: ตอนใต้ของจีน
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้: กัมพูชา, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, พม่า, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์, ไทย, เวียดนาม
เอเชียใต้: ศรีลังกา, บังกลาเทศ และอินเดียตะวันออก
อุณหภูมิเสิร์ฟร้อน
ส่วนผสมหลักผักบุ้ง
พลังงาน
(ต่อ 1 จาน หน่วยบริโภค)
533 กิโลแคลอรี (2232 กิโลจูล)[1]
โปรตีน11.1 กรัม
ไขมัน41.6 กรัม
คาร์โบไฮเดรต31.1 กรัม

ผัดผักบุ้ง บ้างเรียก ผัดผักบุ้งไฟแดง เป็นอาหารประเภทผัดชนิดหนึ่ง มีวัตถุดิบหลักคือผักบุ้ง ซึ่งเป็นผักน้ำที่พบได้ทั่วไป นำไปผัดเข้ากับเครื่องเทศ เนื้อสัตว์ หรือผักชนิดอื่น ๆ พบได้ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียใต้ เช่น พบได้ในอาหารเสฉวน อาหารกวางตุ้ง ในประเทศจีน[2] อาหารอินโดนีเซีย[3] อาหารพม่า[4] อาหารเขมร อาหารฟิลิปปินส์ อาหารมาเลเซีย อาหารสิงคโปร์ อาหารเวียดนาม อาหารไทย ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาหารศรีลังกา อาหารเบงกอล และอินเดียตะวันออก ในเอเชียใต้[5]

วัตถุดิบ

[แก้]

ผัดผักบุ้ง มีวัตถุดิบหลักคือ ผักบุ้ง ซึ่งเป็นผักน้ำที่พบได้ทั่วไป มีราคาถูก และเจริญเติบโตได้ในแหล่งน้ำ จึงเป็นที่นิยมมากในเอเชีย กรรมวิธีการทำผัดผักบุ้งนั้นไม่ยุ่งยาก คือ นำกระเทียมไปผัดกับน้ำมันในกระทะให้หอม จากนั้นใส่ผักบุ้งหั่นที่ผ่านการล้างจนสะอาดอย่างดีลงไปผัด ปรุงรสด้วยซีอิ๊ว ซอสหอยนางรม เต้าเจี้ยว น้ำตาล หรือพริก ตามชอบ โดยใช้ไฟแรงให้ซอสปรุงรสเข้าไปในผักบุ้ง เมื่อผัดเข้ากันได้ที่แล้วก็ลงจานพร้อมเสิร์ฟ[6] บางแห่งอาจใส่กุ้งหรือเต้าหู้เพิ่มลงไป ส่วนผัดผักบุ้งของพม่าจะมีวัตถุดิบที่แตกต่างออกไปเล็กน้อย โดยจะผัดผักบุ้งไปพร้อมกับเห็ดหอมหั่นเต๋า กระเทียม หัวหอม และพริกสด แล้วปรุงรสด้วยซอสหอยนางรม น้ำสต๊อกไก่ น้ำมันงา และเกลือ[4][7] และในประเทศมาเลเซีย ประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศอินโดนีเซีย จะนิยมผัดผักบุ้งกับกะปิ[8][9][10] ในประเทศฟิลิปปินส์สามารถใช้บากุงอิซดา (ปลาร้าฟิลิปปินส์) หรือ ปาติซ (น้ำปลาฟิลิปปินส์) แทนกะปิได้ โดยจะรับประทานเคียงกับหมูสามชั้นทอด[11]

แต่ละท้องที่จะใช้วัตถุดิบสำหรับปรุงรสที่ต่างกันออกไป อย่างเช่น ในประเทศเวียดนาม จะนิยมปรุงรสด้วยน้ำปลาหรือซอสหอยนางรมเป็นหลัก ส่วนประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซียจะนิยมใช้กะปิแทน[3] ขณะที่ประเทศฟิลิปปินส์จะนิยมใช้น้ำส้มสายชูหมักแบบเดียวกับอาโดโบ และเกาะชวาของประเทศอินโดนีเซียจะใช้เต้าเจี้ยวเป็นหลัก[12]

ระเบียงภาพ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "พลังงานและสารอาหารจาก ผัด, ผักบุ้งไฟแดง". CalForLife.com. สืบค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2566. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "Cantonese Style Water Spinach Stir-fry". Yi Reservation.
  3. 3.0 3.1 Anita (2 October 2019). "Kangkung Tumis Terasi". Daily Cooking Quest.
  4. 4.0 4.1 "မှိုကန်စွန်းခရုဆီကြော် (Morning Glory with Straw Mushroom in Ouster Sauce)". Taste Window Magazine (ภาษาพม่า). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-12-10. สืบค้นเมื่อ 2022-04-21.
  5. "Water spinach and coconut stir-fry (kankun mallung)". SBS Food. 23 July 2013.
  6. "สูตรทำ ผัดผักบุ้งไฟแดง กรอบอร่อย เหมือนร้านข้าวต้ม เมนูง่ายๆ แต่อร่อยมาก!". ทรูไอดี. 18 กุมภาพันธ์ 2564. สืบค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2566. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. "မှိုကန်စွန်းရွက်ကြော်ပူပူလေး ကြော်စားရအောင်". MyFood Myanmar (ภาษาพม่า). 2018-07-14. สืบค้นเมื่อ 2022-04-21.
  8. "Kangkung Belacan". Malaysian Food.
  9. "Kangkong with Bagoong". Ang Sarap. 26 July 2013. สืบค้นเมื่อ 21 April 2019.
  10. "Binagoongang Kangkong". Pinoy Hapagkainan. สืบค้นเมื่อ 21 April 2019.
  11. Oh, Sam (21 June 2013). "#SamLikesItHot: Kangkong bagoong with lechon kawali". Rappler. สืบค้นเมื่อ 21 April 2019.
  12. Media, Kompas Cyber (2021-01-30). "Resep Tumis Kangkung Tauco, Masak Sayur ala Restoran". KOMPAS.com (ภาษาอินโดนีเซีย). สืบค้นเมื่อ 2021-03-04.