สัพแหยก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สัพแหยก
มื้ออาหารหลัก, อาหารว่าง
แหล่งกำเนิดประเทศไทย
อุณหภูมิเสิร์ฟอุณหภูมิห้อง
ส่วนผสมหลักเนื้อบด, พริกชี้ฟ้าแดง, กระเทียม, หอมแดง, ยี่หร่า, ลูกผักชี, มันฝรั่ง, น้ำตาล, น้ำปลา, น้ำส้มสายชู

สัพแหยก [สับ-พะ-แหฺยก][1] หรือ สัพแหยะ เป็นอาหารไทยชนิดหนึ่งซึ่งได้รับอิทธิพลจากโปรตุเกส พบได้ที่ชุมชนกุฎีจีน กรุงเทพมหานคร[2] เป็นอาหารคาว[3] ทำจากเนื้อสัตว์สับละเอียด ผัดกับเครื่องเทศ ปรุงรสด้วยน้ำส้มสายชู น้ำตาล และน้ำปลา รสชาติคล้ายไส้กะหรี่ปั๊บ[4] สามารถรับประทานเป็นอาหารหลักคู่กับข้าวสวย หรือรับประทานเป็นของว่างคู่กับขนมปังก็ได้[1]

ประวัติ[แก้]

ชุมชนกุฎีจีนเป็นชุมชนของชาวไทยเชื้อสายโปรตุเกสที่อพยพจากกรุงศรีอยุธยาหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้พระราชทานที่ดินแก่ลูกหลานชาวโปรตุเกสกลุ่มดังกล่าว มีศูนย์กลางที่โบสถ์ซางตาครู้ส ซึ่งได้ตกทอดสำรับอาหารไทย-โปรตุเกสมาจนถึงปัจจุบัน หนึ่งในนั้นคือสัพแหยก[5] นาวินี พงศ์ไทย (สกุลเดิม ทรรทรานนท์) ซึ่งเป็นชาวชุมชนกุฎีจีน สันนิษฐานว่าอาจเป็นอาหารที่ได้รับอิทธิพลจากเมืองกัว ประเทศอินเดีย ซึ่งอดีตเคยเป็นเมืองท่าของจักรวรรดิโปรตุเกสมาก่อน[6]

ชื่อ "สัพแหยก" บ้างว่ามาจากคำว่า subject ในภาษาอังกฤษแปลว่า "คนในบังคับ"[4] บ้างว่าเป็นคำโปรตุเกสว่า สับเช่[2] ที่แปลว่าการสับ[1][4]

สัพแหยกทำจากเนื้อวัวสับละเอียด (ปัจจุบันอาจใช้เป็นเนื้อหมูหรือเนื้อไก่แทน) ผัดกับพริกแกงที่ทำจากพริกชี้ฟ้าแดง เกลือสมุทร กระเทียมจีน หอมแดง ยี่หร่า ลูกผักชี และผงขมิ้น ผัดด้วยไฟกลาง ปรุงรสด้วยน้ำส้มสายชู น้ำปลา และน้ำตาลทราย ให้ได้รสเปรี้ยวนำ เค็มและหวานตาม หลังจากนั้นจึงใส่มันฝรั่งต้มสุกหั่นเต๋าผัดเข้าด้วยกัน ผัดจนงวดไม่แฉะมากเป็นอันเสร็จ[7]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 ณัฐณิชา ทวีมาก (9 สิงหาคม 2562). "'สัพแหยก' อาหารเก๋แห่งกุฎีจีน อร่อยจนต้องทำเอง!". ครัว. สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  2. 2.0 2.1 "อาหารสยาม – โปรตุเกส เมนูหาทานยากจาก ร้านบ้านสกุลทอง – กุฎีจีน". Kitchen Magazine. 8 พฤศจิกายน 2560. สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. กนกวรรณ เจริญผล (24 เมษายน 2562). "พาชิม "สัพแหยก-กุ้งกระจกม้วน" อาหารชาววัง ราคาสบายกระเป๋า ณ บ้านสกุลทอง". เส้นทางเศรษฐีออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. 4.0 4.1 4.2 ปิ่นอนงค์ ปานชื่น (27 มกราคม 2560). "เปิดสำรับโปรตุเกส-ไทย บ้านสกุลทอง". กรุงเทพธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. "สำรับอาหาร โปรตุเกส-ไทย ต้นตำรับความอร่อยจากกรุงศรีอยุธยา". Bag in Design. 7 กันยายน 2560. สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. พุทธิพร ณ ศรี และอภิชยา ชัยชิตามร (18 มกราคม 2566). "เล่าประวัติศาสตร์อาหาร ผ่านรสชาติที่คุ้นเคย". The Urbanis. สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2566. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. ณัฐณิชา ทวีมาก (9 สิงหาคม 2562). "สัพแหยก". ครัว. สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]