แกงสิงหล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แกงสิงหล
มื้ออาหารหลัก
แหล่งกำเนิดประเทศไทย
ผู้สร้างสรรค์ชาวไทยเชื้อสายลังกา[1][2][3][4]
อุณหภูมิเสิร์ฟร้อน
ส่วนผสมหลักเนื้อหมู (หรือไก่), พริกแกง, กะทิ, น้ำปลา, น้ำตาลมะพร้าว, มะขามเปียก, ใบเตย, ผักชีลาว

แกงสิงหล เป็นแกงไทยโบราณชนิดหนึ่ง มีการใช้เครื่องแกงอย่างแขกแต่ผสมผสานการใช้สมุนไพรของไทยเพิ่มเข้าไป สันนิษฐานว่าแพร่หลายมาจากชาวสิงหลที่อพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เดิมแกงสิงหลจะใช้เครื่องแกงอย่างแขกซึ่งใช้เครื่องเทศจำนวนมากเพื่อดับกลิ่นสาบของเนื้อแกะและแพะซึ่งชาวเอเชียใต้นิยมบริโภค แต่ด้วยราคาเครื่องเทศนำเข้าซึ่งมีราคาสูง มีกลิ่นรสแรง อีกทั้งชาวสยามเองก็ไม่นิยมบริโภคเนื้อแกะเนื้อแพะ ชาวสยามจึงคิดดัดแปลงเนื้อสัตว์ที่ใช้มาเป็นเนื้อหมู เนื้อไก่ หรือเนื้อวัวแทน รวมทั้งตัดทอนเครื่องเทศบางอย่างออก แล้วเพิ่มสมุนไพรไทยเข้าไปแทนที่[1][2] น้ำแกงมีสีออกแดง มีน้ำมันลอย[4] มีรสชาติเปรี้ยว เค็ม หวาน[3] มีกลิ่นหอมจากใบเตย และผักชีลาว[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 อาสา คำภา (2565). รสไทย(ไม่)แท้: ถอดรูปทิพย์อาหารไทยในสนามการเมืองวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: มติชน. p. 284.
  2. 2.0 2.1 "จากก้นครัวไทยไปสู่ครัวโลก". ไทยรัฐออนไลน์. 26 มีนาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 8 มกราคม 2567. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. 3.0 3.1 "แกงสิงหล เมนูน่าสนของชนศรีลังกา". Daily News Thailand. 19 มีนาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 8 มกราคม 2567. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. 4.0 4.1 4.2 "แกงสิงหลหมู เมนูพิเศษจากเชฟเอียน-พงษ์ธวัช เฉลิมกิตติชัย". Gourmet & Cuisine. 8 สิงหาคม 2566. สืบค้นเมื่อ 8 มกราคม 2567. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)