แกงรัญจวน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แกงรัญจวน
แกงรัญจวน
ประเภทแกง
มื้ออาหารจานหลัก
แหล่งกำเนิดไทย
ส่วนผสมหลักเนื้อสัตว์ (เช่น เนื้อวัวหรือเนื้อหมู) น้ำพริกกะปิ ใบโหระพา

แกงรัญจวน เป็นอาหารไทยประเภทแกงที่มีการใส่น้ำพริกกะปิใส่เนื้อสัตว์เช่นเนื้อวัวหรือเนื้อหมู สูตรดั้งเดิมใช้เนื้อวัวติดเอ็น[1] เคี่ยวกับสมุนไพรอย่างตะไคร้ หอมแดง ใบมะกรูด ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำตาลมะพร้าว และน้ำมะนาว[2] ใส่ใบโหระพาลงไป ตามด้วยพริกชี้ฟ้าแดงแต่งชาม[3]

แกงรัญจวนเป็นอาหารชาววังโบราณ ผู้คิดค้นสูตรและชื่อคือหม่อมเจ้าหญิงแย้มเยื้อน สิงหรา ที่มามาจากในสมัยก่อนเจ้านายพระองค์ต่าง ๆ มักจะเสวยอาหารอย่างละนิดละหน่อยเท่านั้น ทำให้กับข้าวซึ่งส่วนมากจะเป็นเนื้อหลงเหลืออยู่เยอะ ฝ่ายห้องครัวจึงนำเนื้อที่เหลือจากสำรับเสวยมาปรุงรสเป็นแกงรัญจวน[4] ส่วนชื่อ "รัญจวน" ในหนังสือ ตำรากับข้าวในวัง (พิมพ์ พ.ศ. 2549) ของหม่อมหลวงเนื่อง นิลรัตน์ เล่าว่า "กินแล้วก็หวนหา ต้องกลับมาทำกินใหม่" โดยสูตรในตำราอาหารเล่มนี้เริ่มต้มเนื้อสดกับหอมแดง กระเทียม ไม่ได้เริ่มจากการคัดเนื้อที่เหลือเหมือนสูตรของหม่อมเจ้าหญิงแย้มเยื้อน[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. สุทัศน์ ศุกลรัตนเมธี. "ตู้กับข้าว". แนวหน้า.
  2. เชฟน่าน. "เข้าครัวทำ 'แกงรัญจวน'". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-01-04. สืบค้นเมื่อ 2023-01-04.
  3. หมูหวานชวนชิม. "'แกงรัญจวน' อาหาร 'เพิ่มภูมิคุ้มกัน' บรรเทาหวัด". กรุงเทพธุรกิจ.
  4. "ประวัติแกงรัญจวน อาหารชาววังรสเด็ด ชื่อโดนใจ". กะปุก.
  5. กฤช เหลือลมัย. "'แกงรัญจวน' โอชาแห่งอารมณ์". มติชน.