ขนมวง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ขนมวง
ชื่ออื่นเข้ามูนข่วย
มื้อขนม
แหล่งกำเนิดไทย พม่า
ภูมิภาคภาคเหนือของไทย รัฐฉาน
ผู้สร้างสรรค์อาหารไทใหญ่
ส่วนผสมหลักแป้งข้าวเหนียว งา มะพร้าวขูด น้ำตาลอ้อย

ขนมวง หรือ เข้ามูนข่วย เป็นขนมชนิดหนึ่งของชาวไทใหญ่ เป็นรูปวงกลมมีรูตรงกลางคล้ายกำไลหรือโดนัท ทำจากแป้งข้าวเหนียวนวดกับน้ำและมะพร้าวขูด นำไปคลุกกับงาขาวแล้วต่อให้เป็นวงกลม ทอดในน้ำมันให้สุก พอขนมเย็นลงจึงนำไปชุบน้ำตาลอ้อยให้ทั่ว ชาวไทใหญ่นิยมทำขนมนี้ในงานปอยหรืองานบุญ[1]

นอกจากนี้ยังมีอาหารของชาวไทพวนซึ่งมีลักษณะเดียวกัน เรียกว่า ข้าวโค้ง ทำจากแป้งข้าวเหนียว น้ำ มะพร้าวขูดฝอย และมันเทศซึ่งนึ่งจนสุกบดให้ละเอียด นำมานวดด้วยกันจนเนื้อเนียน จากนั้นก็ปั้นแป้งเป็นเส้น แล้วจับมาโค้งเข้าหากัน ก่อนนำไปทอด เป็นที่มาของชื่อ[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. สิริรักษ์ บางสุด และ พลวัฒน์ อารมณ์. โอชะล้านนา. กทม. แสงแดด. 2558 หน้า 215
  2. "ข้าวโถเถ-ข้าวโค้ง ขนมในความทรงจำที่กำลังจะหายไป". ครัว. 11 มกราคม 2565. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2565. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)