แมงมุมทอด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แมงมุมทอด
ชื่ออื่นบึ้งทอด
มื้ออาหารว่าง
แหล่งกำเนิดประเทศกัมพูชา
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ส่วนผสมหลักบึ้ง, น้ำมัน, กระเทียม

แมงมุมทอด หรือ บึ้งทอด[1] (เขมร: រពីងបំពង, អាពីងបំពង) เป็นอาหารว่างของประเทศกัมพูชา พบได้ทั่วไปในเมืองสกุน อำเภอเชิงไพร จังหวัดกำปงจาม อาหารดังกล่าวเป็นที่นิยมสำหรับนักท่องเที่ยวที่ผ่านมายังเมืองนี้ นอกจากนี้ยังพบแมงมุมทอดได้ที่พนมเปญ แต่ที่เมืองสกุนซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของพนมเปญราว 75 กิโลเมตร เป็นศูนย์กลางการบริโภคแมงมุมทอดและเป็นที่นิยมกว่า[2] แมงมุมที่ใช้ประกอบอาหารดังกล่าว ส่วนหนึ่งมาจากหมู่บ้านทางตอนเหนือของเมืองสกุนด้วยการขุดรู และบางส่วนก็หาได้จากป่าแถวนั้น แล้วเอาแมงมุมไปทอดในน้ำมัน การบริโภคแมงมุมทอดเริ่มขึ้นเมื่อใดไม่เป็นที่ปรากฏ บางคนอธิบายว่าการบริโภคแมงมุมทอดเกิดจากความอดอยากในช่วงที่เขมรแดงครองเมือง ทำให้สินค้าสำหรับอุปโภคบริโภคขาดตลาด จึงบริโภคแมงมุมเพื่อประทังชีวิต[1][3][4]

แมงมุมที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการทำแมงมุมทอดคือ แมงมุมทารันทูลา หรือ บึ้ง ซึ่งในภาษาเขมรเรียกว่า อาปิง มีขนาดตัวประมาณฝ่ามือมนุษย์[5] ตัวหนึ่งมีราคา 300 เรียล เมื่อ พ.ศ. 2545 หรือราคาประมาณ 0.08 ดอลลาร์สหรัฐ[5] หนังสือนำเที่ยวเล่มหนึ่ง ระบุว่าทารันทูลาชนิดนั้น คือ บึ้งลาย หรือ บึ้งม้าลาย (Haplopelma albostriatum) เป็นที่ทราบกันว่าเป็นแมงมุมที่สามารถบริโภคได้มากว่าร้อยปีแล้ว แต่ความนิยมแมงมุมทอดของชาวเขมรนี้ เพิ่งเกิดขึ้นช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 นี้เอง โดยในหนังสือเล่มเดียวกันนั้น ได้ระบุสูตรการทำแมงมุมทอดไว้ว่า "ปรุงรสด้วยผงชูรส น้ำตาล เกลือ กระเทียมทุบ ผัดในน้ำมันจนหอม จากนั้นจึงใส่แมงมุมลงไป ผัดจนกว่าขาของแมงมุมจะกรอบ และเนื้อในท้องของมันสุกดีไม่มีน้ำไหลออกมา"[6]

รสชาติได้รับการอธิบายว่าจืดชืด "เหมือนจะเป็นลูกผสมระหว่างเนื้อไก่กับเนื้อปลาค็อด"[2] ส่วนรสสัมผัส บริเวณส่วนนอกจะกรอบ แต่บริเวณลำตัวจะอ่อนนุ่ม บริเวณขาจะมีเนื้ออยู่เพียงเล็กน้อย ส่วนหัวและลำตัวจะมี "เนื้อสีขาวอ่อนนุ่มอยู่ภายใน"[2] แต่ส่วนท้องมักจะไม่ถูกกิน เพราะภายในท้องจะมีก้อนสีน้ำตาล ๆ ซึ่งประกอบไปด้วยอวัยวะภายใน รวมทั้งไข่และขี้ของมัน บางคนว่านี่คือส่วนที่เลิศรสที่สุด ขณะที่บางคนแนะว่าอย่าไปบริโภคบริเวณดังกล่าวเลย[2]

ต่างประเทศ[แก้]

ในประเทศไทย มีการบริโภคบึ้งเช่นกันในหลายภูมิภาคมาช้านาน[4]

เคยมีร้านแห่งหนึ่งในประเทศเม็กซิโก บรรจุตาโกไส้แมงมุมทารันทูลาเสิร์ฟคู่กับกัวกาโมเลลงในเมนูของร้าน[7] แต่ทางการเม็กซิโกมีกฎหมายห้ามขายทารันทูลาหลายสายพันธุ์เพื่อการบริโภคของมนุษย์ ด้วยเหตุนี้เมนูยังกล่าวจึงถูกยกเลิกออกไปเป็นการถาวร[8]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "'บึ้งทอด' เมนูอร่อย-ยาโป๊วชั้นดีของชาวเขมร". ผู้จัดการออนไลน์. 5 กรกฎาคม 2549. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2565. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Rigby, Rhymer (2002). "Tuck into a Tarantula". Sunday Telegraph. สืบค้นเมื่อ 11 September 2006.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. Ray, Nick (2002). Lonely Planet Cambodia. Lonely Planet Publications. p. 308. ISBN 1-74059-111-9.
  4. 4.0 4.1 "'แมงมุมยักษ์ทอด' เมนูพิสดารในกัมพูชา". บีบีซีไทย. 24 มิถุนายน 2560. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2565. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. 5.0 5.1 "Spiderwomen serve up Cambodia's creepy caviar". ABC News Online. 2 September 2002. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 March 2005. สืบค้นเมื่อ 11 September 2006.
  6. Freeman 2004, p. 34
  7. Zepeda, Mayda. "¡A comer tarántula! (no en Camboya, sino en México)" [Let's eat tarantula! (not in Cambodia, but in Mexico)]. Animal Gourmet (ภาษาสเปนแบบเม็กซิกัน). สืบค้นเมื่อ 25 September 2018.
  8. "Aseguran tarántulas que serían convertidas en tacos". Animal Político (ภาษาสเปนแบบยุโรป). 14 August 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-18. สืบค้นเมื่อ 25 September 2018.