ข้าวแมว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ข้าวแมว
มื้ออาหารจานเดียว
แหล่งกำเนิดประเทศไทย
อุณหภูมิเสิร์ฟอุณหภูมิห้อง
ส่วนผสมหลักปลาทู, ข้าวสวย, พริกขี้หนู, หอมแดง, แตงกวา, ผักชี, น้ำปลาพริก

ข้าวแมว บ้างเรียก ข้าวคลุกปลาทู หรือ ข้าวขยำปลาทู เป็นอาหารไทยชนิดหนึ่ง ประกอบไปด้วยข้าวสวยคลุกกับปลาทู ซึ่งคล้ายกับอาหารของแมว จึงเป็นที่มาของชื่อ[1][2] มีส่วนประกอบน้อยอย่าง ได้แก่ ปลาทูทอด (หรือย่าง, นึ่ง) ข้าวสวย พริกขี้หนูซอย หอมแดงซอย แตงกวา และผักชี รับประทานเคียงหรือราดด้วยน้ำปลาพริก ถือเป็นอาหารที่ทำได้รวดเร็ว และประหยัด ผู้สูงอายุจำนวนไม่น้อยนิยมประกอบอาหารชนิดนี้แก่ลูกหลานแบบเดียวกับที่ทำอาหารเลี้ยงแมว[2][3] โดยในเว็บไซต์เอ็มไทยระบุว่า ใน พ.ศ. 2562 ต้นทุนการทำข้าวแมวมีราคาทั้งสิ้น 25.6 บาท ประกอบด้วย ปลาทูราคา 15 บาท ข้าวสวยราคา 7 บาท และเครื่องปรุงอื่น ๆ ราคา 3.6 บาท[4]

วิธีการทำคือนำปลาทูที่ทอดหรือย่างจนสุกแล้วเลาะก้างแกะเอาเนื้อ จากนั้นนำเนื้อปลาทู ข้าวสวย น้ำปลาหรือน้ำปลาพริกที่มีรสชาติเค็มเปรี้ยวอมหวานไปคลุกเคล้าหรือขยำเข้ากับข้าวพร้อมรับประทาน โดยมีเครื่องเคราสำหรับรับประทานด้วยกัน ได้แก่ หอมแดงซอย พริกขี้หนูซอย แตงกวา มะม่วงสับหยาบ เพื่อตัดเลี่ยน[2] โรยหน้าด้วยเนื้อปลาทูทอด (หรือย่าง, นึ่ง) ผักชี และเคียงด้วยน้ำปลาพริก[1]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 ธัญชนก ศรียานนท์ (2 กรกฎาคม 2564). "ข้าวแมวขโมย". ครัว. สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2566. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. 2.0 2.1 2.2 หลวงนี (19 พฤษภาคม 2563). "ข้าวแมว แต่ทำไมคนนิยม". True ID. สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2566. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. ดวงกมล โลหศรีสกุล (5 สิงหาคม 2563). "'ข้าวแมวสีชมพู' เมนูอาหารง่ายๆ แต่เหตุไฉนทำเงินเฉียดล้าน ในช่วงวิกฤตโควิด-19". เส้นทางเศรษฐี. สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2566. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. monkeytan (19 มีนาคม 2562). "สูตร ข้าวคลุกปลาทู อร่อยเพลินจนแมวร้อง". เอ็มไทย. สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2566. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)