ผีตายหวาก
ชื่ออื่น | บี้ถ่ายบาก บี้ถ่ายบั๊ก ผีตายมาก ผีตายบาก ลอดช่องสิงคโปร์ |
---|---|
มื้อ | ของหวาน |
ภูมิภาค | เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ |
ผู้สร้างสรรค์ | เปอรานากัน |
อุณหภูมิเสิร์ฟ | เย็น |
ส่วนผสมหลัก | แป้งข้าวเจ้า, น้ำเชื่อม, น้ำแข็งไส |

ผีตายหวาก[ก] บ้างเรียก บี้ถ่ายบาก[2][3] หรือ บี้ถ่ายบั๊ก (จีน: 米苔目) อาจเป็นที่รู้จักในชื่อ ลอดช่องสิงคโปร์[2] เป็นของหวานชนิดหนึ่งของชาวเปอรานากัน หรือบ้าบ๋า ที่อาศัยอยู่ทางตอนใต้ของประเทศไทย (โดยเฉพาะในจังหวัดภูเก็ตและสงขลา) สามารถพบอาหารลักษณะเดียวกันนี้ตามชุมชนเปอรานากันในประเทศมาเลเซีย (โดยเฉพาะเมืองมะละกาและปีนัง) และประเทศสิงคโปร์[4] ถือเป็นหนึ่งใน "ปุ๊นเตโก้ย" หรือขนมพื้นเมืองภูเก็ต[5] ปัจจุบันถือเป็นของหวานที่หารับประทานยากชนิดหนึ่งในไทย[6] มักขายเป็นถุง สนนราคาถุงละ 12 บาท (ใน พ.ศ. 2559)[5]
เส้นของผีตายหวากทำจากแป้งข้าวเจ้า มีตัวเส้นและเนื้อสัมผัสคล้ายเส้นขนมจีน หากแต่เส้นนั้นเล็ก สั้น และนุ่มมากกว่า[4] เส้นมีสองสีคือสีขาวกับสีแดง[2][5] รับประทานด้วยการราดน้ำเชื่อม อาจแต่งกลิ่นน้ำลอยดอกมะลิหรือใบเตย แล้วใส่น้ำแข็งไสเพื่อเพิ่มความสดชื่น[2][4][5] บางสูตรใช้น้ำตาลโตนดให้ความหวานแทนน้ำเชื่อม และใส่เม็ดแมงลักลงไปด้วย[3] ส.พลายน้อย ให้คำอธิบายเกี่ยวกับผีตายหวากไว้ว่า "...ขนมชนิดนี้เป็นของทางภาคใต้ ขนมเป็นเส้นคล้ายขนมจีน ผสมลูกแมงลัก กินกับน้ำเชื่อม..."[1]
เชิงอรรถ
[แก้]- ↑ ส.พลายน้อย เรียกว่า "ขนมผีตายมาก", "ขนมผีตายบาก", "ขนมผีตายหวาก", "หนมท่าบาก" และ "หนมทากบาก"[1]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 ส.พลายน้อย. เกร็ดย่อยร้อยเรื่อง ฉบับปรับปรุงและเพิ่มเติม. กรุงเทพฯ : สถาพรบุ๊คส์, 2564, หน้า 534
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 บังอร วีระกานต์. "อาหารบาบ๋า ความอร่อยและความงดงามข้ามชาติพันธุ์". วารสารวัฒนธรรม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-27. สืบค้นเมื่อ 1 มกราคม 2567.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 3.0 3.1 จิรณรงค์ วงษ์สุนทร (18 มิถุนายน 2562). "ตามรอยร้านอร่อย อิ่มทริป 02 : กินนอนนครใน ไปกินอาหาร 9 มื้อเพื่อทำความรู้จักเมืองสงขลา". The Cloud. สืบค้นเมื่อ 1 มกราคม 2567.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 4.0 4.1 4.2 "บี้ถ่ายบาก". Phuket Cuisine. 21 กันยายน 2565. สืบค้นเมื่อ 1 มกราคม 2567.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 "เปิดคัมภีร์ "ปุ๊นเตโก้ย" 21 ขนมพื้นเมืองภูเก็ต คนภูเก็ตเท่านั้นที่รู้". วงใน. 1 ธันวาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 1 มกราคม 2567.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "อิ่มทริป 02 กินนอนนครใน". The Cloud. 24 มิถุนายน 2562. สืบค้นเมื่อ 1 มกราคม 2567.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)