อาหารกวางตุ้ง
อาหารกวางตุ้ง | |||||||||||||||
![]() เชฟทำอาหารด้วยกระทะ | |||||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 廣東菜 | ||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวย่อ | 广东菜 | ||||||||||||||
เยลกวางตุ้ง | Gwóng dūng choi | ||||||||||||||
| |||||||||||||||
อาหารเย่ว์ | |||||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 粵菜 | ||||||||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 粤菜 | ||||||||||||||
เยลกวางตุ้ง | Yuht choi | ||||||||||||||
|
อาหารกวางตุ้ง หรือ เย่ว์ (จีน: 廣東菜 หรือ 粵菜) เป็นอาหารของมณฑลกวางตุ้งของจีน โดยเฉพาะเมืองหลวงของมณฑลคือ กวางโจว และพื้นที่บริเวณโดยรอบในพื้นที่สามเหลี่ยมลุ่มแม่น้ำจูเจียง(Pearl River Delta) รวมทั้งฮ่องกง และมาเก๊า[1] การพูดอย่างถูกต้อง อาหารกวางตุ้งเป็นอาหารของกวางโจวหรือของผู้พูดภาษาจีนกวางตุ้ง แต่มักจะรวมถึงรูปแบบการทำอาหารของผู้พูดภาษาจีนเย่ว์ในกวางตุ้งทั้งหมด ในทางกลับกัน อาหารแต้จิ๋วและอาหารฮากกาของมณฑลกวางตุ้งถือเป็นรูปแบบของตนเอง เช่นเดียวกับอาหารที่ใกล้เคียงอย่างกวางสี แม้ว่ามณฑลกวางสีตะวันออกจะถือว่าเป็นวัฒนธรรมกวางตุ้ง เนื่องจากมีอิทธิพลทางเชื้อชาติพันธุ์จ้วง อาหารกวางตุ้งเป็นหนึ่งในแปดประเพณีการทำอาหารของอาหารจีน จุดที่โดดเด่นจากนอกประเทศเกิดจากการอพยพเข้ามาของชาวกวางตุ้งจำนวนมาก เชฟที่ได้รับการฝึกฝนด้านอาหารกวางตุ้งเป็นที่ต้องการอย่างมากทั่วประเทศจีน[2] จนถึงปลายศตวรรษที่ 20 ร้านอาหารจีนในตะวันตกส่วนมากจะเสิร์ฟอาหารกวางตุ้งเป็นส่วนใหญ่
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Hsiung, Deh-Ta. Simonds, Nina. Lowe, Jason. [2005] (2005). The food of China: a journey for food lovers. Bay Books. ISBN 978-0-681-02584-4. p17.
- ↑ Civitello, Linda (2011-03-23). Cuisine and Culture: A History of Food and People. p. 281. ISBN 9781118098752.
![]() |
บทความเกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม และหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคอื่น ๆ นี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |