จิ้มจุ่ม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จิ้มจุ่ม
Chim chum.jpg
ประเภทซุป
แหล่งกำเนิดภาคอีสาน ประเทศไทย
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ส่วนผสมหลักเนื้อสัตว์ ผัก น้ำซุป ไข่ไก่ วุ้นเส้นและน้ำจิ้ม

จิ้มจุ่ม บ้างก็เรียก หมูจุ่ม[1] ทางอีสานของไทยเรียก แจ่วฮ้อน เป็นอาหารไทยภาคอีสาน โดยคำว่าจิ้มจุ่ม หมายถึงการนำน้ำซุปมาผสมกับแจ่ว ใส่ผัก และเนื้อสัตว์ลงไป[2] มีน้ำซุปต้มลงในหม้อดิน ส่วนผสมของน้ำซุปประกอบด้วยสมุนไพรไทย ข่า ตะไคร้ พริก โหระพาและผักต่าง ๆ เนื้อสัตว์ที่นิยมใส่ลงไปคือ เนื้อหมู เนื้อไก่และอาหารทะเลต่าง ๆ ผักที่นิยมคือ ผักกาดขาว กะหล่ำปลี ผักบุ้งและโหระพา ส่วนน้ำจิ้มจะเป็นน้ำจิ้มแจ่ว น้ำจิ้มสุกี้

ส่วนแจ่วฮ้อนน้ำซุปจะออกสีที่เข้มข้นคล้าย ๆ ก๋วยเตี๋ยวน้ำตก มีส่วนผสมจากสมุนไพรไทย เครื่องต้มยำ เลือดวัว เลือดหมู และขี้เพี้ย ผักที่นิยมคือ ผักกาดขาว กะหล่ำปลี ผักบุ้งและโหระพา ส่วนน้ำจิ้มจะเป็นน้ำจิ้มแจ่วผสมกับขี้เพี้ยเล็กน้อย[3]

แต่เดิมจิ้มจุ่มมีขายตามร้านอาหารข้างถนน ร้านอาหารอีสาน ในปัจจุบันร้านชาบูชาบูและร้านสุกี้ยากี้จำนวนมากในไทยได้ปรับปรุงสูตรจิ้มจุ่มและวิธีการกินให้เหมาะสมกับวัตถุดิบ[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. "อาหารยอดฮิต หม้อไฟ - ปิ้งย่าง กับความอร่อยที่หลากหลาย".
  2. "แจ่วฮ้อน". เซ็นกรุ๊ป.
  3. "แจ่วฮ้อน VS จิ้มจุ่ม แตกต่างกันอย่างไร???".
  4. "เปรียบเทียบความต่างของหม้อไฟ 'สุกี้ยากี้ ชาบูชาบู สุกี้ไทย' และ 'จิ้มจุ่ม'". เวิร์กพอยต์.