อาจาด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อาจาด
อาจาดแบบอินโดนีเซีย
ชื่ออื่นอาจาร์ (ภาษามลายู)
ประเภทเครื่องปรุงรสหรือยำ
ส่วนผสมหลักผักหลายชนิด (ถั่วฝักยาว แคร์รอต กะหล่ำปลี), น้ำส้มสายชู พริก ถั่วลิสง

อาจาด เป็นน้ำจิ้มชนิดหนึ่ง ทำจากน้ำส้มสายชูหรือน้ำกระเทียมดอง เพิ่มน้ำตาลและเกลือเล็กน้อย (บางตำรับใช้น้ำเชื่อม) มาตั้งไฟเคี่ยวจนมีลักษณะเหนียวหรือข้น มีแตงกวา หอมแดง พริกชี้ฟ้า หั่นเป็นชิ้น ๆ อยู่ด้วย รับประทานเคียงอาหารจำพวกสะเต๊ะและแกงกะหรี่เพื่อแก้เลี่ยน[1]

ศัพทมูล[แก้]

คำว่า อาจาด นี้เป็นคำยืมจากภาษามลายู acar (อาจาร์) แปลว่า ของดอง ซึ่งเป็นคำเดียวกับกลุ่มภาษาในประเทศอินเดีย เช่นภาษาฮินดีว่า अचार (รูป: อจาร; เสียง: อะชาร) ภาษาสันสกฤตว่า आचारः (รูป: อาจารฺห์; เสียง: อาชารห์) และภาษาเปอร์เซียว่า آچار (อาจารฺ) ล้วนมีความหมายเดียวกัน [2]

ความหลากหลาย[แก้]

อาจาดในอินโดนีเซีย[แก้]

อาจาดที่เคียงอยู่ในชุดอาหารอินโดนีเซีย
ข้าวหมกเนื้อเสิร์ฟคู่กับอาจาดแบบไทย

อาจาดในอาหารอินโดนีเซีย จะใส่แตงกวา แคร์รอต หอมแดง พริกขี้หนู บ้างใส่สับปะรดเพื่อเพิ่มความหวานเมื่อดองกับน้ำส้มสายชู บ้างก็ใส่ขิงหรือตะไคร้เพื่อเพิ่มความเผ็ดร้อน[3] และอาจาดแบบอินโดนีเซียได้แพร่หลายไปในอาหารฮอลันดา เรียกว่า "อาจาร์" (atjar) หรือ แตงกวาดอง

อาจาดในมาเลเซีย[แก้]

ในอาหารมาเลเซีย มีหลายรูปแบบ เช่น อาจาดอาวะก์หรือแบบย่าหยา กับแบบมลายู ซึ่งแบบอาวะก์นั้นจะมีการใส่เครื่องเทศที่มีกลิ่มหอมเพิ่มเติมและใส่มะเขือยาวไปด้วย

อาจาดในไทย[แก้]

อาจาดในสำรับอาหารไทย จะใส่แตงกวา พริกสีแดง หอมแดง น้ำส้มสายชู น้ำตาล เกลือ และผักชี บางแห่งใช้น้ำกระเทียมดอง นิยมรับประทานเคียงกับสะเต๊ะ ข้าวหมก ขนมปังหน้าหมู[4] ทอดมัน มะตะบะ ขนมเบื้องญวน หรือแกงกะหรี่[5]

นอกจากนี้ยังมีอาจาดรูปแบบอื่น ๆ ที่มีลักษณะโดดเด่นไปจากอาจาดปกติ ได้แก่

อ้างอิง[แก้]

  1. สูตรอาหารไทย : อาจาด + ซ๊อสถั่วเกี่ยวกับอาหารไทย
  2. บทวิทยุรายการ "รู้ รัก ภาษาไทย" ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑ เวลา ๗.๐๐-๗.๓๐ น. http://www.sarapee.ac.th/www/index.php/2011-02-25-06-08-05/1146-2011-03-03-02-11-28[ลิงก์เสีย]
  3. "Acar – Indonesian Pickle Ingredients". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2 June 2014.
  4. ""ขนมปังหน้าหมู" เมนูของว่าง เคี้ยวเพลิน กินอร่อย". MGR Online. 19 กันยายน 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-23. สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. "น้ำจิ้มอาจาด". ครัวข้างทุ่ง. 15 มกราคม 2556. สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. สุมล ว่องวงศ์ศรี. จานอร่อยจากปู่ย่า สูตรโบราณ ๑๐๐ ปี. กรุงเทพฯ : สารคดี, 2557, หน้า 70
  7. วาริด เจริญราษฎร์ (2554). การศึกษาการตั้งชื่อของชาวไทยมุสลิมชุมชนมัสยิดต้นสน เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร (PDF). p. 27. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-09-21. สืบค้นเมื่อ 2016-04-02.
  8. "น้ำพริกอาจาดตะลิงปลิง". Thai Invention. สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  9. "เผยที่มา 1 จังหวัด 1 เมนูฯ พังงา "อาจาดหู" เป็นเมนูโบราณ ทำจากปลากระบอกและผักดอง". ไทยรัฐออนไลน์. 3 กันยายน 2566. สืบค้นเมื่อ 27 กันยายน 2566. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ อาจาด