โรงเรียนพนัสพิทยาคาร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนพนัสพิทยาคาร
โรงเรียนหลวงใหญ่

Phanatpittayakarn School
ที่ตั้ง
หมู่ที่ 6 ถนนสุขประยูร ตำบลกุฏโง้ง อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี 20140 ประเทศไทย ไทย
ข้อมูล
ชื่ออื่นพ.พ. (PP)
ประเภทโรงเรียนสหศึกษา - โรงเรียนรัฐบาล - โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ
คำขวัญสุสิกขิโต ภวัง โหตุ (ค่าของคนอยู่ที่ผลของกรรมดี)
สถาปนา28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2479 (87 ปี 149 วัน)
ผู้ก่อตั้งครูเจียม รุธิระกุล
หน่วยงานกำกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
รหัส12200601
ผู้อำนวยการประโยชน์ กีรติปกรณ์
ระดับปีที่จัดการศึกษาม.1-ม.6
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอนไทย
อังกฤษ
วิทยาเขตโรงเรียนพนัสพิทยาคาร 2 ปัจจุบันได้พัฒนาไปเป็นโรงเรียนเกาะจันทร์พิทยาคาร
สี   แดง-เหลือง
เพลงเพลงมาร์ชพ.พ.
เว็บไซต์www.panatp.ac.th

โรงเรียนพนัสพิทยาคาร (อังกฤษ: Phanatpittayakarn School, ย่อ: พ.พ., PP) เป็นโรงเรียนรัฐบาลสหศึกษา ระดับมัธยมศึกษา ตั้งอยู่ หมู่ที่ 6 ถนนสุขประยูร ตำบลกุฎโง้ง อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี โดยมีชื่อที่เรียกกันทั่วไปของชาวพนัสนิคมว่า “โรงเรียนหลวงใหญ่”

โรงเรียนพนัสพิทยาคาร อยู่ภายใต้สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 สหวิทยาเขตชลบุรี 2 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เป็นโรงเรียนประจำ อำเภอพนัสนิคม ก่อตั้งขึ้นในปี 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2479 (อย่างเป็นทางการ) โดยปัจจุบันโรงเรียนพนัสพิทยาคารมีอายุ 87 ปี

นอกจากนี้โรงเรียนพนัสพิทยาคารได้เป็นโรงเรียนเครือข่ายห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ ตามแนวทาง สสวท. และ สอวน. รวมถึงโรงเรียนเครือข่ายศูนย์สะเต็มศึกษา ภาคตะวันออก

ประวัติโรงเรียน[แก้]

โรงเรียนพนัสพิทยาคาร เป็นโรงเรียนมัธยมประจำอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี ตั้งขึ้นครั้งแรกที่วัดพิมพฤฒาราม เมื่อ พ.ศ. 2460 “โรงเรียนวัดใหม่ประจำอำเภอพนัสนิคม” จัดสอนตั้งแต่ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1 จนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนนี้ตั้งอยู่ได้จนถึง พ.ศ. 2464 พอดีมีประกาศใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา ครูใหญ่โรงเรียนนี้ได้รับแต่งตั้งให้เป็นศึกษาธิการอำเภอ อีกตำแหน่งหนึ่ง จึงเริ่มมีความไม่สะดวกประกอบกับโรงเรียนรัฐบาลจำเป็นต้องเก็บค่าศึกษาเล่าเรียนตามระเบียบ ผู้ปกครองนักเรียนไม่ประสงค์จะเสียค่าเล่าเรียนโรงเรียนนี้จึงยุบไป

ต่อมามีผู้ปกครองต้องการจะให้มีโรงเรียนมัธยมศึกษาขึ้นอีก จึงได้ขออนุญาตตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2476 ในระหว่างที่ขอตั้งโรงเรียนอยู่นี้ อำเภอได้เปิดสอนชั้นมัธยมเป็นการเตรียมตัวไว้รับเหตุการณ์ก่อนเรียกว่า “โรงเรียนราษฎร์เสริมพนัส” ทำการสอนที่ ศาลาการเปรียญวัดกลางทุมมาวาส จนถึงปี พ.ศ. 2479 กระทรวงศึกษาธิการจึงได้อนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาได้โดยใช้ชื่อว่า“โรงเรียนประจำอำเภอพนัสนิคม” และเลิกล้มโรงเรียนราษฎร์เสริมพนัส โดยโอนให้กับโรงเรียนประจำอำเภอ และสอนที่ศาลาการเปรียญวัดกลางทุมมาวาสตามเดิม มีนายเจียม รุธิระกุล เป็นครูใหญ่ ครั้นถึง พ.ศ. 2480 ทางวัดมีความจำเป็นต้องรื้อศาลาเพื่อสร้างใหม่ โรงเรียนนี้จึงต้องย้ายไปสอนที่โรงเรียนประชาบาล ประจำตำบลกุฎโง้ง (พนัส-ศึกษาลัย) เมื่อนายสนิท อนันตสมบูรณ์ ย้ายมารับตำแหน่งศึกษาธิการประจำอำเภอพนัสนิคม ได้ของบประมาณสร้างอาคารเรียนหลังใหม่ เป็นเงิน 4,000 บาท ในปี พ.ศ. 2481 และใช้เรียนได้ตั้งแต่วัน 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2482 อาคารนี้มีรูปทรงมนิลา ใต้ถุนโล่ง หลังคามุงกระเบื้อง มีมุขริมด้านหน้าสองมุข มีห้องเรียน 3 ห้อง ห้องครูใหญ่ 1 ห้อง ห้องประชุม 1 ห้อง รวมถึงได้ย้ายมาอยู่ในที่ดินของนายสุชาติ และนางเฉลียว เจริญผล และได้ซื้อที่ดินเพิ่มเป็น 47 ไร่ 3 งาน 39 ตารางวา นอกจากนี้กระทรวงศึกษาธิการได้ตั้งชื่อโรงเรียนแห่งนี้ว่า โรงเรียนพนัสนิคม “พนัสพิทยาคาร”

โรงเรียนนี้มีนักเรียนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี ทางโรงเรียนจึงของบประมาณสร้างอาคารเรียนขึ้นอีกแต่ไม่เป็นผลสำเร็จจนกระทั่งปี พ.ศ. 2496 นายชาติ สุอังคะ สมาชิกผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี นายชลิต มุตตามระ นายอำเภอพนัสนิคม นายเฉลิมศักดิ์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา ศึกษาธิการอำเภอพนัสนิคมในสมัยนั้นได้ช่วยเหลือติดต่อกับกระทรวงศึกษาธิการ ให้ได้รับงบประมาณอีก เป็นเงิน จำนวน 50,000 บาท เพื่อก่อสร้างต่อเติมอาคารเรียนจนแล้วเสร็จ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2496 ทำให้มีมุขหน้า 3 มุข มีห้องเรียน 14 ห้อง เต็มรูปทั้งชั้นล่างและชั้นบน ต่อมานายเฉลิมชัย รัตนกรี ผู้อำนวยการโรงเรียนคนแรกได้ขออนุญาตกรมสามัญศึกษา ใช้ชื่อให้สั้นลงว่า “โรงเรียนพนัสพิทยาคาร”เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2520 และปัจจุบัน นายอัมพร อิสสรารักษ์ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนคนที่ 14 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559

จนถึงปัจจุบัน โรงเรียนพนัสพิทยาคาร โรงเรียนมีเนื้อที่ประมาณ 46 ไร่ มีนักเรียนประมาณ 3,000 คน โรงเรียนพนัสพิทยาคารจัดเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ มีอาคารเรียน 3 ชั้นจำนวน 4 อาคาร อาคาร 6 ชั้นจำนวน 1 อาคาร อาคารห้องสมุด อาคารประกอบประมาณ 7-10 อาคาร สนามกีฬาในร่ม และสนามกีฬากลางแจ้ง มีธนาคารโรงเรียนโดยธนาคารออมสิน ศูนย์ศิลปะ สถานนีวิทยุโรงเรียนพนัสพิทยาคาร มีศาลาอาจารย์สาโรจน์ มีป้อมยาม 2 ป้อมที่มียามเฝ้าเพียงแค่คนเดียว

เส้นเวลา[แก้]

  • พ.ศ. 2460 – จัดตั้งโรงเรียนวัดใหม่ประจำอำเภอพนัสนิคม ที่วัดพิมพฤฒาราม
  • พ.ศ. 2464 – ยุบโรงเรียนวัดใหม่ประจำอำเภอพนัสนิคม
  • พ.ศ. 2476 – จัดตั้งโรงเรียนราษฎร์เสริมพนัส ที่ศาลาการเปรียญ วัดกลางทุมมาวาส
  • พ.ศ. 2479 – จัดตั้งโรงเรียนประจำอำเภอพนัสนิคม และยุบโรงเรียนราษฎร์เสริมพนัส
  • พ.ศ. 2480 – ย้ายโรงเรียนไปที่โรงเรียนประชาบาล ประจำตำบลกุฎโง้ง (พนัส-ศึกษาลัย)
  • พ.ศ. 2482 – เปิดใช้อาคารหลังใหม่ ทรงมนิลา, ย้ายโรงเรียนมาที่ดินของนายสุชาติ และนางเฉลียว เจริญผล รวมถึงได้ซื้อที่ดินเพิ่มเติม และเปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น โรงเรียนพนัสนิคม “พนัสพิทยาคาร”
  • พ.ศ. 2496 – ได้ต่อเติมอาคารเรียน
  • พ.ศ. 2520 – ได้ย่อชื่อโรงเรียนให้สั้นลงว่า โรงเรียนพนัสพิทยาคาร
  • พ.ศ. 2548สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินยังโรงเรียนพนัสพิทยาคาร เพื่อทรงเปิด"อาคารเฉลิมพระเกียรติ 48 พรรษา"
  • พ.ศ. 2554 – นายมนูญ เชื้อชาติ ได้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการคนที่ 13
  • พ.ศ. 2557 – โรงเรียนพนัสพิทยาคารได้รับรางวัลโรงเรียนรางวัลพระราชทาน สถานศึกษาขนาดใหญ่
  • พ.ศ. 2559 – โรงเรียนพนัสพิทยาคารมีอายุครบ 80 ปี, ได้เปิดใช้อาคารอเนกประสงค์ 80 ปี และนายอัมพร อิสสรารักษ์ ได้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการคนที่ 14
  • พ.ศ. 2560 – โรงเรียนพนัสพิทยาคารมีอายุครบ 100 ปี นับตั้งแต่การจัดตั้งโรงเรียนวัดใหม่ประจำอำเภอพนัสนิคม ที่วัดพิมพฤฒาราม

สถานที่ภายในโรงเรียน[แก้]

  • อาคาร 1 เป็นอาคารสูง 3 ชั้น ซึ่งเป็นที่ตั้งของห้องผู้อำนวยการ ห้องวิชาการ รวมถึงห้องเรียนพิเศษโครงการSME, EP และ IEP
  • อาคาร 2 เป็นอาคารสูง 3 ชั้น ซึ่งเป็นที่ตั้งของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ห้องเรียนภาษาไทย รวมถึงห้องเรียนปกติระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 4
  • อาคาร 3 เป็นอาคารสูง 3 ชั้น ซึ่งเป็นที่ตั้งของกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ห้องเรียนวิทยาศาสตร์ รวมถึงห้องเรียนพิเศษโครงการ สสวท. ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
  • อาคาร 4 เป็นอาคารสูง 3 ชั้น ซึ่งเป็นที่ตั้งของกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ห้องเรียนสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม รวมถึงห้องเรียนปกติระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 2
  • อาคาร 5 (อาคารเฉลิมพระเกียรติ 48 พรรษา) เป็นอาคารสูง 6 ชั้น ซึ่งเป็นที่ตั้งของกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ ศูนย์แนะแนว ห้องเรียนภาษาอังกฤษ ห้องเรียนคณิตศาสตร์ รวมถึงห้องเรียนพิเศษโครงการ สสวท. ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และห้องเรียนปกติระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4, 5 และ 6
  • อาคารเอนกประสงค์ (80 ปี โรงเรียนพนัสพิทยาคาร) เป็นอาคารสูง 2 ชั้น ซึ่งเป็นที่ตั้งของห้องเรียนคอมพิวเตอร์ ศูนย์สเต็มศึกษา ศูนย์ไอที ศูนย์ทูบีนัมเบอร์วัน และหอประชุมขนาดใหญ่
  • อาคารการงานอาชีพ มีทั้งหมด 3 อาคาร ซึ่งเป็นที่ตั้งของห้องเรียนการงานอาชีพ รวมถึงห้องเรียนปกติระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
  • ศูนย์ศิลปะ เป็นสถานที่เรียน และทำกิจกรรมวิชาศิลปะ
  • เรือนเกษตร เป็นสถานที่เรียน และทำกิจกรรมทางการเกษตร
  • เรือนปกครอง เป็นที่ตั้งของกลุ่มกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
  • อาคารลูกเสือ เป็นสถานที่เรียนวิชาลูกเสือ เนตรนารี
  • หอพระพนัสบดี เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของโรงเรียนพนัสพิทยาคาร
  • อนุสาวรีย์ครูเจียม รุธิระกุล ผู้ก่อตั้งโรงเรียนพนัสพิทยาคาร
  • หอประชุมโรงเรียนพนัสพิทยาคาร เป็นสถานที่ทำกิจกรรมต่างๆของโรงเรียนพนัสพิทยาคาร
  • ห้องสมุด ภายในแยกหมวดหมู่หนังสืออย่างชัดเจน รวมทั้งหนังสือพิมพ์และนิตยสารต่างๆ สำหรับนักเรียนเพื่อให้รับรู้ข่าวสารต่างๆ พร้อมด้วยระบบยืม-คืน คอมพิวเตอร์พร้อมอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงสำหรับนักเรียนเพื่อใช้สืบค้นหาข้อมูลและหาความรู้
  • โรงอาหาร มีร้านอาหารร่วม 20 ร้าน ซึ่งมีทั้งข้าว, ก๋วยเตี๋ยว, เบเกอร์รี่, ผลไม้, เครื่องดื่ม และไอศกรีม
  • สหกรณ์การค้า จำหน่ายขนม และน้ำ รวมถึงอุปกรณ์เครื่องเขียน นอกจากนี้โรงเรียนพนัสพิทยาคารมีจุดจำหน่ายขนม และน้ำ เพิ่มเติมอีก 2 จุดในโรงเรียน
  • ธนาคารโรงเรียน เป็นธนาคารโรงเรียนสนับสนุนโดยธนาคารออมสิน
  • เรือนพยาบาล เป็นสถานที่รักษาพยาบาลเบื้องต้นแก่นักเรียน
  • สนามกีฬากลางแจ้ง เป็นสนามฟุตบอลดิน โดยรอบๆสนามจะมีลู่วิ่งขนาดมาตรฐาน เป็นสถานที่ประกอบกิจกรรมต่างๆของโรงเรียน
  • สนามกีฬาในร่ม เป็นสนามกีฬาวอลเลย์บอล บาสเกตบอล เซปักตะกร้อ และอื่นๆ
  • ศาลากลางน้ำ โดยปัจจุบันเป็นศูนย์การเรียนรู้ท้องถิ่นในอำเภอพนัสนิคม
  • ศาลารวมใจ เป็นสถานที่พักผ่อนของนักเรียน
  • ความปลอดภัย ภายในโรงเรียนมีระบบความรักษาความปลอดภัยอย่างดี มีกล้องวงจรปิดภายในอาคาร มีป้อมยาม 2 ป้อม รวมถึงมีระบบสแกนบัตรนักเรียน บริเวณหน้าและหลังโรงเรียน
  • Wi-Fi ปัจจุบันทางโรงเรียนมีการติดตั้ง Wi-Fi ในจุดต่างๆเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับครู และนักเรียนในโรงเรียน

รายนามผู้บริหารโรงเรียน[แก้]

ทำเนียบผู้อำนวยการโรงเรียน[แก้]

คนที่ รายนาม วาระการดำรงตำแหน่ง ตำแหน่ง สาเหตุพ้นจากตำแหน่ง
1 นายเจียม รุธิระกุล 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2497 – กันยายน พ.ศ. 2513 ครูใหญ่, อาจารย์ใหญ่ เกษียณอายุราชการ
2 นายประสงค์ จันทราปัตย์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2513 – 30 กันยายน พ.ศ. 2516 อาจารย์ใหญ่ เกษียณอายุราชการ
3 นายสพัสดิ์ พูลผล 1 ตุลาคม พ.ศ. 2516 – 1 เมษายน พ.ศ. 2518 อาจารย์ใหญ่
4 นายเฉลิมชัย รัตนกรี 2 เมษายน พ.ศ. 2518 – 19 มิถุนายน พ.ศ. 2529 อาจารย์ใหญ่ รับตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนพระโขนงพิทยาลัย
5 นายชุมพล ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา 19 มิถุนายน พ.ศ. 2529 – 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 ผู้อำนวยการโรงเรียน รับตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนสิงห์สมุทร
6 นายชะนะ กมลานนท์ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 – 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535 ผู้อำนวยการโรงเรียน รับตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนชลราษฎรอำรุง
7 นายชัยศักดิ์ ประพันธ์ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535 – 30 กันยายน พ.ศ. 2539 ผู้อำนวยการโรงเรียน เกษียณอายุราชการ
8 นายสมดุล ทำเนาว์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2539 – 5 มกราคม พ.ศ. 2542 ผู้อำนวยการโรงเรียน รับตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนสัตหีบวิทยาคม
9 นายวิเชียร อิ่มเอิบ 7 มกราคม พ.ศ. 2542 – 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 ผู้อำนวยการโรงเรียน
10 นายวิศัลย์ โกมุทพงศ์ 1 มีนาคม พ.ศ. 2542 – 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 ผู้อำนวยการโรงเรียน รับตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า
11 นายอภิสิทธิ์ รื่นจิตร์ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 – 17 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ผู้อำนวยการโรงเรียน รับตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนชลราษฎรอำรุง
12 นายอุทัย สิงห์โตทอง 22 ตุลาคม 2551 – 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ผู้อำนวยการโรงเรียน รับตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนชลราษฎรอำรุง
13 นายมนูญ เชื้อชาติ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 – 30 กันยายน พ.ศ. 2559 ผู้อำนวยการโรงเรียน เกษียณอายุราชการ
14 นายอัมพร อิสสรารักษ์ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2559 – ตุลาคม พ.ศ. 2561 ผู้อำนวยการโรงเรียน รับตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนชลราษฎรอำรุง
15 นายสุพัฒน์ จิรัสคามิน ตุลาคม พ.ศ. 2561 – ปัจจุบัน ผู้อำนวยการโรงเรียน

หลักสูตรการศึกษา[แก้]

หลักสูตรการศึกษาโรงเรียนพนัสพิทยาคาร ปีการศึกษา 2563

ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีจำนวน 39 ห้องเรียน แบ่งเป็นห้องเรียนปกติ 23 ห้องเรียน, โครงการห้องเรียนภาษาจีน 3 ห้องเรียน, โครงการห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษ 3 ห้องเรียน และโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ 9 ห้องเรียน

ห้องเรียนปกติ
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นมีห้องเรียนปกติ จำนวน 23 ห้องเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึง 2 ระดับชั้นละ 8 ห้องเรียน คือ ห้องเรียนที่ 4 ถึง ห้องเรียนที่ 10 และห้องเรียนที่ 13 และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 7 ชั้นเรียน คือ ห้องเรียนที่ 4 ถึง ห้องเรียนที่ 10
โครงการห้องเรียนภาษาจีน
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นมีโครงการห้องเรียนภาษาจีน จำนวน 3 ห้องเรียน ระดับชั้นละ 1 ห้องเรียน คือ ห้องเรียนที่ 3
โครงการห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษ EP
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นมีโครงการห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษ จำนวน 3 ห้องเรียน ระดับชั้นละ 1 ห้องเรียน คือ ห้องเรียนที่ 11
โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ สสวท.
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นมีโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ จำนวน 9 ห้องเรียน ระดับชั้นละ 3 ห้องเรียน คือ ห้องเรียนที่ 1 (เน้นภาษาอังกฤษ SME) ห้องเรียนที่ 2 (ห้องควีน) และห้องเรียนที่ 12 (ห้องคิง)

ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย มีจำนวน 36 ห้องเรียน แบ่งเป็นห้องเรียนสายวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ จำนวน 21 ห้องเรียน และห้องเรียนสายภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ จำนวน 15 ห้องเรียน

ห้องเรียนสายวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมีห้องเรียนสายวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ จำนวน 21 ห้องเรียน แบ่งเป็น ห้องเรียนปกติ 15 ห้องเรียน โครงการห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษ 3 ห้องเรียน และโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ 3 ห้องเรียน
ห้องเรียนปกติ
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมีห้องเรียนปกติสายวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ จำนวน 15 ห้องเรียน ระดับชั้นละ 5 ห้องเรียน คือ ห้องเรียนที่ 2 (ห้องคิง) ถึง ห้องเรียนที่ 6
โครงการห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษ MEP
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมีโครงการห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษสายวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ จำนวน 3 ห้องเรียน ระดับชั้นละ 1 ห้องเรียน คือ ห้องเรียนที่ 7
โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ SMTE
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมีโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 ห้องเรียน ระดับชั้นละ 1 ห้องเรียน คือ ห้องเรียนที่ 1
ห้องเรียนสายภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมีห้องเรียนสายภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ จำนวน 15 ห้องเรียน แบ่งเป็น ห้องเรียนปกติ 12 ห้องเรียน และโครงการห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษ 3 ห้องเรียน
ห้องเรียนปกติ
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมีห้องเรียนปกติสายภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ จำนวน 12 ห้องเรียน ระดับชั้นละ 4 ห้องเรียน คือ ห้องเรียนที่ 9 ถึง ห้องเรียนที่ 12
โครงการห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษ IEP
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมีโครงการห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษสายภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ จำนวน 3 ห้องเรียน ระดับชั้นละ 1 ห้องเรียน คือ ห้องเรียนที่ 8

แนวการศึกษาต่อระดับอุดมศีกษา[แก้]

เมื่อจบตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนพนัสพิทยาคารแล้ว ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถศึกษาต่อในระดับอุดมศีกษาผ่านทาง

  • การสอบคัดเลือกจากระบบส่วนกลาง
  • การสอบคัดเลือกจากระบบรับตรง

ที่ให้สิทธิแก่นักเรียนจากโรงเรียนพนัสพิทยาคารเข้าสอบคัดเลือกในระบบรับตรงของมหาวิทยาลัยต่างๆ เช่น มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชลบุรี เป็นต้น

ศิษย์เก่า[แก้]

สมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนพนัสพิทยาคาร[แก้]

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง[แก้]

รายนามศิษย์เก่าที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาดุษฎี

ดร.ประภากร อัศวศิลาวสุกุล สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาดุษฎี สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน ประเทศสหรัฐอเมริกา

สถานที่ใกล้เคียง[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]