ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประสงค์ คุณะดิลก"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Xiengyod~commonswiki (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 55: บรรทัด 55:
[[หมวดหมู่:ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.]]
[[หมวดหมู่:ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.]]
[[หมวดหมู่:ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.]]
[[หมวดหมู่:ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.]]
[[หมวดหมู่:สกุลคุณะดิลก]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:51, 9 สิงหาคม 2563

ประสงค์ คุณะดิลก
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
ดำรงตำแหน่ง
12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 – 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2522
นายกรัฐมนตรีพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
ดำรงตำแหน่ง
24 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 – 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ดำรงตำแหน่ง
11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 – 3 มีนาคม พ.ศ. 2523
นายกรัฐมนตรีพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดพ.ศ. 2458
เสียชีวิตพ.ศ. 2532

พลอากาศเอก ประสงค์ คุณะดิลก (พ.ศ. 2458 - พ.ศ. 2532)[1] เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาลพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์

ประวัติ

พล.อ.อ.ประสงค์ เป็นทหารอากาศชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกองบิน 1 เมื่อปี พ.ศ. 2490[2] เคยร่วมรบในสงครามไทย-ฝรั่งเศส

หลังการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2519 พล.อ.อ.ประสงค์ ได้รับแต่งตั้งจากหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ให้ทำหน้าที่กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ (ป.ป.ป.)[3]

พล.อ.อ.ประสงค์ ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520[4] ต่อมาในรัฐบาลใหม่ของพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม[5] และหลังจากมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจและลงมติเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 เขาได้ปรับไปรับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม[6] แทน ประสิทธิ์ ณรงค์เดช ซึ่งถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. พระศรีวิสุทธิกวี (พิจิตร), ตายแล้วไปไหน / โดย ฐิตวณฺโณ ภิกขุ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย, 2532
  2. ทำเนียบผู้บังคับบัญชา กองบิน 1
  3. คำสั่งหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ที่ ๔๕/๒๕๑๙ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๓ ราย)
  5. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๔ ราย)
  6. พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๗ ราย)
  7. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์