ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บุญสม มาร์ติน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 91: บรรทัด 91:
[[หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.]]
[[หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.]]
[[หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ.ว. (ฝ่ายหน้า)]]
[[หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ.ว. (ฝ่ายหน้า)]]
[[หมวดหมู่:ชาวไทยเชื้อสายอังกฤษ]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:08, 25 สิงหาคม 2558

บุญสม มาร์ติน
ไฟล์:Boonsom Martin.jpg
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2520 – พ.ศ. 2523
นายกรัฐมนตรีเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
ก่อนหน้าภิญโญ สาธร
ถัดไปสิปปนนท์ เกตุทัต
อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ดำรงตำแหน่ง
24 มิถุนายน พ.ศ. 2514 – 1 มกราคม พ.ศ. 2516
ก่อนหน้าศ.ดร.บัวเรศ คำทอง
ถัดไปศ.น.อ.นพ.ตะวัน กังวานพงศ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด19 กันยายน พ.ศ. 2465
ประเทศไทย
เสียชีวิต9 มิถุนายน พ.ศ. 2551 (อายุ 85 ปี)
ศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ บุญสม มาร์ติน (19 กันยายน พ.ศ. 2465 - 9 มิถุนายน พ.ศ. 2551) แพทย์ชาวไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้บุกเบิกการเรียนการสอนวิชาพลศึกษา ได้รับการยกย่องเป็น “บิดาของการพลศึกษาแผนใหม่ของไทย”

ประวัติ

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ บุญสม มาร์ติน เกิดเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2465 เป็นลูกครึ่งไทย-อังกฤษ[1] สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย[2] โรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง โรงเรียนอัสสัมชัญ[3] แพทยศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2488 และได้เป็นอาจารย์ในภาควิชาอายุรศาสตร์อยู่ในระยะสั้น ๆ แล้วจึงย้ายไปอยู่สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมได้ทุนไปศึกษาต่อที่ประเทศสหรัฐอเมริกา จนได้รับปริญญามหาบัณฑิตทางสาธารณสุขศาสตร์และโรคเมืองร้อนจากมหาวิทยาลัยทูเลน เมื่อปี พ.ศ. 2492

เมื่อกลับจากศึกษาต่างประเทศมาแล้ว ได้เข้ามาปฏิบัติงานในกระทรวงศึกษาธิการ และได้รับมอบหมายให้ดูแลงานพลศึกษา จนได้ดำรงตำแหน่งสำคัญหลายระดับของกระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่อาจารย์ใหญ่โรงเรียนฝึกหัดครูพลศึกษา โรงเรียนฝึกหัดครูพลานามัย ผู้อำนวยการ วิทยาลัยพลศึกษา รองอธิการวิทยาลัยวิชาการศึกษาพลศึกษา ไปจนถึงตำแหน่งสูงสุด คือ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ รวมทั้งยังได้มีโอกาสรับใช้ประเทศชาติในการบริหารราชการแผ่นดินในระดับรัฐบาลอยู่หลายสมัย โดยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ[4] และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข 1 สมัย

นอกจากนี้แล้ว ยังเคยเป็นนักฟุตบอลทีมชาติไทยในปี พ.ศ. 2489 อีกด้วย[5]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. "ทริสตอง โด : แข้งลูกครึ่งไทยยุคใหม่ผู้ถูกค้นพบโดยเกม FM!". FourFourTwo. 25 สิงหาคม 2558. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. Lampang Soccer Hall of Fame
  3. http://www.acn.ac.th/2009/gymkhana/history.html
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๓ ราย)
  5. รายชื่อนักฟุตบอล จากมูลนิธินักฟุตบอลทีมชาติไทย
  6. ราชกิจจานุเบกษาแจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓ เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๑๑ ๓๑ มกราคม ๒๕๒๒
  7. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ (จำนวน ๑๔ ราย) เล่ม ๑๐๕ ตอน ๙๕ ง ฉบับพิเศษ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๑ หน้า ๒

แหล่งข้อมูลอื่น

  • วารสารมิตรครู, ฉบับที่ 12, ปักษ์แรก วันที่ 15 ตุลาคม 2523, หน้า 12-13
ก่อนหน้า บุญสม มาร์ติน ถัดไป
ศาสตราจารย์ ดร.บัวเรศ คำทอง ไฟล์:CMU Logo.png
อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
(24 มิถุนายน พ.ศ. 2514 - 1 มกราคม พ.ศ. 2516)
ศาสตราจารย์ นาวาอากาศเอก
นายแพทย์ ตะวัน กังวานพงศ์