โรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
โรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง Assumption College Lampang | |
---|---|
ที่ตั้ง | |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | อ ส ช, ACL |
ประเภท | โรงเรียนเอกชน |
คำขวัญ | LABOR OMNIA VINCIT วิริยะ อุตสาหะ นำมาซึ่งความสำเร็จ |
สถาปนา | 10 กุมภาพันธ์ 2502 (64 ปี 49 วัน) |
ผู้อำนวยการ | ภราดาดร.วิศิษฐ์ ศรีวิชัย |
สี | น้ำเงิน และขาว |
เพลง | สดุดีอัสสัมชัญ |
เว็บไซต์ | http://www.acl.ac.th |
โรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง[1] (อังกฤษ: Assumption college Lampang) เป็นสถาบันการศึกษาอันดับที่ 7 ในจำนวน 14 สถาบันในกำกับมูลนิธิคณะภราดาเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน ดำเนินการสอนสืบเนื่องมาโดยภราดาคณะเซนต์คาเบรียล มีจุดมุ่งหมายแรกเริ่มที่จะสอนให้เยาวชนอ่านออก เขียนได้คิดเลขเป็น และมีหลักศาสนาเป็นแนวทางให้ประพฤติตนเป็นคนดี
ปัจจุบันตั้งอยู่ เลขที่ 294/1 ถนนฉัตรไชย ตำบลสบตุ๋ย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง 52100
ประวัติ[แก้]
บาทหลวงเอเตียน กรางซ์ ชาวฝรั่งเศส ผู้ดูแลโรงเรียนอรุโณทัย อธิการโบสถ์คาทอลิกลำปาง ได้เสนอให้ภราดายอห์น แมรี อธิการเจ้าคณะแขวงคณะภราดาเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย มาเปิดโรงเรียนสาขาของมูลนิธิฯ ที่ลำปางเพื่อรับเฉพาะนักเรียนชาย ท่านอธิการใหญ่นำเสนอต่อกรรมการมูลนิธิคณะภราดาเซนต์คาเบรียล
โรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง ก่อตั้งเมื่อ ปี พ.ศ. 2501 โดยรับแยกโอนนักเรียนชายจากโรงเรียนอรุโณทัยมาดำเนินการ บนเนื้อที่ 18 ไร่ มีนักเรียนทั้งสิ้นเพียง 210 คน ภราดา 4 คน ครูชาย 5 คน และได้รับอนุญาตจากกระทรวงศึกษาธิการให้ชื่อว่า “โรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง” เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2502 ตามใบอนุญาตเลขที่ 1/2502 เปิดสอนตั้งแต่ชั้น ป.1 – ม.6 โดยมีภราดาเซราฟิน เป็นอธิการคนแรก และภราดาฟิลิป อำนวย ปิ่นรัตน์ เป็นครูใหญ่และผู้จัดการ มูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทยได้จัดให้ ภราดามาดำรงตำแหน่ง อธิการทำหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการของโรงเรียน เนื้อที่ของโรงเรียน โรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง มีเนื้อที่ทั้งหมด 59 ไร่ 1 งาน 35 ตารางวา
ข้อมูลโรงเรียน[แก้]
- โรงเรียนอัสสัมชัญลำปางตั้งอยู่เลขที่ 294/1 ถนนฉัตรไชย ตำบลสบตุ๋ย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง ก่อตั้งเมื่อ ปี พ.ศ. 2501 โดยรับแยกโอนนักเรียนชายจากโรงเรียนอรุโณทัยมาดำเนินการบนเนื้อที่ 18 ไร่ มีนักเรียนเพียง 210 คน ภราดา 4 องค์ ครูชาย 5 คน ชุดนักเรียนเป็นเสื้อสีขาว กางเกงขาสั้นสีกากี รองเท้าสีน้ำตาล ถุงเท้าขาว และได้รับอนุญาตจากกระทรวงศึกษาธิการ ให้ชื่อว่า “ โรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง ” เมื่อ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2502 ตามใบอนุญาตเลขที่ 1/2502 เปิดสอนตั้งแต่ชั้น ป.1 – ม.6 โดยมี ภราดาเซราฟิน (ชาวสเปน)เป็นอธิการคนแรก และภราดาฟิลิป (อำนวย ปิ่นรัตน์) เป็นครูใหญ่และผู้จัดการ มูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียล แห่งประเทศไทย ได้จัดให้ภราดา มาดำรงตำแหน่ง อธิการทำหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการของโรงเรียน
- ปีการศึกษา 2505 เปลี่ยนเครื่องแบบนักเรียนเป็นเสื้อสีขาว กางเกงขาสั้นสีน้ำเงิน รองเท้าสีดำ ถุงเท้าขาว พร้อมทั้งเปลี่ยนวันปิดเรียน ประจำสัปดาห์ จากวันพฤหัสบดีกับวันอาทิตย์ มาเป็นวันเสาร์และวันอาทิตย์
- ปีการศึกษา 2509 เปิดการสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4) แผนกศิลปะเป็นรุ่นแรก จำนวน 1 ห้องเรียน รับเฉพาะนักเรียนชาย จำนวน 30 คน
- ปีการศึกษา 2524 เปิดรับนักเรียนประเภทสหศึกษา และได้รับคัดเลือกจากกระทรวงศึกษาธิการ ให้เป็นโรงเรียนดีเด่น รับรางวัลพระราชทาน ระดับมัธยมศึกษา ประจำปีการศึกษา 2524 เขตการศึกษา 8
- ปีการศึกษา 2543 ได้รับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาภายในโรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญศึกษา ระดับก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษา มัธยมศึกษา จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน (สช.) มีระยะเวลา 5 ปี เริ่มตั้งแต่ปีการศึกษา 2543 - 2547
- โรงเรียนอัสสัมชัญลำปางเปิดสอนวิชาสามัญตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 1 ถึงระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6 เน้นคุณธรรมจริยธรรม ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และคอมพิวเตอร์
- ปัจจุบันโรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง มีห้องเรียน 98 ห้องเรียน นักเรียน 4,318 คน เป็นนักเรียนชาย 2,551 คน นักเรียนหญิง 1,767 คน ครู 276 คน เป็นภราดา 4 องค์ ครูชาย 61 คน ครูหญิง 211 คน มีอาคารเรียน 8 หลัง อาคารประกอบการเรียน 6 หลัง และมีเนื้อที่ทั้งหมด 53 ไร่ 3 งาน 4 ตารางวา
ความหมายของตราโรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง[แก้]
ตราโรงเรียน มีรูปร่างลักษณะใจกลางของเครื่องหมายเป็นรูปโล่ แบ่งออกเป็นสี่ซีกส่วนบนสองซีกส่วนล่างสองซีก ดังรูป ตรานี้เป็นตราของ “ คณะภราดาเซนต์คาเบรียล ”และสถาบันการศึกษาทั้งหมดในเครืออัสสัมชัญเซนต์คาเบรียล ได้ใช้เป็นตราประจำสถาบันร่วมกัน
ตรานี้จึงเป็นเครื่องแสดงถึงเอกลักษณ์และความสามัคคีของมวลสมาชิกทั้งหลายเป็นที่รวม หัวใจผู้มีเลือดอัสสัมชัญเซนต์คาเบรียล ให้อยู่ ภายใต้สำนึกแห่งการประพฤติปฏิบัติร่วมกัน นอกจากความสำคัญอันเป็นนามธรรมดังกล่าวแล้ว ส่วนต่าง ๆ ของตรานี้ยังมีความหมายเป็นทั้ง คติธรรมและแนวทางที่จะนำทุกคนไปสู่จุดมุ่งหมายสูงสุดของการศึกษาของคณะภราดาเซนต์คาเบรียล อีกด้วย
โล่ หรือ Coat of Arms[แก้]
ที่อยู่ใจกลางของตรานี้ เป็นเครื่องหมายแสดงถึงเกียรติประวัติอันยาวนานและยั่งยืนของสถาบันอัสสัมชัญเซนต์คาเบรียลที่สถาบันของเราได้รับจากพระเจ้าแผ่นดินผู้ครองอำนาจทั้งในและนอกประเทศ ภายในโล่แบ่งเป็น 4 ส่วน แต่ละส่วน มีความหมายเชื่อมโยงกันดังนี้
A.M. และ ช่อดอกซ่อนกลิ่นสีขาว[แก้]
A.M. มาจากคำละตินว่า "Ave Marie" หมายถึง "วันทา มารี" พระนางมารีย์พรหมจารีมารดาของพระเยซูคริสต์ หรืออีกนัยหนึ่ง A.M. หมายถึง "Alma Mater" หมายถึง "โรงเรียนแม่" — ส่วนดอกซ่อนกลิ่น แสดงถึงความบริสุทธิ์ผุดผ่อง ที่นักเรียนทุกคนต้องพยายามทำตนให้เป็นผู้บริสุทธิ์ทั้งกาย วาจา และ ใจ อยู่เสมอไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตาม — ในส่วนนี้จึงมีความหมายรวมว่า โรงเรียนเปรียบเสมือนบ้านเกิดที่ทุกคนเป็นสมาชิกในครอบครัว มีพระนางมารีอาเป็นที่รักเคารพและบูชาร่วมกันไม่แยกแยะว่าใครมีหรือจน ความรักและความสุขที่มีต่อครอบครัว ต่อแม่ที่มีร่วมกันเป็นความบริสุทธิ์ทั้งกาย วาจา และใจเสมอ ละรักใคร้สามัคคี ไม่ว่าอยู่ ณ ที่แห่งใด
รูปเรือใบ และ ดาวเหนือเรือ[แก้]
เปรียบได้กับ "นาวาชีวิต" ที่จะต้องต่อสู้คลื่นลมและแสงแดดไปจนถึงฝั่ง เป็นคติให้ได้คิดเสมอว่า "ชีวิตคือการต่อสู้" มีดวงดาวอยู่ในท้องฟ้าเหนือเรือที่กำลังสู้คลื่นลม หมายถึงแสดงแห่งความหวัง ได้แก่ แสงธรรมแห่งศาสนา กับแสดงแห่งปัญญา จากสรรพวิทยาการที่ได้รับจากโรงเรียนรวมกันเป็นดวง ประทีป ส่องนำชีวิต (คือคนที่อยู่ในเรือ) ไปสู่จุดหมายปลายทางได้ด้วยคุณธรรม และปัญญา
อักษร DS และไม้กางเขน[แก้]
ย่อจากภาษาฝรั่งเศส "Dieu Seul" หมายความว่า จะทำงานทุกอย่างเพื่อเป็นสิริมงคลแก่พระเจ้า เป็นคติพจน์ของนักบุญหลุยส์ เดอ มงฟอร์ ผู้สถาปนาคณะภราดาเซนต์คาเบรียล — โดยอีกนัยหนึ่ง D หรือ Divinity หมายถึงศาสนา ซึ่งเราทุกคนต้องมีศาสนาเป็นหลักยึดเหนี่ยวจิตใจ, เครื่องหมายไม้กางเขน เป็นเครื่องหมายแห่งความรัก และความเสียสละ ดังที่พระคริสต์ได้ทรงสละชีวิตของพระองค์ด้วยความรัก ที่จะช่วยไถ่บาปให้แก่มวลมนุษย์, S หรือ Science หมายถึงวิทยาการ ความรู้ที่ทำให้เรามีเหตุผล เราทุกคนควรจะมุ่งหาความรู้อยู่เสมอ ยิ่งเรามีความรู้ฝ่ายโลกมากขึ้นเท่าได เราก็ยิ่งควรสนใจหาความรู้ฝ่ายธรรมให้มากขึ้นเท่านั้น
สำหรับพวงดอกไม้ที่ประดับโล่ เป็นมาลัยเกียรติยศที่จะเตือนใจทุกคนให้กระทำความดีให้เชิดชู และจรรโลงไว้ซึ่งเกียรติยศ ชื่อเสียงของสถาบันมิให้เสื่อมสูญสลายไป
เกียรติประวัติของโรงเรียน[แก้]
1. โรงเรียนได้รับมาตรฐานคุณภาพการศึกษา จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ ระดับก่อนประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา ตั้งแต่ปีการศึกษา 2543 ถึง ปีการศึกษา 2547
2. โรงเรียนรางวัลชนะเลิศระดับจังหวัด ระดับประถมศึกษาขนาดใหญ่ และระดับมัธยมศึกษาขนาดกลาง เพื่อรับรางวัลพระราชทานปีการศึกษา 2544
3. วงโยธวาทิตของโรงเรียนได้รับรางวัลเหรียญทอง จากการประกวดคอนเสิร์ตแบนด์นักเรียนแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 3 ประจำปีการศึกษา 2544
4. วงโยธวาทิตของโรงเรียนได้รับรางวัลรองชนะเลิศ ถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และรางวัลความสามารถระดับเหรียญทอง ในการประกวดวงคอนเสิร์ตแบนด์นักเรียนแห่งประเทศไทย ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
5. วงโยวาทิตโรงเรียนได้รับรางวัลชนะเลิศ ถ้วยพระราชทานสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร รางวัลความสามารถระดับเหรียญทอง รางวัลความสามารถ ดีเด่นประจำวัน และ รางวัลชนะเลิศการบรรเลงดนตรีสนามดีเด่น ในการประกวดวงโยธวาทิต นักเรียน นิสิต นักศึกษาชิงถ้วยพระ
โชเล่ยื
ราชทานฯ ครั้งที่ 21 ประจำปีพุทธศักราช 2545
6. วงโยธวาทิตโรงเรียนได้รับรางวัลรองชนะเลิศ ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในการประกวดดุริยางค์เครื่องเป่านานาชาติ ครั้งที่ 4 ประจำปีพุทธศักราช 2547
7. วงโยธวาทิตได้รับรางวัลความสามารถระดับเหรียญทอง ในการประกวดวงโยธวาทิตนักเรียนแห่งประเทศไทย ชิงถ้วยพระราชทาน ครั้งที่ 8 ประจำปีพุทธศักราช 2547
8. วงโยธวาทิตได้รับรางวัลชนะเลิศ ถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในการประกวดดุริยางค์เครื่องเป่านานาชาติ ครั้งที่ 6 ประจำปีพุทธศักราช 2547
9. วงโยธวาทิตได้รับรางวัลรองชนะเลิศ และ รางวัลความสามารถระดับเหรียญทอง ในการประกวดวงโยธวาทิตนักเรียนแห่งประเทศไทย ชิงถ้วยพระราชทานฯ ครั้งที่ 10 ประจำปีพุทธศักราช 2548
10. วงโยธวาทิตได้รับรางวัลความสามารถระดับเหรียญทอง ประเภทนั่งบรรเลง จากการประกวดวงโยธวาทิต ประเภทนั่งบรรเลง ระดับมัธยมศึกษาเขตภาคเหนือ และรองชนะเลิศอันดับ 2 ระดับประเทศ จากการแข่งขันวงโยธวาทิตประเภทนั่งบรรเลง ประจำปีพุทธศักราช 2549
11. โรงอาหารมาตรฐานระดับดีมาก จากกรมอานมัย กระทรวงศึกษาธิการ
12. โรงเรียนกิจกรรมดีเด่นระดับเหรียญทอง " กิจกรรมโยคะมหัศจรรย์ " จาก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำปาง เขต 1
13. รางวัลโรงเรียนพระราชทาน ระดับก่อนประถมศึกษาขนาดใหญ่ ของกระทรวงศึกษาธิการ 2548
14. รางวัลพระราชทานห้องสมุดดีเด่น ของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย
15. รางวัลชนะเลิศระดับเหรียญทอง โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพดีเด่น จากมาตรฐานสุขภิบาล กรมอนามัย
16. อัสสัมชัญเนอสเซอรี่ ได้รับการรับรองมาตรฐานศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่ระดับ ดีมาก จาก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำปาง ประจำปีพุทธศักราช 2551