มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
![]() ตราพระราชลัญจกร สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย | |
ชื่อย่อ | มจษ. / CRU |
---|---|
คติพจน์ | ความรู้ดี มีคุณธรรม นำชุมชนพัฒนา |
ประเภท | สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ |
สถาปนา | 9 กันยายน พ.ศ. 2483 |
ผู้สถาปนา | หม่อมหลวงมานิจ ชุมสาย |
งบประมาณ | 793,681,300 บาท (พ.ศ. 2562) |
นายกสภาฯ | ดร.บุญปลูก ชายเกตุ |
อธิการบดี | รองศาสตราจารย์ ดร.สุมาลี ไชยศุภรากุล |
รองอธิการบดี |
|
คณบดี |
|
อาจารย์ | 369 คน (พ.ศ. 2562) |
เจ้าหน้าที่ | 371 คน (พ.ศ. 2562) |
ปริญญาตรี | 8,987 คน (พ.ศ. 2562) |
บัณฑิตศึกษา | 198 คน (พ.ศ. 2562) |
ที่ตั้ง | มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม (รัชดาภิเษก) 39/1 ถนนรัชดาภิเษก แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม-ชัยนาท หมู่ 7-8 ตำบลแพรกศรีราชา อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท 17140 |
สี | ████ สีเทา สีเหลือง |
มาสคอต | ประตูจันทร์ |
เว็บไซต์ | www.chandra.ac.th |
![]() |
มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม (อังกฤษ: Chandrakasem Rajabhat University; อักษรย่อ: มจษ. – CRU) เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐบาล ตั้งอยู่ที่เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2483
ในปัจจุบัน มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา เปิดสอนในระดับปริญญาตรี ภาคในเวลาราชการและนอกเวลาราชการ และเปิดสอนในระดับบัณฑิตศึกษาทั้งปริญญาโท และปริญญาเอก เน้นการผลิตบัณฑิต ที่มีคุณลักษณะตรงตามความต้องการของสังคมในทุกสถานการณ์ คณาจารย์และบุคลากรมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนมีการจัดการเรียนการสอน การพัฒนาเทคโนโลยีและระบบสารสนเทศ ให้เป็นมหาวิทยาลัยที่มีมาตรฐานสากล
ประวัติ[แก้]
- มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2483 เดิมเป็นโรงเรียนฝึกหัดครูมัธยมแห่งแรกของประเทศไทย เพื่อรองรับการผลิตครูระดับประกาศนียบัตรประโยคครูมัธยม (ป.ม.) โดยมี มล. มานิจ ชุมสาย เป็นอาจารย์ใหญ่คนแรกและจัดให้มีการเรียนการสอนโดยใช้อาคารเรียนในเขตวังจันทรเกษม ด้านหลังกระทรวงศึกษาธิการ จึงเรียกกันติดปากว่า ป.ม.หลังกระทรวง
- พ.ศ. 2501 ยกฐานะเป็นวิทยาลัยครู ตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ เปลี่ยนหลักสูตรการผลิตครูจาก ป.ม. เป็น ป.กศ. ชั้นสูง (ประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง) และย้ายจากสถานที่ตั้งเดิมมาอยู่ที่ซอยสังขะวัฒนะ 2 (ซอยลาดพร้าว 23) ตำบลลาดยาว (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นแขวงจันทรเกษม) เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร มีเนื้อที่ 89 ไร่ 88 ตารางวา ซึ่งเป็นที่ตั้งปัจจุบัน และใช้ชื่อว่า วิทยาลัยครูจันทรเกษม
- พ.ศ. 2534 ได้รับรางวัลพระราชทานสถาบันการศึกษาดีเด่นระดับอุดมศึกษา จากกระทรวงศึกษาธิการ
- 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระราชทานนามใหม่เป็น สถาบันราชภัฏจันทรเกษม
- 24 มกราคม พ.ศ. 2538 พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และมีผลบังคับใช้วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2538
- 14 มิถุนายน พ.ศ. 2547 พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและมีผลบังคับใช้ในวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ 2547 ยกฐานะเป็น มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม[1]
สัญลักษณ์มหาวิทยาลัย[แก้]
ตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย[แก้]
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชลัญจกรประจำพระองค์ ลงมาเป็นตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย ตามหนังสือสำนักราชเลขาธิการลงวันที่ 6 มีนาคม พุทธศักราช 2538
ตราสัญลักษณ์ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน มีลักษณะเป็นรูปวงรี ภายในประกอบเป็นรูป ดังนี้
พระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์
วงจักร กลางวงจักรมี อักขระเป็น อุ หรือเลข ๙ รอบวงจักรมีรัศมีเปล่งออกโดยรอบ
สัปตปฎลเศวตฉัตร ตั้งอยู่บน พระที่นั่ง (แปลความหมายว่า ทรงมีพระบรมเดชานุภาพในแผ่นดิน) โดยวันที่บรมราชาภิเษกตามโบราณราชประเพณี ทรงเสด็จประทับเหนือ พระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ และสมาชิกรัฐสภาถวายน้ำอภิเษกจากทิศทั้งแปด
มีวงรีอีกวงหนึ่งเป็นกรอบรอบพระราชลัญจกร ด้านบนจารึกชื่อเป็นภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม และด้านล่างจารึกชื่อเป็นภาษาอังกฤษ Chandrakasem Rajabhat University
สีและความหมายในตราสัญลักษณ์[แก้]
██ สีน้ำเงิน แทน สถาบันพระมหากษัตริย์ผู้ให้กำเนิดและพระราชทานนาม “ราชภัฏ”
██ สีเขียว แทน แหล่งที่ตั้งของมหาวิทยาลัยซึ่งอยู่ในพื้นที่แหล่งธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สวยงาม
██ สีทอง แทน ความเจริญรุ่งเรืองทางภูมิปัญญา
██ สีส้ม แทน ความรุ่งเรืองทางศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ก้าวไกลในมหาวิทยาลัย
██ สีขาว แทน ความคิดอันบริสุทธิ์ของนักปราชญ์แห่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
สีประจำมหาวิทยาลัย[แก้]
เทา - เหลือง
ดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัย[แก้]
แคฝรั่ง
พระพุทธรูปและสถานที่สำคัญ[แก้]
พระศรีศากยะทศพลญาณประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์ (องค์ต้นแบบ)[แก้]
พระพุทธรูปปางลีลา พุทธลักษณะทรงยกพระบาทขวาจะก้าว ห้อยพระหัตถ์ขวาท่าไกว พระหัตถ์ซ้ายยกเสมอพระอุระป้องไปเบื้องหน้าเป็นกิริยาเดิน ศิลปะสุโขทัยประยุกต์ ประดิษฐาน ณ ธรรมศาลา ลานธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ออกแบบและปั้น โดย ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี
หลวงพ่อใหญ่[แก้]
พระพุทธรูปปางปฐมเทศนา พุทธประธานลานธรรม พระพุทธรูปสมัยอยุธยาตอนปลาย สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก (เจริญ สุวัฒโณ) ทำพิธีเบิกเนตร และบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในเปลวพระเศียร พระพุทธรูปประดิษฐานบนฐานบัวหงาย ฉากหลังสลักภาพปริศนาธรรม พุทธประวัติ จากดินด่านเกวียน
ประตูจันทร์[แก้]
ซุ้มประตูวังจันทรเกษม (จำลอง) สัญลักษณ์อดีตอันรุ่งเรืองโรงเรียนฝึกหัดครูมัธยม และที่มาแห่งนาม จันทรเกษม ตามสนุทรพจน์ของ ศาสตราจารย์ มล.ปิ่น มาลากุล ตอนหนึ่งว่า “การที่กระทรวงศึกษาธิการ ได้ยกนาม จันทรเกษม ให้แก่สถาบันแห่งนี้ เพราะได้ระลึกถึงความจริง ที่สถาบันแห่งนี้เคยตั้งอยู่ในเขตวังจันทรเกษม มีความผูกพันกับกระทรวงศึกษาธิการมากเป็นพิเศษ”
หอนาฬิกา[แก้]
สัญลักษณ์แห่งความรัก สามัคคี ที่อยู่คู่กาลเวลา หอนาฬิกาสีดำ ทรงสี่เหลี่ยม หน้าปัดสีขาวสี่ด้าน ตั้งบนฐานทรงกลม กลางสระน้ำ นายศุภสิทธิ มหาคุณ สร้างให้ เมื่อปีพุทธศักราช 2515
พิพิธภัณฑ์จันทรเกษม[แก้]
ศูนย์การเรียนรู้ประวัติมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม และบูรพาจารย์ของมหาวิทยาลัย ประกอบด้วย ห้องทำเนียบอธิการบดีและประวัติมหาวิทยาลัย ห้องหม่อมหลวงมานิจ ชุมสาย (อาจารย์ใหญ่คนแรก) และห้องศาสตราจารย์ ดร.คุณบรรจบ พันธุเมธา (นักวิชาการด้านภาษาไทย) ตั้งอยู่ที่ ชั้น 4 อาคารนวัตกรรมการศึกษา
คณะ/วิทยาลัย[แก้]
คณะศึกษาศาสตร์[แก้]
- สาขาวิชาจิตวิทยา
- สาขาวิชาพลศึกษา
- สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
- สาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา
คณะวิทยาศาสตร์[แก้]
- สาขาวิชาชีววิทยา
- สาขาวิชาเคมี
- สาขาวิชาฟิสิกส์ (ค.บ. 5 ปี)
- สาขาวิชาคณิตศาสตร์
- สาขาวิชาสถิติประยุกต์
- สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ
- สาขาวิชาอาหารและโภชนากร
- สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
- สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
- สาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย
- สาขาวิชามัลติมีเดียและอีสปอร์ต
- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา
- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ความปลอดภัย
- สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิต
- สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์อุตสาหกรรม
- สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมโยธา
- สาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป (ค.บ. 5 ปี)
- สาขาวิชาคณิตศาสตร์ (ค.บ. 5 ปี)
คณะวิทยาการจัดการ[แก้]
- สาขาวิชาการจัดการธุรกิจ
- สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์
- สาขาวิชาการตลาดดิจิทัล
- สาขาวิชาระบบสารสนเทศทางธุรกิจ
- สาขาวิชาการเงินการลงทุน
- สาขาวิชาบัญชี
- สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ
- สาขาวิชานิเทศศาสตร์ (แขนงวารสารศาสตร์ แขนงการประชาสัมพันธ์ แขนงวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ แขนงการโฆษณา)
- สาขาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
- สาขาวิทยาการประกอบการ
- บริหารธุรกิจ (ปริญญาโท)
- เทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล (ปริญญาโท)
- หลักสูตรระยะสั้นทางบริหารธุรกิจ การบริการ ท่องเที่ยว และนิเทศศาสตร์
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์[แก้]
- สาขาวิชาภาษาไทย
- สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารธุรกิจ
- สาขาวิชาภาษาจีนธุรกิจ
- สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
- สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่นธุรกิจ
- สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ
- สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศสธุรกิจ
- สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- สาขาวิชาดนตรีไทย
- สาขาวิชาดนตรีสากล
- สาขาวิชานาฏศิลป์และศิลปะการแสดง
- สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์
- สาขาวิชาวัฒนธรรมศึกษา
- สาขาวิชาภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์เชิงท่องเที่ยว
- สาขาวิชาศิลปกรรม (แขนงออกแบบนิเทศศิลป์ และแขนงออกแบบประยุกต์ศิลป์)
- สาขาวิชานิติศาสตร์
- สาขาการบริการการบิน
คณะเกษตรและชีวภาพ[แก้]
- สาขาวิชาวิทยาการผลิตและสุขภาพสัตว์ปีการศึกษา
- สาขาวิชาส่งเสริมและธุรกิจเกษตร
- สาขาวิชาเกษตรศาสตร์
- สาขาวิชาการผลิตและการจัดการพืชเพื่อชุมชนเมือง
- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
วิทยาลัยการแพทย์ทางเลือก[แก้]
- สาขาวิชาการแพทย์แผนจีน
บัณฑิตวิทยาลัย[แก้]
โรงเรียน/ศูนย์การศึกษา[แก้]
- โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม เก็บถาวร 2016-07-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม-ชัยนาท
บุคคลที่มีชื่อเสียง[แก้]
การจัดอันดับมหาวิทยาลัย[แก้]
การจัดอันดับโดย เว็บโอเมตริกซ์ (Webometrics) ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อแสดงความตั้งใจของสถาบันต่าง ๆ ในการเผยแพร่ความรู้สู่เว็บไซต์ และเป็นความริเริ่มเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงความรู้อย่างเปิดกว้าง (Open Access) ทั่วโลก โดยบ่งบอกถึงปริมาณและคุณภาพของสิ่งตีพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ของสถาบัน เพื่อใช้ร่วมกับตัวชี้วัดอื่น ๆ ในการประเมินผลงานวิจัยของสถาบัน ซึ่งทางเว็บโอเมตริกซ์ได้จัดอันดับปีละ 2 ครั้งในเดือนมกราคม และกรกฎาคม ล่าสุดเดือนมกราคม พ.ศ. 2559 ได้รับการจัดอันดับสารานุกรมไทย ฉบับ มหาลัยโลกจัดอันดับมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม สาขาดนตรีสากลเป็นอันดับที่ 96 ของเอเชีย[2]
พิธีอัญเชิญตราพระราชลัญจกร[แก้]
- พิธีอัญเชิญตราพระราชลัญจกรในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม จัดขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2557 โดยองค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรงพระเมตตาพระราชทานนาม “ราชภัฎ” อันหมายความว่า คนของพระราชา แก่วิทยาลัยครูทั่วราชอาณาจักร ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2535 และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชลัญจกร ประจำพระองค์ ให้เป็นตราสัญลักษณ์สถาบันราชภัฏทั่วประเทศ ตามหนังสือสำนักราชเลขาธิการ ลงวันที่ 6 มีนาคม 2538 นับเป็นสิริมงคลและความภาคภูมิใจแก่ชาวราชภัฏทั้งมวล
- โดยพิธีเริ่มด้วยขบวนเกียรติยศอัญเชิญตราพระราชลัญจกร ขึ้นประดิษฐานเป็นประธาน ณ มนฑลพิธี จากนั้น ประธานสโมสรนักศึกษา นายกองค์การนักศึกษา ประธานสภานักศึกษา และอธิการบดี ถวายพุ่มราชสักการะ และกล่าวสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ จากนั้น อธิการบดี นำนักศึกษา คณาจารย์ บุคลากร ถวายบังคม และทำพิธีมอบตรามหาวิทยาลัย ประจำรุ่น แก่นักศึกษาที่ร่วมพิธี
ที่ตั้งและการเดินทาง[แก้]
ตั้งอยู่เลขที่ 39/1 ถนนรัชดาภิเษก แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
รถปรับอากาศ : ปอ.206
รถโดยสารธรรมดา : สาย 126, 136, 178, 179, 185, 191, 206
รถไฟฟ้าใต้ดิน สายเฉลิมรัชมงคล : สถานีลาดพร้าว ทางออกประตูที่ 4
รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท : สถานีพหลโยธิน 24 ทางออกประตูที่ 1
รถไฟฟ้าสายสีเหลือง : สถานีจันทรเกษม (โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง กำลังดำเนินการก่อสร้าง "ในอนาคต")
อ้างอิง[แก้]
- ↑ พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547
- ↑ Ranking Web of World Universities เก็บถาวร 2009-07-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนTop South East Asia
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
- แนะนำมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
- Chandrakasem Rajabhat University facebook
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
พิกัดภูมิศาสตร์: 13°49′13″N 100°34′31″E / 13.820310°N 100.575200°E
![]() |
บทความเกี่ยวกับสถานศึกษานี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |