โฉมฉาย อรุณฉาน
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
โฉมฉาย อรุณฉาน | |
---|---|
![]() | |
สารนิเทศภูมิหลัง | |
เกิด | 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2496 นิตยา อรุณวงศ์ |
ปีที่แสดง | 2512 - ปัจจุบัน |
ผลงานเด่น | สมมติว่าเขารัก คอยรักคืนรัง คอยหามาหาย |
โฉมฉาย อรุณฉาน นักร้องวงดนตรีสุนทราภรณ์หรือวงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ และศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย) และผู้มีน้ำเสียงหวานเป็นเอกลักษณ์
ประวัติ[แก้]
โฉมฉาย อรุณฉาน มีชื่อจริงว่า นิตยา อรุณวงศ์ เป็นนักร้องลูกกรุงประจำวงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์หรือวงดนตรีสุนทราภรณ์ เกิดเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2496 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรคนที่ 3 ของคุณนิรันดร์ อรุณวงศ์ และ คุณเรณู ปทีปเสน จบการศึกษาที่โรงเรียนสารสาส์นพิทยา จากนั้นได้เข้าศึกษาที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม โดยสำเร็จการศึกษาเมื่อ พ.ศ. 2542 และศึกษาต่อระดับปริญญาโทที่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชามานุษยดุริยางค์) โดยสำเร็จการศึกษาเมื่อ พ.ศ. 2547 จบสาขา ดุริยางคศิลป์ ระดับ ปริญญาเอก (ปร.ด.) โดยสำเร็จการศึกษาเมื่อ พ.ศ. 2556 โดยมีผลงานวิจัย เรื่องการบริหารจัดการวงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์, และศึกษาชีวประวัติและวิธีการขับร้องของ รวงทอง ทองลั่นธม โฉมฉาย อรุณฉาน มีบุตร1ท่านที่เกิดจาก เอื้อ สุนทรสนาน คือ สุรินทร สุนทรสนาน
เข้าสู่วงการ[แก้]
เริ่มชีวิตการเป็นนักร้องเมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2512 โดย คุณคณิต ประทีปะเสน ซึ่งเป็นคุณตา เป็นผู้นำมาฝากกับครูเอื้อ สุนทรสนาน และวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2512 ก็ได้รับเลือกให้แสดงเป็นนางฟ้า ในการแสดงจินตลีลาชุด "คนธรรพ์ พิณทิพย์" ที่ไทยทีวีช่อง 4 ภาคดึก เนื่องในวันฉลองครบรอบ 30 ปี ของ วงดนตรีสุนทราภรณ์ โดยใช้ชื่อโฉมสุรางค์ อรุณวงศ์
ต่อมาได้เป็นนักเรียนฝึกการขับร้องที่โรงเรียนสุนทราภรณ์การดนตรีรุ่นเดียวกับดาวใจ ไพจิตร จนได้รับคัดเลือกให้บันทึกเสียงเพลงสมมุติว่าเขารักเป็นเพลงแรกในชีวิต เมื่อปีพ.ศ. 2512 และมีผลงานอื่นๆตามมา
หลังจากครูเอื้อ สุนทรสนาน เสียชีวิต โฉมฉายได้โด่งดังกับการขับร้องเพลงชุดร่วมกับน้องสาวคือ วไลลักษณ์ อรุณฉาน และ ลัดดาวัลย์ อรุณฉาน ในชื่อ สามกัลยา ขับร้องเพลงให้กับวงสังคีตสัมพันธ์ของวินัย จุลละบุษปะและศรีสุดา รัชตะวรรณ
ปัจจุบันโฉมฉาย อรุณฉาน เกษียณอายุราชการในตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานศิลปิน 8 ผู้อำนวยการส่วนบริหารการดนตรี กรมประชาสัมพันธ์ ภายใต้การควบคุมของสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย นอกจากนั้นยังเป็นอาจารย์พิเศษ ในหลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีไทยสมัยนิยม คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง และยังเป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้ในหน่วยงานต่าง ๆ
ส่วนงานทางด้านบันเทิงนั้น เป็นผู้ดำเนินรายการหลัก ในรายการเสียงสวรรค์เมื่อวันวาน ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย และรายการวันอาทิตย์คิดถึงกัน ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย อีกด้วย
ผลงานเพลงที่มีชื่อเสียง[แก้]
- สมมุติว่าเขารัก
- ถ้าเธอจะรักฉันก็จะรอ
- ภวังค์รัก
- คอยรักคืนรัง
- รอคนรัก
- คอยหามาหาย
- หนาวนี้เมื่อปีก่อน
- งามลำปางเขลางค์นคร
- ล่องเจ้าพระยา (คู่กับ นพดฬ ชาวไร่เงิน)
- หัวใจเอ๋ย
- ถ้าเธอยังรอฉันก็ยังรัก
- ฝันรัญจวน
- นางนอน
- อินทนนท์
- อินทนนท์รำพึง
- คอยรวีวันใหม่
- ทะเลมาลี
- ลุ่มเจ้าพระยา
- คลื่นโลมทราย
- สุโขทัย (นำหมู่)
- ฉัตรเเก้ว (นำหมู่) คู่กับ วรนุช อารีย์
- บ้านเกิดเมืองนอน (คู่กับ ศรีสุดา รัชตะวรรณ วรนุช อารีย์ มาริษา อมาตยกุล)
และบทเพลงในแนวลูกกรุงอีกมากมาย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2552 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[1]
- พ.ศ. 2547 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[2]
- พ.ศ. 2542 –
เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[3]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒, เล่ม ๑๒๗ ตอน ๖ ข หน้า ๔, ๖ มิถุนายน ๒๕๕๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๔๗, เล่ม ๑๒๒ ตอน ๑๑ ข หน้า ๕, ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๔๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, [ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา], เล่ม ๑๑๗ ตอน ๔ ข หน้า ๒๙๘, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๓
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
บทความเกี่ยวกับชีวประวัตินี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |
- นักร้องหญิงชาวไทย
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2496
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- สุนทราภรณ์
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
- บุคคลจากคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- บุคคลจากคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- บุคคลจากกรุงเทพมหานคร
- นักร้องเพลงลูกกรุง
- แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ม.
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์