มหาวิทยาลัยหาดใหญ่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
ชื่อย่อม.ญ. / HU
คติพจน์รู้คิด รู้ธรรม รู้สำเร็จ
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
สถาปนา9 เมษายน พ.ศ. 2540 (27 ปี)
นายกสภาฯศ.กิตติคุณ ดร.สุจิต บุญบงการ
อธิการบดีผศ.ดร.วิทวัส ดิษยะศริน สัตยารักษ์
อธิการบดีผศ.ดร.วิทวัส ดิษยะศริน สัตยารักษ์
ผู้ศึกษา4,222 คน (2566)[1]
ที่ตั้ง
สี██████ สีน้ำเงิน สีขาว สีแดง
เว็บไซต์www.hu.ac.th

มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ (อังกฤษ: Hatyai University) เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เดิมชื่อ "วิทยาลัยเมืองหาดใหญ่"[2] และได้เปลี่ยนสถานะเป็นมหาวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2545[3]

ประวัติ[แก้]

ด้วยความมุ่งมั่น และมีเจตจำนงค์อันแน่วแน่ของ อาจารย์ประณีต ดิษยะศริน เจ้าของและผู้ บริหารโรงเรียนในเครือหาดใหญ่อำนวยวิทย์ ซึ่งมีประสบการณ์ด้านการจัดการศึกษากว่า 40 ปี ในอันที่จะให้มีสถานศึกษาในระดับสูงเพื่อเป็นการขยายโอกาสทางการศึกษาให้ถึงระดับปริญญาตรี ซึ่งปัจจุบันไม่เพียงพอต่อความต้องการของนักเรียน นักศึกษา จึงได้ดำเนินการขอจัดตั้งสถาบันอุดม ศึกษาเอกชนต่อทบวงมหาวิทยาลัย ตั้งแต่ต้นปีพ.ศ. 2539 โดยได้เชิญบุคคลสำคัญและนักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ มาร่วมเป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัย จนกระทั่งรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยได้ อนุญาตให้จัดตั้งมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ขึ้นเมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2540 ซึ่งถือว่าเป็นจุดกำเนิด ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งนี้ เป็นแห่งแรก ในเมืองหาดใหญ่ จ.สงขลา

สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย[แก้]

ตราประจำมหาวิทยาลัย[แก้]

ประกอบด้วย สัญลักษณ์ต่าง ๆ อันได้แก่

ธรรมจักร เป็นสัญลักษณ์ของธรรมะ คุณงามความดี มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ตระหนักถึงธรรมะอันพึงมี ของนักศึกษาเป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิตที่สมบูรณ์ในสังคม

คบเพลิง เปรียบเสมือนแสงสว่างแห่งปัญญาและความสำเร็จ ทางมหาวิทยาลัยมีความมุ่งมั่นที่จะจุดประกาย ทางความคิดให้เกิดแสงสว่างแห่งปัญญา

หนังสือ เป็นสัญลักษณ์ของขุมทรัพย์ทางปัญญาเป็นแหล่งความรู้ ก่อให้เกิดพลังทางปัญญาและพลังทางความคิด

ต้นมะหาด เป็นสัญลักษณ์ของตำนานชื่อ อำเภอหาดใหญ่ จากคำบอกเล่าของบรรพบุรุษ

สรุปความหมายว่า มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ มีเจตนารมณ์อันแน่วแน่ที่จะพัฒนาเยาวชนของชาติ ในการศึกษาระดับสูงควบคู่ไปกับการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติ การรักษาสิ่งแวดล้อมตลอดจนการให้เยาวชน ได้ระลึกถึงการนำ ความรู้ ความสามารถและคุณธรรมไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ตนเองและส่วนรวม

สีประจำวิทยาลัย[แก้]

สีน้ำเงิน หมายถึง ความกล้าหาญ แข็งแกร่ง

สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ คุณธรรมและจริยธรรม

สีแดง หมายถึง ความรัก ความสามัคคี การเสียสละ

ความหมายโดยรวม : มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ให้ความสำคัญสำหรับการศึกษาของเยาวชนในท้องถิ่นและมุ่งมั่นที่จะให้นักศึกษาของมหาวิทยาลัยหาดใหญ่มีความทุ่มเทด้านการเรียนรู้อย่างจริงจัง

เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมในสังคมให้ดียิ่งขึ้น รวมทั้งการเสียสละเพื่อส่วนรวม

พันธุ์ไม้ประจำสถาบัน[แก้]

ชื่อพันธุ์ไม้ประจำสถาบัน “ต้นมะหาด” วัตถุประสงค์ในการเลือกพันธุ์ไม้

  1. ตามประวัติของเมืองหาดใหญ่ เล่าขานกันว่ามาจากชื่อหาดทรายขาวที่มีอาณาบริเวณกว้างขวาง ริมคลองอู่ตะเภา หรืออาจจะมาจากชื่อต้นมะหาดขนาดใหญ่ที่เป็นตำนานทำให้เรียกกันว่า หาดใหญ่
  2. เป็นไม้ประจำถิ่น
  3. เป็นไม้เนื้อแข็งที่มีประโยชน์ทางเศรษฐกิจ
  4. เป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่งของไทย มีสรรพคุณทางยาและเครื่องสำอาง ใช้ประโยชน์ได้ตั้งแต่ รากจนถึงผลสุก

หลักสูตรเปิดสอน[แก้]

ระดับปริญญาตรี[แก้]

คณะบริหารธุรกิจ เก็บถาวร 2018-05-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
สาขาวิชาการจัดการ
- วิชาเอกการจัดการทั่วไป
- วิชาเอกการจัดการทรัพยากรมนุษย์
สาขาวิชาการตลาด
- วิชาเอกการจัดการการตลาด
- วิชาเอกการจัดการธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่
สาขาวิชาการบัญชี
สาขาวิชาระบบสารสนเทศทางธุรกิจ
สาขาวิชาอุตสาหกรรมบริการ (การท่องเที่ยว)
คณะนิติศาสตร์ เก็บถาวร 2018-05-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
สาขาวิชานิติศาสตร์
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เก็บถาวร 2018-05-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ

สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน

คณะรัฐศาสตร์ เก็บถาวร 2018-05-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
สาขาวิชาการเมืองการปกครอง
- วิชาเอกการเมืองการปกครอง
- วิชาเอกความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
สาขาวิชาการบริหารจัดการท้องถิ่น
คณะนิเทศศาสตร์ เก็บถาวร 2018-05-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต
- วิชาเอกนิเทศศาสตร์
- วิชาเอกดิจิทัลมีเดีย
คณะศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์ เก็บถาวร 2018-05-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารธุรกิจ
สาขาวิชาสังคมศึกษา (ครูสังคมศึกษา)
สาขาวิชาการประถมศึกษา (ครูประถมศึกษา)
สาขาวิชาภาษาไทย (ครูภาษาไทย)
สาขาวิชาดนตรีสมัยนิยม
สาขาวิชาออกแบบประยุกต์ศิลป์
วิทยาลัยนานาชาติดิษยะศริน เก็บถาวร 2018-05-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
สาขาวิชาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ
ภาษาจีนธุรกิจ
สาขาวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว (ธุรกิจการบิน)
สาขาวิชาภาษาอังกฤษ (ครูภาษาอังกฤษ)

ระดับปริญญาโท[ลิงก์เสีย][แก้]

M.B.A.
หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
M.Ed.
หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
M.Ed.
หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา

ระดับปริญญาเอก[ลิงก์เสีย][แก้]

Ed.D.
หลักสูตรศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
Ph.D.
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ

ประกาศนียบัตรบัณฑิต[ลิงก์เสีย][แก้]

GD.Cl.
หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู

ความร่วมมือกับสถาบันต่างๆทั้งในและต่างประเทศ[แก้]

ประเทศไทย[แก้]

  • Central Retail
  • CPF Trading
  • Thailand Convention & Exhibition Bureau
  • Darunsartwittaya School
  • Assumption University

ประเทศมาเลเซีย[แก้]

  • ADAM College
  • Equator Academy of Art
  • HELP University
  • Limkokwing University
  • Universiti Utara Malaysia (UUM)
  • Universiti Sains Malaysia (USM)
  • Universiti Teknologi MARA (UiTM)
  • Universiti Malaysia Perlis (UniMAP)

ประเทศจีน[แก้]

  • Beijing Geely University
  • Guangxi Normal University
  • Henan Normal University
  • Liuzhou City Vocational College
  • University of Sanya
  • Yunnan University
  • Yunnan College of Foreign Affairs and Foreign Languages
  • Yunnan Normal University

ประเทศอินโดนีเซีย[แก้]

  • Akademi Manajemen Administrasi Yogyakarta, Indonesia
  • Akademi Manajemen Administrasi YPK, Indonesia
  • Akademi Keperawatan 17 Karanganyar Surakarta, Indonesia
  • Ahmad Dahlan University, Indonesia
  • Duta Wacana Christian University
  • Perkumpulan Ahli Dan Dosen Republik Indonesia (ADRI)
  • Universitas Kuningan, Indonesia
  • Universitas Muria Kudus (UMK)
  • Universitas Maarif Hasyim Latif, Indonesia
  • Universitas Pancasakti, Indonesia
  • Sekolah Tinggi Ilmu Ekonomi (STIE) Atama Bhakti, Indonesia
  • Sekolah Tinggi Ilmu Ekonomi (STIE) Totalwin, Indonesia
  • Sekolah Tinggi Ilmu Kesehatan (STIKES) Kendal, Indonesia
  • Sekolah Tinggi Ilmu Ekonomi (STIE) YPK, Indonesia

รายนาม-ทำเนียบอธิการบดี[แก้]

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]