โรงเรียนสันป่าตองวิทยาคม
หัวข้อของบทความนี้อาจไม่ผ่านแนวปฏิบัติความโดดเด่นทั่วไป (ธันวาคม 2565) |
โรงเรียนสันป่าตองวิทยาคม Sanpatong Wittayakom School | |
---|---|
ที่ตั้ง | |
134 ถนนโยธาธิการ หมู่ 11 ตำบลยุหว่า อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ 50120 | |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | ส.ว. และ S.V.K. |
ประเภท | รัฐบาล โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ |
คำขวัญ | "สุขภาพดี วิชาเด่น เน้นคุณธรรม เป็นผู้นำชุมชน" |
สถาปนา | 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2503 |
หน่วยงานกำกับ | สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ |
รหัส | 1008501201 |
ผู้อำนวยการ | นายสมชาย สันกลกิจ |
สี | น้ำเงิน |
เพลง | มาร์ช ส.ว.(ภาษาไทย) และ SVK Spirit (ภาษาอังกฤษ) |
เว็บไซต์ | www.svk.ac.th |
โรงเรียนรางวัลพระราชทาน ประเภทมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ ปีการศึกษา 2549 และ โรงเรียนรางวัลพระราชทาน ประเภทมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ ปีการศึกษา 2556 |
โรงเรียนสันป่าตองวิทยาคม เป็นโรงเรียนรัฐบาล ประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ และเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งแรกของอำเภอสันป่าตอง ตั้งอยู่รอบนอกอำเภอเมืองเชียงใหม่ กลุ่มดอยสัพพัญญู มีสถิตินักเรียนสูงสุดทั้งหมด ปี 2553 มีนักเรียนทั้งสิ้น 2,937 คน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 34 (เชียงใหม่-แม่ฮ่องสอน) ตั้งอยู่เลขที่ 134 ถนนโยธาธิการ หมู่ 11 ตำบลยุหว่า อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ 50120 มีขนาดพื้นที่ทั้งหมด 225 ไร่ 1 งาน 30 ตารางวา ปัจจุบัน ปีการศึกษา 2567 มีนักเรียนทั้งสิ้น 2222 คน
ประวัติ
[แก้]โรงเรียนสันป่าตองวิทยาคม ก่อตั้งเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2503 เดิมชื่อโรงเรียนวิสามัญสันป่าตอง สังกัดกรมวิสามัญศึกษา ตั้งอยู่ในเขตท้องที่บ้านเปียง หมู่ที่ 13 ตำบลบ้านแม อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ในเนื้อที่ 13 ไร่ 40 ตารางวา เปิดทำการเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม.1) ครั้งแรกมีนักเรียนเพียง 19 คน มีอาคารเรียนมุงใบพลวงเพียงหลังเดียว ต่อมาในปี พ.ศ. 2506 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนบ้านเปียงพิทยาคม และได้ย้ายไปสังกัดกรมวิสามัญศึกษา และในปี พ.ศ. 2510 โรงเรียนได้เข้าโครงการพัฒนาโรงเรียนมัธยมชนบท เนื่องจากจำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก และบริเวณคับแคบ กรมสามัญได้อนุมัติให้ย้ายไปทำการสอน ณ สถานที่ปัจจุบัน คือเลขที่ 134 หมู่ที่ 11 บ้านศาลา ตำบลยุหว่า อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ในเนื้อที่ 521 ไร่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนสันป่าตองวิทยาคม ต่อมา ร.พ.ช. ได้ขอยืมใช้พื้นที่ของโรงเรียนส่วนหนึ่งคงเหลือพื้นที่ส่วนที่ใช้อยู่ปัจจุบัน 225 ไร่ 1 งาน 30 ตารางวา[1]
ภาพถ่ายโรงเรียนในอดีต | |
---|---|
การพัฒนา
[แก้]โรงเรียนพัฒนาศักยภาพของนักเรียนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 จนทำให้โรงเรียนสันป่าตองวิทยาคม มีชื่อเสียงจนทำให้โรงเรียนในแถบอำเภอรอบนอกอย่างสันป่าตองวิทยาคมเป็นที่รู้จัก จากที่นักเรียนสามารถสอบเข้าโควตาพัฒนาภาคเหนือของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากทุกปีและติดลำดับโรงเรียนที่มีเปอร์เซ็นต์ในการสอบเข้าโควตามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 20 อันดับโรงเรียนในภาคเหนือ[2] และในวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ครบรอบแห่งการสถาปนา 50 ปี สถานที่ในโรงเรียนสันป่าตองวิทยาคม ยังเป็นศูนย์กลางในการจัดงานและกิจกรรมต่างๆของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่เขต 34 และองค์กรต่างๆ เช่น การปราศรัยของพรรคไทยรักไทย โดย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี, งานแอ่วสันป่าตองครั้งที่ 2, งานวันวิชาการเขตและสนามสอบสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(องค์การมหาชน), [3]เป็นสถานที่จัดงานโครงการ TO BE NUMBER ONE ในวโรกาสที่ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เสด็จเยี่ยมสมาชิก ทรงติดตามการดำเนินงานโครงการของจังหวัดเชียงใหม่และทรงเปิดชมรม TO BE NUMBER ONE และศูนย์เพื่อนใจ TO BE NUMBER ONE ของโรงเรียนสันป่าตองวิทยาคม
เหตุการณ์
[แก้]- พ.ศ. 2503 ก่อตั้งโรงเรียนเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม เดิมชื่อโรงเรียนวิสามัญสันป่าตอง สังกัดกรมสามัญศึกษา ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่บ้านเปียง หมู่ 13 ตำบลบ้านแม อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ เนื้อที่ 13 ไร่ 40 ตารางวา เปิดทำการสอนในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ครั้งแรกมีนักเรียนเพียง 19 คนมีอาคารเรียนมุงด้วยใบตองตึงเพียงหลังเดียว
- พ.ศ. 2508 ได้เปลี่ยนเป็นชื่อจากโรงเรียนวิสามัญสันป่าตองเป็นชื่อโรงเรียนบ้านเปียงพิทยาคม และได้ย้ายไปสังกัดกรมสามัญศึกษา
- พ.ศ. 2510 เนื่องจากมีจำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้นและสถานที่บริเวณคับแคบ กรมสามัญศึกษาได้อนุมัติให้ย้ายไปทำการสอน ณ ที่ปัจจุบันตั้งอยู่เลขที่ 134 บ้านศาลา หมู่ 11 ตำบลยุหว่า อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ในเนื้อที่ 521 ไร่
- พ.ศ. 2517 ได้เปลี่ยนชื่อจากโรงเรียนบ้านเปียงพิทยาคมเป็นชื่อโรงเรียนสันป่าตองวิทยาคม ต่อมามีส่วนราชการมาขอใช้ที่ดินจำนวนหนึ่ง ซึ่งทำให้ปัจจุบันพื้นที่โรงเรียนเหลือเพียง 225 ไร่ 1 งาน 30 ตารางวา
- พ.ศ. 2535 ได้เข้าโครงการขยายโอกาสเพื่อการศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ค.อมต.ส.ศ.) รุ่นที่ 6
- พ.ศ. 2546 โรงเรียนสันป่าตองวิทยาคมถูกเรียกร้องที่ดินของโรงเรียนจัดสร้างโครงการบ้านเอื้ออาทรจากกรมธนารักษ์
- พ.ศ. 2549 ได้รับรางวัลสถานศึกษา โรงเรียนรางวัลพระราชทาน ระดับมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ ประจำปีการศึกษา 2549
- พ.ศ. 2553 โรงเรียนสันป่าตองวิทยาคม ได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนยอดนิยมของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขั้นพื้นฐานที่คัดเลือกทั่วประเทศ
- พ.ศ. 2553 Word Class Standard School ปีที่ครบรอบ 50 ปีแห่งการสถาปนาโรงเรียน
- พ.ศ. 2555 โรงเรียนผ่านการประเมินคุณภาพภายนอกรอบที่สาม โดย สมศ. ได้ในระดับคุณภาพ ดีมาก
- พ.ศ. 2556 ได้รับรางวัลสถานศึกษา โรงเรียนรางวัลพระราชทาน ระดับมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ ประจำปีการศึกษา 2556
อาณาเขต
[แก้]- ทิศเหนือ : ติดกับที่ดินประชาชน บ้านศาลา หมู่ 11 ตำบลยุหว่า อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่
- ทิศตะวันออก : ติดกับศูนย์การท่องเที่ยว กีฬาและนันทนาการจังหวัดเชียงใหม่
- ทิศตะวันตก : ติดกับโรงเรียนสันป่าตองศึกษา(วัดศรีปันเงิน) และศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์เชียงใหม่
- ทิศใต้ : ติดกับเขตตำบลบ้านกลาง ได้แก่ที่ทำการเกษตรอำเภอสันป่าตอง, กรมที่ดินอำเภอสันป่าตอง, วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเชียงใหม่
ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียน
[แก้]นับตั้งแต่ก่อตั้งโรงเรียนจนถึงปัจจุบัน โรงเรียนสันป่าตองวิทยาคม มีผู้บริหารทั้งหมด 16 คน ดังต่อไปนี้[4]
ที่ | ชื่อ | ตำแหน่ง | ปีที่ดำรงตำแหน่ง |
---|---|---|---|
1 | นายเอนก พุทธศิริ | ครูใหญ่ | พ.ศ. 2503-2509 |
2 | นายองอาจ โฆษชุณหนันท์ | อาจารย์ใหญ่ | พ.ศ. 2509-2517 |
3 | นายวิฑูรย์ ญาณสมเด็จ | อาจารย์ใหญ่ | พ.ศ. 2517-2518 |
4 | นายประสิทธิ์ แสนไชย | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2518-2524 |
5 | นายสมบูรณ์ สิตานนท์ | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2524-2531 |
6 | นางพิวัลย์ วิบุลสันติ | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2531-2535 |
7 | นายณรงค์ บำรุงศรี | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2535-2543 |
8 | นายเขียน แสงหนุ่ม | ผู้อำนวยการ ระดับ 9 | พ.ศ. 2543-2547 |
9 | ดร.มานิตย์ ศรีพิทักษ์ | ผู้อำนวยการ ระดับ 9 | พ.ศ. 2547-2550 |
10 | นายเสรี สุวรรณเพชร | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2550-2552 |
11 | นายบุญส่ง สมมิตร | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2552-2554 |
12 | นายบุญเสริญ สุริยา | ผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ(ระดับ 9) | พ.ศ. 2554-2557 |
13 | นายสุพล ประสานศรี | ผู้อำนวยการชำนาญการ | พ.ศ. 2557-2559 |
14 | นายเจียมพดล ไชยยาลักษณ์ | ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ | พ.ศ. 2560- 2565 |
15 | นายระวี คงภาษี | ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ | พ.ศ.2566-2567 |
16 | นายสมชาย
สันกลกิจ |
ผู้อำนวยการ | พ.ศ.2567-ปัจจุบัน |
อาคารเรียน สถานที่และสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ
[แก้]อาคารเรียนหลัก
[แก้]อาคาร[5] | คำอธิบาย | รูปภาพ |
---|---|---|
อาคาร 1 เทอดพิทยา | หมวดคณิตศาสตร์ | |
อาคาร 2 จริยานุสรณ์ | หมวดภาษาต่างประเทศที่ 2 หมวดวิชาสุขศึกษา และห้องศูนย์อนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม | |
อาคาร 3 อมรพลา | หมวดภาษาไทยและศูนย์แนะแนวโรงเรียนสันป่าตองวิทยาคม | |
อาคาร 4 หัถพิพิธ | หมวดสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติ และศูนย์อาเซียนศึกษา | |
อาคาร 5 นิมิตกสิกรรม | หมวดวิทยาศาสตร์ และห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติ | |
อาคาร 6 อาคาร เกษตร-ศิลป์ | หมวดศิลปะและห้องชุมนุมต้นกล้า ก้าวกล้าสันป่าตอง และ โครงการห้องเรียนสีเขียว | |
อาคาร 7 คุรุธรรมวิเทศ | หมวดภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ) | |
อาคาร 92 ปี คุณพ่อโต | ศูนย์กลางการติดต่อราชการโรงเรียนสันป่าตองวิทยาคมและอาคารเรียนเทคโนโลยีสารสนเทศ | |
อาคารอาคารสุริยารังสรรค์(วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร) | หมวดการงานพื้นฐานอาชีพและเทคโนโลยี(งานหัตถกรรม) และห้องชมรมและศูนย์เพื่อนใจ ทูบีนัมเบอร์วัน | |
อาคาร ฝ5 หมวดวิชาศิลปะศึกษา(ดนตรีไทยและนาฏศิลป์) | หมวดศิลปะ(วิชาดนตรีไทยและนาฏศิลป์) | |
อาคาร ฝ3 เขียนแบบและไฟฟ้า | หมวดการงานพื้นฐานอาชีพและเทคโนโลยี(เขียนแบบและไฟฟ้า) | |
อาคารเรียนดนตรีสากล | หมวดศิลปะ (วิชาดนตรีสากล) |
อาคารเรียนเอนกประสงค์
[แก้]อาคาร | คำอธิบาย | รูป |
---|---|---|
อาคารประชุมเอนกประสงค์ปรับอากาศ | หอประชุมเอนกประสงค์ของโรงเรียน | |
ศูนย์วัฒนธรรมอำเภอสันป่าตอง (โรงเรียนสันป่าตองวิทยาคม) | เรือนไม้ทรงล้านนาศูนย์วัฒนธรรมของอำเภอสันป่าตอง | |
ศูนย์อาหารโรงเรียนสันป่าตองวิทยาคม อาคารแก้วกัลยาและเรือนราชพฤกษ์ | โรงอาหารโรงเรียน | |
อาคารรู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย | หมวดวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา | |
อาคารศาลาธรรมสถานเฉลิมพระเกียรติฯ (จัดสร้างโดยมูลนิธิพระบรมธาตุดอยสุเทพ เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2551) | ศาลาธรรม หน้าอาคาร 4 | |
อาคารเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา | โรงยิม สนามวอลเลย์บอล และที่ทำการคณะสีโรงเรียน |
สถานที่ สิ่งก่อสร้างอื่น ๆ ที่สำคัญ
[แก้]สิ่งก่อสร้าง/สถานที่ | อธิบาย | รูป |
---|---|---|
พระพุทธรัตนมงคลเมธี | พระพุทธรูป(ปางลีลา)ประจำโรงเรียน ประดิษฐาน ณ หน้าโรงเรียน | |
พระพุทธสันติมงคล | พระพุทธรูป(ปางมารวิชัย)ประจำโรงเรียน ประดิษฐาน ณ หน้าอาคาร 92 ปี คุณพ่อโต | |
พระพุทธสิริโลกนาถสันป่าตอง | พระพุทธรูป(ปางมารวิชัย) ประดิษฐาน ณ หน้าเสาธง | |
เจดีย์พระบรมสารีริกธาตุ | เจดีย์พระบรมสารีริกธาตุ ประดิษฐาน ณ ด้านหลังอาคารเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา |
ศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันที่มีชื่อเสียง
[แก้]- นายไทยวุฒิ ขันแก้ว ผู้อำนวยการสำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร
- พลตรีทิม เรือนโต รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดยะลา
- นายทอง พันทอง รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่
- เทอดไท ชัยนิยม (มานิตย์) นักร้องและศิลปินล้านนา
- นายสุริยนต์ ปันทะนะ สมาชิกอบจ.เชียงใหม่ ศิษย์เก่าสว. รุ่น 32/35
- นางสาวอรวี สิโรรส ยุวทูตกีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน ครั้งที่ 24 (Universiade Ambassador) ศิษย์เก่าสว. รุ่น 45/48
- นางสาวพัชนิดา ไชยยาศรี (โบว์จ๋า)[6] ผู้เข้ารอบ 44 คนสุดท้าย มิสไทยแลนด์ยูนิเวิร์ส 2008[7] และรองชนะเลิศอันดับ 3 นางสาวเชียงใหม่ ปี 2549
- นางสาวอมรรัตน์ ปัญญา (ขวัญข้าว) นางงามบุปผาชาติ จ.เชียงใหม่ ประจำปี 2549
- ดร.เครือวัลย์ จันทร์แก้ว อาจารย์ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ศิษย์เก่ารุ่น 33/36
- นายแพทย์จรัส สิงห์แก้ว ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสารภี จังหวัดเชียงใหม่
- สิบเอกกมล ประเสริฐ นักกีฬาทีมชาติไทย ประเภทกีฬาชินลง เนปิดอว์เกมส์ คว้า 1 เหรียญทอง 2 เหรียญเงิน เหรียญทองซีเกมส์ จากการแข่งขันที่ประเทศสิงคโปร์
- อบเชย เวียงพิงค์ (อบเชย ศรีสุข) นักร้องหญิง บทเพลงปี๋ใหม่เมือง อัลบั้มแอ่วเมืองเหนือ[8]
- น.ส.กานต์ธิดา หนูรุ่น นักกีฬาเรือพายเยาวชนทีมชาติไทย
- โครงการเยาวชนพลยุติธรรม ช่วงชั้น4(มัธยมศึกษาปีที่ 4-6) รางวัลชนะเลิศระดับประเทศ ปีการศึกษา 2549 โครงการพูดเพื่อชาติ[10]
- โรงเรียนรางวัลพระราชทาน ระดับมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ ประจำปีการศึกษา 2549
- โรงเรียนรางวัลพระราชทาน ระดับมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ ประจำปีการศึกษา 2556
- ชนะเลิศการประกวด ดนตรีพื้นบ้านล้านนาประเภทเยาวชน งานโครงการส่งเสริมศิลปาชีพของกองทัพภาคที่ 3 และโครงการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมล้านนา มช. (พ.ศ. 2547)[12]
- ชนะเลิศการจัดนิทรรศการรณรงค์ “ชวนคนรักมาเลิกเหล้า” โรงพยาบาลสวนปรุง เชียงใหม่ (พ.ศ. 2553)[13]
- ชนะเลิศ อย.น้อย ดีเด่น ระดับเขตตรวจราชการ ประจำปี 2548 กลุ่มโรงเรียนในเขตตรวจราชการ เขต 1[14]
- ได้รับโรงเรียนรางวัลพระราชทาน ประเภทมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ พุทธศักราช 2549
- ชนะเลิศ การประกวดสุดยอดส้วมโรงเรียน ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ตามโครงการประเมินส้วมสุขสันต์โรงเรียน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557
- รองชนะเลิศ ชมรมคุ้มครองผู้บริโภคที่มีผลงานดีเด่น ประจำปีการศึกษา 2555
- ได้รับรางวัล โครงงาน อย.น้อย เพื่อแก้ไขปัญสุขภาพโรงเรียนดีเด่น จากกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ 2556
- รองชนะเลิศอันดับสอง สถานศึกษายอดเยี่ยมประเภทมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ ด้านการบริหารจัดการ ระดับภาคเหนือ ประจำปีการศึกษา 2556
- ได้รีบการรับรอง สุดยอดส้วมสุขสันต์ จากกรมอนามัย ปี พ.ศ. 2556
- ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณ ยุว.อสคบ. มนุษย์สัมพันธ์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2556
- ได้รับใบประกาศเกียรติคุณ ได้รับการรับรองโรงเรียนมาตรฐาน โรงเรียน อย.น้อย ระดับดีเยี่ยม ปี พ.ศ. 2553
- ได้รับโล่เกียรติคุณรางวัล ชมรมคุ้มครองผู้บริโภคตัวอย่าง ประจำปี พ.ศ. 2554
- รางวัลชนะเลิศ การนำเสนอผลงานโรงเรียนเครือข่าย อย.น้อย ปีพ.ศ. 2556
- ชมรมคุ้มครองผู้บริโภคโรงเรียน ได้รับการยกย่อง การทำคุณประโยชน์ให้กับสังคมด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ที่มีผลงานดีเด่น ปี พ.ศ. 2556
- ชมรมคุ้มครองผู้บริโภคโรงเรียน ได้รับการเชิดชูเกียรติจากสำนักงานนายกรัฐมนตรีว่า ได้รับการคัดเลือกเป็นชมรมผู้บริโภคดีเด่น ปี พ.ศ. 2556
- ชมรมต้นกล้าก้าวกล้าสันป่าตอง โรงเรียนสันป่าตองวิทยาคม ได้รับรางวัลเชิดเกียรติยศ ในฐานะกลุ่มพลังเครือข่ายผู้นำเยาวชนกล้าแผ่นดิน ปี พ.ศ. 2554
- ชมรมต้นกล้าก้าวกล้าสันป่าตอง โรงเรียนสันป่าตองวิทยาคม ได้รับรางวัลเชิดเกียรติยศ ในฐานะกลุ่มพลังเครือข่ายผู้นำเยาวชนกล้าแผ่นดิน ปี พ.ศ. 2553
- โรงเรียนได้รับรางวัลยอดเยี่ยม การจัดกิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์เลือกตั้ง จากสำนักงานคณะกรรมการเลือกตั้ง ปี พ.ศ. 2554
- โรงเรียนได้รับรางวัล ห้องสมุด(ขนาดใหญ่) ดีเด่น ระดับภาค ประจำปี 2555
- โรงเรียนได้รับรางวัลต้นแบบเหรียญทอง การประกวดกิจกรรมสร้างค่านิยมใหม่ เยาวชนร่วมใจ ต้านภัยยาเสพติด จาก ม.มหิดล ปี พ.ศ. 2555
- โรงเรียนได้รับรางวัล โรงเรียนประชาธิปไตยตัวอย่าง ประจำปี 2556
- ได้รับรางวัล โรงเรียนส่งเสริมการอ่านยอดเยี่ยมระดับประเทศ ประจำปี 2555 จาก สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ร่วมกับ บริษัท นามีบุ๊ค
- ได้รับรางวัลชนะเลิศ โครงการประกวดโรงเรียนและนักเรียนดีเด่น ด้านคุณธรรมและจริยธรรม ระดับเขตพื้นที่การศึกษาจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 34 และธนาคารออมสิน
- รับรางวัล โรงเรียนดีเด่นด้านคุณธรรมและจริยธรรม โครงการประกวดโรงเรียนและนักเรียนดีเด่นด้านคุณธรรมและจริยธรรม ประจำปีการศึกษา 2556 จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขึ้นพื้นฐาน
- ได้รับรางวัลเสมา ป.ป.ส "สถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข ระดับดี" จากศูนย์อำนวยการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด จังหวัดเชียงใหม่ร่วมกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 34
- ได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษา รอบสาม(พ.ศ. 2554 - 2558) จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน)
- ได้รับโรงเรียนรางวัลพระราชทาน ประเภทมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ พุทธศักราช 2556
- ได้รับรางวัล Thailand Energy Awards ของกระทรวงพลังงานประเภทสถานศึกษา ดีเด่น ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม และพลังงานทดแทน ปี พ.ศ. 2561
- ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดฟ้อนเล็บระดับมัธยมศึกษาในกิจกรรมของเทศกาล Chiang Mai Blooms หรือเทศกาลเชียงใหม่เบิกบาน จังหวัดเชียงใหม่ เป็นตัวแทนเยาวชนเชียงใหม่ฟ้อนเล็บในพิธีปล่อยขบวนรถบุปผชาติในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2562[15]
แผนการเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
[แก้]- วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ เป็นห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ในการดูแลของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและอีก 4 ห้องเรียนเป็นห้องเรียนวิทยาศาสตร์ปกติ เน้นการเรียนการสอนในการปฏิบัติจริงตามหลักทฤษฎี การเรียนการสอนตามเนื้อหาหลักสูตรที่เน้นวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์เป็นหลัก
- คณิตศาสตร์-ภาษาอังกฤษ เน้นการเรียนในด้านภาษาอังกฤษ และการคิดคำนวณทางด้านคณิตศาสตร์
- ภาษาอังกฤษ-ภาษาฝรั่งเศส เน้นการเรียนภาษา วัฒนธรรมประเทศ และการสื่อสารกับเจ้าของภาษาโดยตรง
- ภาษาอังกฤษ-ภาษาญี่ปุ่น เน้นการเรียนภาษา วัฒนธรรมประเทศ และการสื่อสารกับเจ้าของภาษาโดยตรง
- ภาษาอังกฤษ-ภาษาจีน เน้นการเรียนภาษา วัฒนธรรมประเทศ และการสื่อสารกับเจ้าของภาษาโดยตรง
- ภาษาอังกฤษ-ภาษาเกาหลี เน้นการเรียนภาษา วัฒนธรรมประเทศ และการสื่อสารกับเจ้าของภาษาโดยตรง
- ภาษาอังกฤษ-สังคมศึกษา เน้นการเรียนครบทั้งสาระของหมวดสังคมในยุคโลกาภิวัฒน์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-15. สืบค้นเมื่อ 2018-11-14.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-21. สืบค้นเมื่อ 2010-05-08.
- ↑ http://www.sanpatong.info/1517.html[ลิงก์เสีย]
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-03. สืบค้นเมื่อ 2018-11-14.
- ↑ https://data.bopp-obec.info/emis/schooldata-view_bobec.php?School_ID=1050131009&Area_CODE=101734[ลิงก์เสีย]
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-09. สืบค้นเมื่อ 2010-09-26.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-29. สืบค้นเมื่อ 2010-09-26.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-24. สืบค้นเมื่อ 2016-05-20.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-29. สืบค้นเมื่อ 2018-11-14.
- ↑ http://www.powerjustice.com/4/4_4-08-49_3-9.htm
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-29. สืบค้นเมื่อ 2018-11-14.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-27. สืบค้นเมื่อ 2010-10-08.
- ↑ http://www.suanprung.go.th/gallery_2/slide.php?id=820[ลิงก์เสีย]
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-25. สืบค้นเมื่อ 2010-10-08.
- ↑ https://www.chiangmainews.co.th/page/archives/900503
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- บทความที่ไม่ได้อธิบายความสำคัญตั้งแต่ธันวาคม 2565
- โรงเรียนในจังหวัดเชียงใหม่
- โรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอในจังหวัดเชียงใหม่
- โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่
- โรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูง
- โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่
- โรงเรียนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2503
- สิ่งก่อสร้างในอำเภอสันป่าตอง
- บทความเกี่ยวกับ สถานศึกษา ที่ยังไม่สมบูรณ์