ข้ามไปเนื้อหา

อำเภอแม่อาย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอแม่อาย
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Mae Ai
น้ำแม่กก
คำขวัญ: 
เหนือสุดเวียงเชียงใหม่ ยิ่งใหญ่ดอยฟ้าห่มปก แม่น้ำกกแหล่งชีวิต ศักดิ์สิทธิ์พระธาตุสบฝาง เมืองพระนางมะลิกา เด่นสง่าวัดท่าตอน ลือขจรผลไม้ไทย มากมายหลายเผ่าชน
แผนที่จังหวัดเชียงใหม่ เน้นอำเภอแม่อาย
แผนที่จังหวัดเชียงใหม่ เน้นอำเภอแม่อาย
พิกัด: 20°1′53″N 99°17′13″E / 20.03139°N 99.28694°E / 20.03139; 99.28694
ประเทศ ไทย
จังหวัดเชียงใหม่
พื้นที่
 • ทั้งหมด736.701 ตร.กม. (284.442 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด78,692 คน
 • ความหนาแน่น106.90 คน/ตร.กม. (276.9 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 50280
รหัสภูมิศาสตร์5010
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอแม่อาย เลขที่ 55
หมู่ที่ 4 ถนนฝาง-ท่าตอน ตำบลแม่อาย อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ 50280
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

แม่อาย (ไทยถิ่นเหนือ: ) เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ เป็นชายแดนติดกับประเทศพม่ามีแม่น้ำกกเป็นแนวพรมแดน ในอดีตบริเวณนี้ถือได้ว่าเป็นจุดสิ้นสุดทางหลวงแผ่นดิน หากจะเดินทางต่อไปยังจังหวัดเชียงรายจะต้องนั่งเรือหางยาวล่องไปตามแม่น้ำกกใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมง กิจกรรมการท่องเที่ยวหลักของคือ การล่องเรือชมทิวทัศน์สองฝั่งของแม่น้ำกก บริเวณตำบลท่าตอน[1]

ประวัติ

[แก้]

ท้องที่อำเภอแม่อาย เดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอฝาง กระทรวงมหาดไทยได้แยกพื้นที่ตำบลแม่อาย ตำบลแม่สาว และตำบลแม่นาวาง ของอำเภอฝาง ได้แบ่งพื้นที่การปกครองออกมาตั้งเป็น กิ่งอำเภอแม่อาย[2] ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2510 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 29 สิงหาคม ปีเดียวกัน

และต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะขึ้นเป็น อำเภอแม่อาย ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2516 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 28 มิถุนายน ปีเดียวกัน[3]

  • วันที่ 29 สิงหาคม 2510 แยกพื้นที่ตำบลแม่อาย ตำบลแม่สาว และตำบลแม่นาวาง อำเภอฝาง มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอแม่อาย[2] และให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอฝาง
  • วันที่ 5 มกราคม 2514 จัดตั้งสุขาภิบาลแม่อาย ในท้องที่บางส่วนของตำบลแม่อาย[4]
  • วันที่ 28 มิถุนายน 2516 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอแม่อาย อำเภอฝาง เป็น อำเภอแม่อาย[3]
  • วันที่ 19 ตุลาคม 2519 ตั้งตำบลสันต้นหมื้อ แยกออกจากตำบลแม่นาวาง[5]
  • วันที่ 16 สิงหาคม 2522 ตั้งตำบลท่าตอน แยกออกจากตำบลแม่อาย[6]
  • วันที่ 15 กรกฎาคม 2523 ตั้งตำบลบ้านหลวง แยกออกจากตำบลสันต้นหมื้อ[7]
  • วันที่ 9 พฤศจิกายน 2538 ตั้งตำบลมะลิกา แยกออกจากตำบลแม่อาย[8]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะสุขาภิบาลเแม่อาย เป็นเทศบาลตำบลแม่อาย[9] ด้วยผลของกฎหมาย

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

อำเภอแม่อายตั้งอยู่ทางตอนเหนือสุดของจังหวัดเชียงใหม่ มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอ จังหวัด และประเทศใกล้เคียงดังนี้

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค

[แก้]

อำเภอแม่อายแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 7 ตำบล 93 หมู่บ้าน ได้แก่

ลำดับที่ อักษรไทย อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน ประชากรทั้งหมด
(พ.ศ. 2566)[10]
ประชากรแยกตามส่วนท้องถิ่น
(พ.ศ. 2566)[10]
1. แม่อาย Mae Ai 13 11,087 7,027
4,060
(ทต. แม่อาย)
(อบต. ดอยลาง)
2. แม่สาว Mae Sao 16 12,461 12,461 (อบต. แม่สาว)
3. สันต้นหมื้อ San Ton Mue 12 6,099 6,099 (อบต. สันต้นหมื้อ)
4. แม่นาวาง Mae Na Wang 17 15,189 15,189 (อบต. แม่นาวาง)
5. ท่าตอน Tha Ton 15 21,786 21,786 (อบต. ท่าตอน)
6. บ้านหลวง Ban Luang 10 7,786 7,786 (อบต. บ้านหลวง)
7. มะลิกา Malika 10 4,284 3,408
876
(ทต. แม่อาย)
(อบต. ดอยลาง)
รวม 93 78,692 10,435 (เทศบาล)
68,257 (อบต.)

การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

ท้องที่อำเภอแม่อายประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 7 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลแม่อาย ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลแม่อายและตำบลมะลิกา
  • องค์การบริหารส่วนตำบลดอยลาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่อายและตำบลมะลิกา (นอกเขตเทศบาลตำบลแม่อาย)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแม่สาว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่สาวทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสันต้นหมื้อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสันต้นหมื้อทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแม่นาวาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่นาวางทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าตอน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าตอนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านหลวงทั้งตำบล

ทรัพยากร

[แก้]

อำเภอแม่อายมีน้ำแม่กกไหลผ่าน เป็นแหล่งน้ำสำคัญของอำเภอแม่อาย

ในวัฒนธรรมสมัยนิยม

[แก้]

ในละครแม่อายสะอื้นทุกเวอร์ชัน (2515, 2547, 2561) ดาวนิล และครอบครัวซึ่งเป็นตัวละครหลักนั้นเกิดที่อำเภอแม่อาย โดยครอบครัวของเธอยังคงอาศัยอยู่ในภูมิลำเนา ส่วนตัวละครดาวนิลได้ย้ายไปทำงานที่กรุงเทพมหานคร และเนื้อเรื่องบางตอนใช้หมู่บ้านแห่งหนึ่ง (ไม่ระบุชื่อ) ในอำเภอแม่อายเป็นสถานที่ในการดำเนินเรื่อง

อ้างอิง

[แก้]
  1. เที่ยวท่าตอน เหนือสุดของเชียงใหม่
  2. 2.0 2.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่ตั้งเป็นกิ่งอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 84 (80 ง): 2396. August 29, 1967. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-10. สืบค้นเมื่อ 2021-02-05.
  3. 3.0 3.1 "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเขาพนม อำเภอสนามชัยเขต อำเภอแม่อาย อำเภอขามสะแกแสง อำเภอเก้าเลี้ยว อำเภอโพธิ์ประทับช้าง อำเภอหนองพอก อำเภอละอุ่น อำเภอทุ่งหว้า และอำเภอศรีธาตุ พ.ศ. ๒๕๑๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 90 (75 ก): (ฉบับพิเศษ) 32-36. June 28, 1973. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-02-24. สืบค้นเมื่อ 2021-02-05.
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลแม่อาย กิ่งอำเภอแม่อาย อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 88 (2 ง): 10–11. January 5, 1971.
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอฝางและอำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 93 (132 ง): 2967–2971. October 19, 1976.
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอแม่อาย อำเภอดอยเต่า อำเภอจอมทอง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 96 (142 ง): (ฉบับพิเศษ) 1-9. August 16, 1979.
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 97 (108 ง): 2263–2265. July 15, 1980. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-10-22. สืบค้นเมื่อ 2021-02-05.
  8. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอแม่อาย อำเภอสันป่าตอง และอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (90 ง): 91–107. November 9, 1995.
  9. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. February 24, 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2021-02-05.
  10. 10.0 10.1 กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "สถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร (รายเดือน) พื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เดือนธันวาคม 2566." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1]. สืบค้น 13 มีนาคม 2567.