อำเภอดอยหล่อ
อำเภอดอยหล่อ | |
---|---|
![]() | |
พระธาตุดอยน้อยพันปี รสดีแคนตาลูปลำไย กว่างชนเลื่องชื่อลือไกล กลองใหญ่สืบสานประเพณี | |
ข้อมูลทั่วไป | |
อักษรไทย | อำเภอดอยหล่อ |
อักษรโรมัน | Amphoe Doi Lo |
จังหวัด | เชียงใหม่ |
ข้อมูลสถิติ | |
พื้นที่ | 260.1 ตร.กม. |
ประชากร | 25,919 คน (พ.ศ. 2561) |
ความหนาแน่น | 99.65 คน/ตร.กม. |
รหัสทางภูมิศาสตร์ | 5024 |
รหัสไปรษณีย์ | 50160 |
ที่ว่าการอำเภอ | |
ที่ตั้ง | 199 หมู่ 25 ตำบลดอยหล่อ อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ |
พิกัด | 18°28′28″N 98°47′1″E / 18.47444°N 98.78361°E |
โทรศัพท์ | 0-5336-9573 |
โทรสาร | 0-5336-9573 |
![]() |
ดอยหล่อ (คำเมือง: ) เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ แยกพื้นที่ออกจากอำเภอจอมทอง ในอดีตเป็นอำเภอเล็ก ๆ ที่มีหมู่บ้านกระจายตามถนนสายเชียงใหม่-ฮอด แต่ในปัจจุบัน อำเภอดอยหล่อถูกพัฒนาให้เป็นพื้นที่รองรับการขยายตัวของนครเชียงใหม่ และรองรับความเจริญจาก อำเภอจอมทอง ศูนย์กลางความเจริญทางตอนใต้ของจังหวัดเชียงใหม่ ทำให้เกิดชุมชนหนาแน่นเกิดขึ้นจำนวนมากในท้องที่ของอำเภอ เกิดการค้า การลงทุน การบริการเพิ่มขึ้น และที่สำคัญ พื้นที่อำเภอดอยหล่อ-จอมทอง เคยถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่การพัฒนาที่สำคัญของจังหวัดเชียงใหม่ เช่น โครงการก่อสร้างสนามบินเชียงใหม่แห่งที่ 2 โครงการก่อสร้างมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในพื้นที่ดังกล่าว
เนื้อหา
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
อำเภอดอยหล่อตั้งอยู่ทางตอนกลางของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอและจังหวัดใกล้เคียงดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอแม่วาง
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอสันป่าตอง
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอป่าซาง อำเภอเวียงหนองล่อง (จังหวัดลำพูน) และอำเภอจอมทอง
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอจอมทอง
ประวัติ[แก้]
ท้องที่อำเภอดอยหล่อเดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอจอมทอง ทางราชการได้แบ่งพื้นที่การปกครองออกมาตั้งเป็น กิ่งอำเภอดอยหล่อ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ปีเดียวกัน[1] และต่อมาในวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะขึ้นเป็น อำเภอดอยหล่อ โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน ปีเดียวกัน[2]
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]
อำเภอดอยหล่อแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 4 ตำบล 54 หมู่บ้าน ได้แก่
ลำดับที่ | อักษรไทย | อักษรโรมัน | จำนวนหมู่บ้าน | ประชากรทั้งหมด (พ.ศ. 2561)[3] |
ประชากรแยกตามส่วนท้องถิ่น (พ.ศ. 2561)[3] | |
---|---|---|---|---|---|---|
1. | ดอยหล่อ | Doi Lo | 26 | 12,183 | 12,183 | (อบต. ดอยหล่อ) |
2. | สองแคว | Song Khwae | 8 | 4,845 | 4,845 | (ทต. สองแคว) |
3. | ยางคราม | Yang Khram | 11 | 4,943 | 4,943 | (ทต. ยางคราม) |
4. | สันติสุข | Santi Suk | 9 | 3,948 | 3,948 | (ทต. สันติสุข) |
รวม | 54 | 25,919 | 13,736 (เทศบาล) 12,183 (อบต.) |
การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]
ท้องที่อำเภอดอยหล่อประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลยางคราม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลยางครามทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลสันติสุข ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสันติสุขทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลสองแคว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสองแควทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลดอยหล่อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดอยหล่อทั้งตำบล
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งเป็นกิ่งอำเภอดอยหล่อ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (พิเศษ 9 ง): 65. 22 มีนาคม 2538.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอฆ้องชัย...และอำเภอเหล่าเสือโก้ก พ.ศ. ๒๕๕๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 124 (46 ก): 14–21. 24 สิงหาคม 2550.
- ↑ 3.0 3.1 รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน พ.ศ. 2561 จังหวัดเชียงใหม่ กรมการปกครอง
|