โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ละติน: (Chiang Mai University Demonstration School)
ตราโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.svg
ที่ตั้ง
239 ถนนห้วยแก้ว ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200
ข้อมูล
ชื่ออื่นสาธิต มช (DCMU)
ประเภทโรงเรียนสาธิตสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
คำขวัญวิชฺชา นรานํ ครุ
วิชาเป็นครูของมวลชน
สถาปนา3 มิถุนายน พ.ศ. 2511 (54 ปี)
ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เขตการศึกษาเชียงใหม่
ผู้อำนวยการอ.ดร. ศักดา สวาทะนันทน์
จำนวนนักเรียน1,389[1]
ภาษาภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน
ไทย ภาษาไทย
สหราชอาณาจักร ภาษาอังกฤษ
ฝรั่งเศส ภาษาฝรั่งเศส
จีน ภาษาจีนกลาง
ญี่ปุ่น ภาษาญี่ปุ่น
สี███ สีน้ำเงิน
เพลงมาร์ชสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ฉายาทีมกีฬาสาธิตเชียงใหม่
ต้นไม้ประจำโรงเรียนพะยอม
เว็บไซต์https://satit.edu.cmu.ac.th/

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (อังกฤษ : Chiang Mai University Demonstration School : สธ.มช. - DCMU) เป็นหน่วยงานหนึ่งภายใต้การดูแลของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยจัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับปฐมวัยจนถึงระดับมัธยมศึกษา ซึ่งมีเป้าหมายหลักในการให้สวัสดิการทางการศึกษาแก่บุตรของบุคลากร และเป็นโรงเรียนทดลองเพื่อศึกษาวิจัยการเรียนการสอน

ประวัติ[แก้]

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดตั้งขึ้นตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งคณะศึกษาศาสตร์ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้โรงเรียนและเป็นสถานที่สำหรับสนับสนุนการผลิตบัณฑิตทางการศึกษา ทั้งในส่วนของการเป็นแหล่งที่ให้นักศึกษาได้สังเกตการสอนร่วมสอนและฝึกปฏิบัติการทางวิชาชีพ ตลอดจนเป็นสถานที่สำหรับให้คณะได้ศึกษาค้นคว้าและวิจัยร่วมทดลองวิธีการจัดการเรียนการสอนตามแนวปรัชญาการศึกษาใหม่ๆ เพื่อเป็นตัวอย่างสำหรับการจัดการในภาคเหนือ โดยโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้เริ่มทำการเรียนการสอนครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 มิถุนายนพ.ศ 2511 ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สายสามัญ โดยมีจำนวนนักเรียนรุ่นแรกจำนวน 70 คนและมีคณาจารย์จากคณะศึกษาศาสตร์เป็นผู้สอนโดย ในช่วงแรกได้ใช้อาคารวิทยาลัย 1 ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นสถานที่จัดการเรียนการสอน (ปัจจุบันคืออาคารคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) จนกระทั่งปี 2514 อาคารสาธิตหนึ่งซึ่งเป็นอาคารหลังแรกของโรงเรียนได้ก่อสร้างเสร็จ โรงเรียนจึงได้ใช้อาคารหลังดังกล่าวเป็นสถานที่จัดการเรียนการสอนมาจนถึงปัจจุบัน[2]

ในปี 2521 โรงเรียนสาธิต มช. ได้ปรับหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการโดยให้เรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 3 ปีและชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 3 ปี

ต่อมาในปี 2551 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้จัดให้มีโครงการสนับสนุนการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนโดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัยขึ้นโดยมีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นศูนย์หนึ่งในจำนวนทั้งหมด 40 เพื่อรับนักเรียนเข้าศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในหลักสูตรห้องเรียนวิทยาศาสตร์ ซึ่งการพัฒนาหลักสูตรห้องเรียนวิทยาศาสตร์นั้นมาจากความร่วมมือของคณะวิทยาศาสตร์ และโรงเรียนสาธิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในปีการศึกษา 2561 ซึ่งเป็นปีแรกของการดำเนินโครงการได้เริ่มรับนักเรียนเข้าศึกษาในโครงการห้องเรียนวิทยาศาสตร์จำนวน 30 คนจนกระทั่งปีการศึกษา 2553 โครงการดังกล่าวมีจำนวนนักเรียนครบทั้ง 3 ระดับชั้น ฃ

ปัจจุบันโรงเรียนสาธิต มช. และเปิดหลักสูตรแผนการเรียนศิลป์-ซอฟต์แวร์ และศิลป์-ออกแบบ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีนักเรียนทั้งสิ้น 1,389 คน เป็นนักเรียนชายจำนวน 604 คนและนักเรียนหญิงจำนวน 785 คนมีบุคลากรทั้งสายวิชาการและบุคลากรสายสนับสนุนจำนวนทั้งสิ้น 160 คน[3]

หลักสูตร[แก้]

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้จัดทำหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พุทธศักราช 2553 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เพื่อให้การจัดการศึกษาของโรงเรียน สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการของยุคโลกาภิวัตน์ โดยโรงเรียนได้ดำเนินการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งแบ่งเป็น[4]

  1. . หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ดำเนินการจัดทำและใช้หลักสูตรโดยโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  2. . หลักสูตรห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโครงการสนับสนุนการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ โดยการกำกับของมหาวิทยาลัย ดำเนินการพัฒนาใช้หลักสูตรโดยคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งมีอาจารย์จากโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมเป็นคณะกรรมการร่างหลักสูตร

อ้างอิง[แก้]

  1. โรงเรียนสาธิต มช. จำนวนนักเรียน ปี 2563. 5 พฤษภาคม 2565.
  2. โรงเรียนสาธิต มช. เกี่ยวกับโรงเรียน 5 พฤษภาคม 2565.
  3. โรงเรียนสาธิต มช. บุคลากร. 5 พฤษภาคม 2565.
  4. เอกสารแนะนำโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 5 พฤษภาคม 2565.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]