ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Gkantorn (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 180: บรรทัด 180:
[[ไฟล์:Bangkok MRT train interior.jpg|thumb|ภายในรถไฟฟ้า]]
[[ไฟล์:Bangkok MRT train interior.jpg|thumb|ภายในรถไฟฟ้า]]
=== ขบวนรถโดยสาร ===
=== ขบวนรถโดยสาร ===
โครงการใช้รถไฟฟ้ารุ่น Modular Metro ผลิตโดยซีเมนส์ เป็นรถไฟฟ้าขนาดใหญ่ (Heavy Rail) ขนาดกว้าง 3.2 เมตร ยาว 19.23 เมตร และสูงประมาณ 3.8 เมตร ใช้ล้อเหล็กวิ่งบนรางเหล็ก ตัวรถมีระบบปรับอากาศ สามารถจุผู้โดยสารได้ 320 คนต่อคัน จำนวนตู้โดยสาร 3-6 คันต่อขบวน สามารถบรรทุกผู้โดยสารได้มากกว่า 40,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทางไป-กลับ ใช้ไฟฟ้ากระแสตรง 750 โวลต์ ป้อนระบบขับเคลื่อนรถ ใช้มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับขับเคลื่อนตัวรถ ความเร็วสูงสุด 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีจำนวนขบวนรถไฟฟ้าทั้งสิ้น 19 ขบวน และรถไฟฟ้ารุ่น Inspiro ผลิตโดยซีเมนส์เช่นกัน มีทั้งหมด 35 ขบวน โดยจัดส่งรถไฟฟ้าขบวนแรก ในวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2562<ref>[https://www.facebook.com/BEM.MRT/posts/10157218380189516 รถไฟฟ้าขบวนใหม่ขบวนแรกเดินทางถึงท่าเรือแหลมฉบังแล้ว], MRT Bangkok Metro</ref> โดยจะจัดส่งอีก 9 ขบวนในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2562 และจะจัดส่งอีก 6 ขบวนในเดือนกันยายน พ.ศ. 2562 และส่งมอบทั้งหมดภายในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563<ref>[https://www.facebook.com/MRTA.PR/photos/a.1409211292628934/2201531090063613/?type=3&theater เปิด Timeline รถไฟฟ้าขบวนแรกถึงไทยเมษายนนี้], การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย</ref>
โครงการใช้รถไฟฟ้ารุ่น Modular Metro ผลิตโดยซีเมนส์ เป็นรถไฟฟ้าขนาดใหญ่ (Heavy Rail) ขนาดกว้าง 3.2 เมตร ยาว 19.23 เมตร และสูงประมาณ 3.8 เมตร ใช้ล้อเหล็กวิ่งบนรางเหล็ก ตัวรถมีระบบปรับอากาศ สามารถจุผู้โดยสารได้ 320 คนต่อคัน จำนวนตู้โดยสารปัจจุบันอยู่ที่ 3-6 คันต่อขบวน (สามารถบรรทุกผู้โดยสารได้มากกว่า 40,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทางไป-กลับ) ใช้ไฟฟ้ากระแสตรง 750 โวลต์ ป้อนระบบขับเคลื่อนรถ ใช้มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับขับเคลื่อนตัวรถ ความเร็วสูงสุด 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ปัจจุบันมีจำนวนขบวนรถไฟฟ้าทั้งสิ้น 19 ขบวน ในจำนวนตู้โดยสาร 3 คันต่อขบวน และกำลังอยู่ในช่วงรับมอบรถไฟฟ้าเพิ่มอีก 35 ขบวน เป็นรุ่น Inspiro ซึ่งผลิตโดยซีเมนส์เช่นกัน โดยจัดส่งรถไฟฟ้าขบวนแรก ในวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2562<ref>[https://www.facebook.com/BEM.MRT/posts/10157218380189516 รถไฟฟ้าขบวนใหม่ขบวนแรกเดินทางถึงท่าเรือแหลมฉบังแล้ว], MRT Bangkok Metro</ref> โดยจะจัดส่งอีก 9 ขบวนในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2562 และจะจัดส่งอีก 6 ขบวนในเดือนกันยายน พ.ศ. 2562 และส่งมอบทั้งหมดภายในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563<ref>[https://www.facebook.com/MRTA.PR/photos/a.1409211292628934/2201531090063613/?type=3&theater เปิด Timeline รถไฟฟ้าขบวนแรกถึงไทยเมษายนนี้], การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย</ref> แต่ยังไม่มีแผนการเพิ่มจำนวนคันรถต่อขบวนเพื่อลดความแออัดแต่อย่างใด


;ระบบในการเดินรถ
;ระบบในการเดินรถ

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:03, 15 กรกฎาคม 2562

รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล
ข้อมูลทั่วไป
สถานะเปิดให้บริการบางส่วน (ปัจจุบันถึงระยะที่ 2)
เจ้าของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ที่ตั้งกรุงเทพมหานคร, สมุทรสาคร
ปลายทาง
จำนวนสถานี19
เว็บไซต์เว็บไซต์ รฟม.
การดำเนินงาน
รูปแบบรถไฟฟ้ายกระดับ และรถไฟฟ้าใต้ดิน
ระบบรถไฟฟ้ามหานคร
เส้นทาง1
ผู้ดำเนินงานบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (สัญญาสัมปทานโครงการ หมด พ.ศ. 2593)[1]
ศูนย์ซ่อมบำรุงศูนย์ซ่อมบำรุงใหญ่ห้วยขวาง
ศูนย์ซ่อมบำรุงย่อยเพชรเกษม
ขบวนรถซีเมนส์ โมดูลาร์ เมโทร 19 ขบวน 3 ตู้
ซีเมนส์ อินสไปโร 35 ขบวน 3 ตู้ (พ.ศ. 2562)
ผู้โดยสารต่อวัน400,000 คน[2]
ประวัติ
เปิดเมื่อ3 กรกฎาคม พ.ศ. 2547
ส่วนต่อขยายล่าสุด11 สิงหาคม พ.ศ. 2560 (สถานีเตาปูน)
ข้อมูลทางเทคนิค
ระยะทาง21.2 กิโลเมตร (ใต้-เหนือ)
จำนวนทางวิ่ง2
รางกว้างรางมาตรฐาน (1.435 เมตร)
ระบบจ่ายไฟรางที่สาม
ความเร็ว80 กม./ชม.
แผนที่เส้นทาง

ท่าพระ
จรัญฯ 13
ไฟฉาย
บางขุนนนท์
บางยี่ขัน
สิรินธร
บางพลัด
บางอ้อ
บางโพ
เตาปูน
บางซื่อ
กรุงเทพอภิวัฒน์
กำแพงเพชร
สวนจตุจักร
พหลโยธิน
ลาดพร้าว
รัชดาภิเษก
สุทธิสาร
ห้วยขวาง
ศูนย์วัฒนธรรม
แห่งประเทศไทย
ศูนย์ซ่อมบำรุงพระราม 9
พระราม 9
เพชรบุรี
สุขุมวิท
ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
คลองเตย
ลุมพินี
สีลม
สามย่าน
หัวลำโพง
วัดมังกร
สามยอด
สนามไชย
แม่น้ำเจ้าพระยา
อิสรภาพ
ท่าพระ
บางไผ่
บางหว้า
เพชรเกษม 48
ศูนย์ซ่อมบำรุงเพชรเกษม
ภาษีเจริญ
บางแค
หลักสอง
พุทธมณฑล สาย 2
ทวีวัฒนา
พุทธมณฑล สาย 3
พุทธมณฑล สาย 4

รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (พุทธมณฑลสาย 4-หลักสอง-หัวลำโพง-บางซื่อ-เตาปูน-ท่าพระ) (Metropolitan Rapid Transit Chaloem Ratchamongkhon Line, MRT Blue Line) หรือ รถไฟฟ้ามหานคร สายสีน้ำเงิน ซึ่งเรียกตามสีที่กำหนดในแผนแม่บท โครงการระบบขนส่งมวลชนทางรางในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ประชาชนนิยมเรียกว่า "รถไฟฟ้าใต้ดิน" เนื่องมาจากช่วงเริ่มแรกให้บริการรถไฟฟ้าเส้นนี้ เส้นทางเป็นระบบใต้ดินแห่งแรกของประเทศไทย ดำเนินการโดย บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BEM) โดยได้รับสัมปทานจาก การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม. หรือ MRTA) เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2542 และหลังจากที่เกิดความล่าช้าขึ้นหลายครั้ง ในที่สุดได้เปิดให้สาธารณชนทดลองใช้งานในวงจำกัดเมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2547 และมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 3 กรกฎาคม ปีเดียวกัน โดยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จไปทรงกดปุ่มระบบคอมพิวเตอร์เปิดการเดินรถไฟฟ้าสายนี้ด้วยพระองค์เอง ณ ศูนย์ซ่อมบำรุงใหญ่ห้วยขวาง-พระราม 9 ในการนี้ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยเสด็จด้วย[3]

ปัจจุบันมีระยะทางรวมราว 21.2 กิโลเมตร เส้นทางเริ่มต้นจาก สถานีหัวลำโพง ถึงสถานีเตาปูน มีทั้งสิ้น 19 สถานี สามารถเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอสได้ที่สถานีสีลม, สถานีสุขุมวิท และสถานีสวนจตุจักร เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม ที่สถานีเตาปูน และเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ที่สถานีเพชรบุรี

สำหรับนาม "เฉลิมรัชมงคล" เป็นชื่อที่พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเพื่อเป็นชื่ออย่างเป็นทางการของโครงการรถไฟฟ้ามหานคร ระยะแรก สายหัวลำโพง-ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์-บางซื่อ มีความหมายว่า "งานเฉลิมความเป็นมงคลแห่งความเป็นพระราชา" [4]

ปัจจุบัน เส้นทางสายสีน้ำเงินมีโครงการก่อสร้างส่วนต่อขยายทั้งเส้นทางใต้ดินและยกระดับ จากปลายทางด้านทิศเหนือ สถานีเตาปูน ไปยังถนนจรัญสนิทวงศ์ และแยกท่าพระ และจากปลายทางด้านทิศใต้ สถานีหัวลำโพง ไปยังท่าพระและบางแค ซึ่งทั้ง 2 เส้นทางจะเชื่อมต่อกันที่ สถานีท่าพระ ก่อให้เกิดเป็นเส้นทางรถไฟฟ้าวงแหวน โดยโครงการได้มีการเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในช่วงบางซื่อ-เตาปูน เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2560 และจะเปิดบริการต่อไปในช่วงหัวลำโพง-หลักสอง ในวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2562 ช่วงเตาปูน-ท่าพระ ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 และจะเปิดให้บริการเต็มรูปแบบภายในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2563

ภาพรวม

รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล เป็นระบบรถไฟฟ้าที่มีโครงสร้างทั้งทางยกระดับเหนือพื้นดินและเป็นอุโมงค์ใต้ดินเป็นสายแรกของประเทศไทย ดำเนินการโดย บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ในอดิต ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) ที่ได้รับสัมปทานโครงการในการร่วมทุนและดำเนินการเชิงพาณิชย์ หรือ PPP-Net Cost ภายในกรอบระยะเวลา 27 ปี จากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และได้รับการต่ออายุสัญญาเพิ่มเติมใน พ.ศ. 2560 ออกไปอีก 33 ปี รวมเป็น 60 ปี มีแนวเส้นทางเป็นแนววงกลมภายในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานครชั้นใน เริ่มต้นเส้นทางจากบริเวณหน้าห้างเดอะมอลล์บางแค ตามแนวถนนเพชรเกษม วิ่งผ่านแยกท่าพระ แล้วลดระดับลงเป็นเส้นทางใต้ดิน ลอดแม่น้ำเจ้าพระยาเข้าสู่ฝั่งพระนครภายในอาณาบริเวณเกาะรัตนโกสินทร์เข้าสู่พื้นที่ใจกลางกรุงเทพมหานคร ผ่านสถานที่สำคัญหลายแห่ง อาทิ สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สวนลุมพินี, ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์, ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย, สวนจตุจักร และศูนย์คมนาคมกลางบางซื่อ แนวเส้นทางจะยกระดับกลับเป็นเส้นทางลอยฟ้าข้ามแม่น้ำเจ้าพระยากลับสู่ฝั่งธนบุรี และกลับมาสิ้นสุดเส้นทางทั้งหมดที่แยกท่าพระ รวมระยะทางประมาณ 47.8 กิโลเมตร เป็นเส้นทางที่เน้นการขนส่งผู้โดยสารระหว่างสายด้วยการเดินรถเป็นวงกลมรอบๆ กรุงเทพมหานครชั้นใน

พื้นที่เส้นทางผ่าน

แขวง/ตำบล เขต/อำเภอ จังหวัด
อ้อมน้อย กระทุ่มแบน สมุทรสาคร
หนองค้างพลู หนองแขม กรุงเทพมหานคร
หลักสอง / บางแคเหนือ / บางแค บางแค
บางหว้า / ปากคลองภาษีเจริญ ภาษีเจริญ
วัดท่าพระ / วัดอรุณ บางกอกใหญ่
พระบรมมหาราชวัง / วังบูรพาภิรมย์ พระนคร
สัมพันธวงศ์ สัมพันธวงศ์​
รองเมือง / ปทุมวัน / ลุมพินี ปทุมวัน
สีลม บางรัก
ทุ่งมหาเมฆ สาทร
คลองเตย คลองเตย
คลองเตยเหนือ วัฒนา
มักกะสัน ราชเทวี
บางกะปิ / ห้วยขวาง / สามเสนนอก ห้วยขวาง
ดินแดง / รัชดาภิเษก ดินแดง
จอมพล / จตุจักร จตุจักร
บางซื่อ บางซื่อ
บางอ้อ / บางยี่ขัน บางพลัด
ศิริราช / บางขุนศรี บางกอกน้อย

แนวเส้นทาง

แนวเส้นทางส่วนใหญ่เป็นเส้นทางใต้ดิน มีจุดเริ่มต้นจากสถานีหัวลำโพง ที่บริเวณถนนพระรามที่ 4 ด้านหน้าสถานีรถไฟกรุงเทพ มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านจุดตัดรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม ที่สถานีสีลม จนถึงบริเวณย่านบ่อนไก่ - ตลาดคลองเตย แนวเส้นทางจะเลี้ยวซ้ายมุ่งหน้าไปทางเหนือตามแนวถนนรัชดาภิเษก ผ่านจุดตัดรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท ที่สถานีสุขุมวิท และผ่านจุดตัดรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และทางรถไฟสายตะวันออก ที่สถานีเพชรบุรี เชื่อมต่อกับแนวเส้นทาง รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม ที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย มุ่งหน้าไปทางทิศเหนือจนถึงบริเวณสี่แยกรัชดา-ลาดพร้าว แนวเส้นทางจะเลี้ยวซ้ายเข้าถนนลาดพร้าว มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือเข้าถนนพหลโยธิน ลอดใต้ถนนวิภาวดีรังสิต ผ่านจุดตัดรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท ที่สถานีหมอชิต เลี้ยวขวาเข้าสู่ศูนย์คมนาคมกลางบางซื่อ และยกระดับกลับไปเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม ที่จุดเชื่อมต่อสถานีเตาปูนอันเป็นจุดสิ้นสุดเส้นทาง รวมระยะทาง 21 กิโลเมตร

ในปี พ.ศ. 2562 แนวเส้นทางจะขยายต่อจากจุดเริ่มต้นบริเวณสถานีหัวลำโพง ไปตามแนวถนนเจริญกรุง เข้าสู่อาณาบริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ก่อนลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาเข้าสู่พื้นที่ฝั่งธนบุรี และยกระดับกลับไปสิ้นสุดเส้นทางที่จุดตัดถนนกาญจนาภิเษก บริเวณหน้าห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ สาขาบางแค รวมระยะทางในช่วงที่สาม 13.8 กิโลเมตร และในปี พ.ศ. 2563 แนวเส้นทางจะขยายต่อจากจุดเริ่มต้นบริเวณสถานีเตาปูน ยกระดับข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเข้าสู่พื้นที่ฝั่งธนบุรี มาสิ้นสุดเส้นทางที่แยกท่าพระ รวมระยะทางในช่วงที่สี่ 13 กิโลเมตร ซึ่งจะก่อให้เกิดเป็นแนวเส้นทางวงแหวนในที่สุด

รายชื่อสถานี

ชื่อและสีของสถานี รหัสสถานี จุดเปลี่ยนเส้นทาง วันที่เปิดให้บริการ
ท่าพระ (จรัญสนิทวงศ์) BL01 ช่วงหัวลำโพง - หลักสอง
สายสีเทา สถานีท่าพระ (โครงการ)
23 ธันวาคม พ.ศ. 2562
จรัญฯ 13 BL02
ไฟฉาย BL03
บางขุนนนท์ BL04 สายสีส้ม สถานีบางขุนนนท์ (โครงการ)
สายสีแดงอ่อน สถานีจรัญสนิทวงศ์ (โครงการ)
บางยี่ขัน BL05
สิรินธร BL06 4 ธันวาคม พ.ศ. 2562
บางพลัด BL07
บางอ้อ BL08
สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา
บางโพ BL09  เรือด่วนเจ้าพระยา  ท่าบางโพ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2562
เตาปูน BL10 สายสีม่วง (สถานีร่วม) 11 สิงหาคม พ.ศ. 2560
บางซื่อ BL11 สายสีแดงอ่อน สายสีแดงเข้ม สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์
สายซิตี้ สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ (กำลังก่อสร้าง)
3 กรกฎาคม พ.ศ. 2547
กำแพงเพชร BL12
สวนจตุจักร BL13 สายสุขุมวิท สถานีหมอชิต
พหลโยธิน BL14 สายสุขุมวิท สถานีห้าแยกลาดพร้าว
ลาดพร้าว BL15 สายสีเหลือง สถานีลาดพร้าว
รัชดาภิเษก BL16
สุทธิสาร BL17
ห้วยขวาง BL18
ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย BL19 สายสีส้ม (สถานีร่วม) (กำลังก่อสร้าง)
พระราม 9 BL20
เพชรบุรี BL21 สายซิตี้ สถานีมักกะสัน
สายสีแดงอ่อน สถานีมักกะสัน (โครงการ)
 เรือโดยสารคลองแสนแสบ  ท่าอโศก
สายสีฟ้า สถานีมักกะสัน (โครงการ)
สุขุมวิท BL22 สายสุขุมวิท สถานีอโศก
ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ BL23 สายสีเทา สถานีพระราม 4 (โครงการ)
คลองเตย BL24 สายสีเทา สถานีคลองเตย (โครงการ)
สายสีแดงอ่อน สถานีคลองเตย (โครงการ)
ลุมพินี BL25 สายสีเทา สถานีลุมพินี (โครงการ)
สายสีฟ้า สถานีลุมพินี (โครงการ)
สีลม BL26 สายสีลม สถานีศาลาแดง
สามย่าน BL27
หัวลำโพง BL28 สายสีแดงเข้ม สถานีหัวลำโพง (โครงการ)
วัดมังกร BL29 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
สามยอด BL30 สายสีม่วง (สถานีร่วม) (กำลังก่อสร้าง)
สนามไชย BL31  เรือด่วนเจ้าพระยา  ท่าราชินี
อุโมงค์ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา
อิสรภาพ BL32 สายสีทอง สถานีอิสรภาพ (โครงการ) 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
ท่าพระ (เพชรเกษม) BL01 ช่วงเตาปูน - ท่าพระ
สายสีเทา สถานีท่าพระ (โครงการ)
บางไผ่ BL33 24 สิงหาคม พ.ศ. 2562
บางหว้า BL34 สายสีลม สถานีบางหว้า
เพชรเกษม 48 BL35 21 กันยายน พ.ศ. 2562
ภาษีเจริญ BL36
บางแค BL37
หลักสอง BL38

การเชื่อมต่อ

รถไฟฟ้ามหานคร

สถานีเตาปูน เป็นสถานีเชื่อมต่อระหว่างสายเฉลิมรัชมงคล กับสายฉลองรัชธรรม

ผู้โดยสารสามารถเปลี่ยนเส้นทางไปยังเส้นทางอื่นๆ ในระบบรถไฟฟ้ามหานครได้ที่สถานีดังต่อไปนี้

รถไฟฟ้าบีทีเอส

ทางเข้า-ออกที่ 2 ของ สถานีสีลม สามารถเชื่อมต่อกับสถานีศาลาแดง ได้ด้วยสะพานลอย

ผู้โดยสารสามารถเปลี่ยนเส้นทางไปยังรถไฟฟ้าบีทีเอส ได้ที่สถานีดังต่อไปนี้

รถไฟฟ้าชานเมืองและรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยาน

ผู้โดยสารสามารถเปลี่ยนเส้นทางไปยังรถไฟฟ้าชานเมืองหรือรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานได้ที่สถานีดังต่อไปนี้

เส้นทางสายรองนอกระบบรถไฟฟ้ามหานคร

ผู้โดยสารสามารถเปลี่ยนเส้นทางไปยังเส้นทางรถไฟฟ้าสายรองนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในระบบรถไฟฟ้ามหานครได้ที่สถานีดังต่อไปนี้

แผนที่แสดงการเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนอื่น

ทางเดินเข้าอาคารข้างเคียง

ในบางสถานี ผู้โดยสารสามารถเดินเข้าสู่อาคารข้างเคียงผ่านทางเชื่อมได้ดังนี้

รูปแบบของโครงการ

ทางเข้าสถานีห้วยขวาง
  • เป็นระบบรถไฟฟ้าขนาดหนัก (heavy rail transit)
  • ทางวิ่ง ช่วงใต้ดิน 22 สถานี เป็นอุโมงค์คู่วางตามแนวราบ และตามแนวดิ่ง เส้นผ่าศูนย์กลางภายในอุโมงค์ 5.7 เมตร ความลึกของอุโมงค์ 15-30 เมตรจากระดับพื้นดิน ทางเดินฉุกเฉินกว้าง 0.6 เมตร สูง 2.0 เมตร และช่วงลอดข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา (สนามไชย-อิสรภาพ) มีความลึก 30 เมตรจากผิวน้ำแม่น้ำเจ้าพระยา และ 7 เมตรจากใต้ท้องน้ำแม่น้ำเจ้าพระยา และช่วงยกระดับ 20 สถานี ยกระดับที่ความสูง 12 เมตรตลอดทั้งโครงการ มีกำแพงกันเสียงและตาข่ายกันสิ่งรบกวนในบางช่วง ยกเว้นช่วงข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา (บางโพ-บางอ้อ) และข้ามทางรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง (ตลิ่งชัน-ธนบุรี) มีความสูง 17 เมตร และช่วงข้ามทางรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม กับช่วงเข้าชานชาลาสถานีท่าพระชั้นบน มีความสูงประมาณ 19 เมตร
  • ขนาดราง 1.435 เมตร (European standard guage) โดยมีรางที่ 3 ขนานไปกับรางวิ่งสำหรับจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับตัวรถ
  • ตัวรถเป็นรถปรับอากาศขนาดกว้าง 3.2 เมตร ยาว 20-24 เมตร สูงประมาณ 3.7 เมตร ความจุ 320 คนต่อคัน ต่อพวงได้ 3-6 คันต่อขบวน ใช้ไฟฟ้ากระแสตรง 750 โวลท์ ป้อนระบบขับเคลื่อนรถ สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 50,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง
  • ใช้ระบบอาณัติสัญญาณเดินรถด้วยระบบอัตโนมัติจากศูนย์ควบคุมการเดินรถ และใช้ระบบเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติ

ศูนย์ซ่อมบำรุงและศูนย์ควบคุมการเดินรถ

โครงการมีศูนย์ซ่อมบำรุงทั้งหมดสองแห่ง ได้แก่ศูนย์ซ่อมบำรุงใหญ่ห้วยขวาง-พระราม 9 ในพื้นที่ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ถนนพระรามที่ 9 (ที่ทำการ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาโครงการรถไฟฟ้าเฉลิมรัชมงคล ในปัจจุบัน) ซึ่งเป็นพื้นที่ร่วมกับโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม รองรับการซ่อมบำรุงโครงการในฝั่งพระนคร และมีศูนย์ซ่อมบำรุงย่อยเพชรเกษม-กัลปพฤกษ์ ถนนกัลปพฤกษ์ รองรับการซ่อมบำรุงโครงการในฝั่งธนบุรี ระบบเดินรถทั้งระบบมีศูนย์ควบคุมการเดินรถกลางอยู่ที่ศูนย์ซ่อมบำรุงใหญ่ห้วยขวาง-พระราม 9

สิ่งอำนวยความสะดวก

มีจุดจอดรถประจำสถานีที่สถานีใต้ดิน 7 สถานี มีจุดจอดรถที่ใช้ร่วมกับรถไฟฟ้าบีทีเอสซึ่งเป็นพื้นที่ของกรมธนารักษ์ 1 แห่ง จุดจอดรถบริเวณใต้ด่านอโศก 1 ของทางพิเศษศรีรัชซึ่งเป็นพื้นที่ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย 1 แห่ง จุดจอดรถที่อาคารผู้โดยสารสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมืองของรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ 1 แห่ง และมีอาคารจอดแล้วจร (park and ride) 3 แห่ง ได้แก่อาคารจอดรถสถานีลาดพร้าว อาคารจอดรถสถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย และอาคารจอดรถภายในโครงการแอชตัน อโศก สถานีสุขุมวิท

ประตูบริเวณชานชาลา กั้นระหว่างชานชาลาและรถไฟฟ้า

สถานี

มีทั้งหมด 42 สถานี เป็นสถานีใต้ดิน 22 สถานี สถานียกระดับ 20 สถานี โดยนับสถานีเชื่อมต่อคือสถานีท่าพระเป็นสถานีเดียว

รูปแบบสถานี

สถานีโดยทั่วไปมีความยาวประมาณ 150 เมตร ยกเว้นสถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยที่มีความยาวพิเศษถึง 358 เมตร เนื่องจากเป็นสถานีเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีส้ม และสถานีชุมทางสำหรับนำรถออกจากระบบขึ้นสู่ศูนย์ซ่อมบำรุง สถานีออกแบบให้รองรับรถไฟฟ้าได้สูงสุด 6 ตู้ต่อสถานี มีประตูชานชาลา (platform screen door) ความสูงแบบ Half-Height และ Full-Height ในทุกสถานี สถานีและทางวิ่งใต้ดินออกแบบให้มีความคงทนแข็งแรงรองรับต่อการทรุดตัวของผิวดิน และรองรับต่อแรงสั่นสะเทือนหากเกิดเหตุแผ่นดินไหวโดยไม่เกิดความเสียหายต่อโครงสร้าง ทางเข้าสถานีถูกออกแบบให้มีความสูงจากผิวดินประมาณ 1 เมตรเพื่อรองรับต่อเหตุการณ์น้ำท่วมที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยวัดจากสถิติความสูงที่สูงที่สุดของเหตุการณ์น้ำท่วมในกรุงเทพมหานคร ส่วนสถานียกระดับออกแบบให้หลบเลี่ยงสาธารณูปโภคใต้ดินและบนดิน และรักษาสภาพผิวจราจรบนถนนมากที่สุด สถานีโดยรวมมีเสายึดสถานีอยู่บริเวณเกาะกลางถนน ยกเว้นสถานีที่ต้องคร่อมอุโมงค์ใต้ดิน จะใช้วิธีการตั้งเสายึดสถานีจากทางเท้าแทน

ภายในรถไฟฟ้า

ขบวนรถโดยสาร

โครงการใช้รถไฟฟ้ารุ่น Modular Metro ผลิตโดยซีเมนส์ เป็นรถไฟฟ้าขนาดใหญ่ (Heavy Rail) ขนาดกว้าง 3.2 เมตร ยาว 19.23 เมตร และสูงประมาณ 3.8 เมตร ใช้ล้อเหล็กวิ่งบนรางเหล็ก ตัวรถมีระบบปรับอากาศ สามารถจุผู้โดยสารได้ 320 คนต่อคัน จำนวนตู้โดยสารปัจจุบันอยู่ที่ 3-6 คันต่อขบวน (สามารถบรรทุกผู้โดยสารได้มากกว่า 40,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทางไป-กลับ) ใช้ไฟฟ้ากระแสตรง 750 โวลต์ ป้อนระบบขับเคลื่อนรถ ใช้มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับขับเคลื่อนตัวรถ ความเร็วสูงสุด 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

ปัจจุบันมีจำนวนขบวนรถไฟฟ้าทั้งสิ้น 19 ขบวน ในจำนวนตู้โดยสาร 3 คันต่อขบวน และกำลังอยู่ในช่วงรับมอบรถไฟฟ้าเพิ่มอีก 35 ขบวน เป็นรุ่น Inspiro ซึ่งผลิตโดยซีเมนส์เช่นกัน โดยจัดส่งรถไฟฟ้าขบวนแรก ในวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2562[5] โดยจะจัดส่งอีก 9 ขบวนในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2562 และจะจัดส่งอีก 6 ขบวนในเดือนกันยายน พ.ศ. 2562 และส่งมอบทั้งหมดภายในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563[6] แต่ยังไม่มีแผนการเพิ่มจำนวนคันรถต่อขบวนเพื่อลดความแออัดแต่อย่างใด

ระบบในการเดินรถ

ในการเดินรถไฟฟ้า ระบบได้นำระบบอาณัติสัญญาณ Trainguard LZB 700 M ซึ่งเป็นระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในการควบคุมการเดินรถโดยอัตโนมัติ เพื่อให้การบริการมีประสิทธิภาพ, สะดวกรวดเร็ว และปลอดภัยสูงสุด แบ่งเป็น 3 ระบบย่อย คือ

  1. "ระบบควบคุมการเดินรถอัตโนมัติ" เรียกว่า ATO (Automatic Train Operation) เป็นระบบที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานต่างๆ ของขบวนรถไฟฟ้า เช่น การขับเคลื่อนรถไฟฟ้า, การควบคุมความเร็วของรถไฟฟ้า, การควบคุมการห้ามล้อ, การจอดรถไฟฟ้า และการรายงานสถานะของอุปกรณ์ต่างๆ ในตัวรถไฟฟ้าไปยังศูนย์ควบคุม
  2. "ระบบป้องกันอัตโนมัติ" เรียกว่า ATP (Automatic Train Protection) เป็นระบบที่คอยควบคุมไม่ให้รถไฟฟ้าใช้ความเร็วเกินกำหนด ควบคุมความเร็วรถให้อยู่ในพิกัดความเร็วที่สัมพันธ์กับระยะห่างระหว่างรถไฟฟ้าข้างหน้า หากเกิดเหตุผิดปกติ ระบบ ATP จะสั่งการห้ามล้ออัตโนมัติ นอกจากนี้ยังควบคุมการเคลื่อนตัวของรถไฟฟ้าจากสถานีรถไฟฟ้า โดยหากประตูรถไฟฟ้าและประตูกั้นชานชาลายังปิดไม่เรียบร้อย ระบบ ATP จะไม่อนุญาตให้รถไฟฟ้าเคลื่อนตัวออกจากสถานี ต่างจากระบบ ATO ตรงที่มีความอิสระต่างกัน กรณีที่ระบบ ATO ขัดข้อง ต้องใช้คนควบคุมการเดินรถ ระบบ ATP จะยังคอยควบคุมการเดินรถต่อไป
  3. "ระบบกำกับการเดินรถอัตโนมัติ" เรียกว่า ATS (Automatic Train Supervision) เป็นระบบที่คอยควบคุมการเดินรถไฟฟ้าทั้งระบบให้เป็นไปตามตารางการเดินรถ โดยจะส่งข้อมูลต่างๆ เช่น ความเร็วของรถไฟฟ้าแต่ละขบวน ติดตามและแสดงตำแหน่งของรถไฟฟ้าทุกขบวนที่อยู่ในระบบ และจัดเตรียมขั้นตอนต่างๆ ในการควบคุมการเดินรถ เมื่อระบบการเดินรถมีเหตุขัดข้อง

เหตุการณ์สำคัญ

อุบัติเหตุ

  • วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2548 หลังจากเปิดบริการได้ 7 เดือน ได้เกิดอุบัติเหตุรถไฟใต้ดินชนกันใน สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย มีผู้ได้รับบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก แต่ไม่มีผู้เสียชีวิต สาเหตุเกิดจากรถไฟฟ้าใต้ดินขบวนหนึ่งได้เคลื่อนขึ้นไปที่ศูนย์ซ่อมบำรุงบนระดับพื้นดิน (ศูนย์ช่อมบำรุงอยู่ระหว่าง สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย และสถานีพระราม 9) แต่เกิดปัญหารถเสียที่บริเวณทางโค้ง (เป็นบริเวณที่สับราง) ก่อนถึงด้านบน ทางศูนย์ฯ ได้ส่งรถไฟฟ้าอีกขบวนหนึ่งมาช่วยลากรถ แต่เนื่องจากรถเสียอยู่บริเวณที่สับราง จึงไม่สามารถลากรถได้ ทางศูนย์ได้สั่งให้พนักงานขับปล่อยเบรกลมออกเพื่อให้รถออกไปจากบริเวณที่สับราง ปรากฏว่าตัวรถไหลกลับลงไปใน สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย อีกครั้ง ในขณะเดียวกันมีรถไฟฟ้าอีกขบวนหนึ่งจอดรับผู้โดยสารอยู่ในสถานีกำลังมุ่งหน้าไป สถานีพระราม 9 ระบบอัตโนมัติได้ปิดประตูเพื่อเตรียมออกสู่สถานีพระราม 9 แต่รถกลับไม่สามารถออกจากสถานีได้โดยไม่ทราบสาเหตุ ในเวลาไม่กี่นาทีรถไฟฟ้าที่มีผู้โดยสารจึงถูกรถไฟฟ้าที่ไหลมาจากด้านบนชนประสานงา ทำให้มีผู้โดยสาร และพนักงานประจำสถานีได้รับบาดเจ็บหลายคน และขบวนรถได้รับความเสียหาย 2 ขบวน หลังจากเหตุการณ์นั้นทาง การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และ บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ได้ออกคำสั่งให้หยุดบริการรถไฟฟ้า 1 สัปดาห์ เพื่อนำขบวนรถที่ชนกันกลับไปซ่อมแซมที่โรงงานบริษัทซีเมนส์ และฟื้นฟูสภาพชานชาลาของสถานี พร้อมรับผิดชอบความเสียหายให้กับผู้โดยสารที่ได้รับบาดเจ็บ

ภัยธรรมชาติ

ในช่วงเดือนกันยายน-เดือนตุลาคม พ.ศ. 2554 ได้เกิดเหตุน้ำท่วมขึ้นในหลายจังหวัดรวมไปถึงกรุงเทพมหานคร โดยเมื่อมวลน้ำเริ่มเข้ามาถึงบริเวณท่าอากาศยานดอนเมือง การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย จึงดำเนินการติดตั้งผนังเหล็กกั้นน้ำ ความสูง 1.8 เมตรในทุกทางเข้าออกของสถานี รวมถึงปิดทางเข้า-ออกในบางจุดเพื่อติดตั้งผนังเหล็กกั้นน้ำเพิ่มเติม โดยขณะเดียวกันก็ยังคงเปิดให้บริการตามปกติ จนกระทั่งน้ำท่วมใน เขตบางเขน, เขตจตุจักร และ เขตดินแดง มีความรุนแรงมากขึ้น ทำให้ สถานีบางซื่อ, สถานีกำแพงเพชร, สถานีสวนจตุจักร, สถานีพหลโยธิน, สถานีลาดพร้าว และ สถานีรัชดาภิเษก กลายเป็นพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมระบบ ซึ่งในระหว่างนั้น การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ได้ส่งเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยเข้าตรวจสอบระดับน้ำบริเวณผิวถนนทุกวัน โดยถ้าหากน้ำมีความสูงเกิน 2 ขั้นบันไดจากพื้นถนน เจ้าหน้าที่ก็จะลงมาสั่งให้บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ปิดสถานีและงดการให้บริการในสถานีดังกล่าวทันที

ทั้งนี้สถานการณ์ไม่ได้เลวร้ายลงถึงขั้นต้องยุติการให้บริการชั่วคราว เนื่องจากกรุงเทพมหานครได้ลงตรวจสอบพื้นที่และพบว่าบริเวณคลองบางเขนมีเสาหินที่เกิดจากการรุกล้ำที่ดินขวางทางระบายน้ำลงอุโมงค์ระบายน้ำใต้ดินออกสู่อ่าวไทย ทางกรุงเทพมหานครจึงได้ดำเนินการรื้อถอนเสาหินออกทั้งหมด ทำให้มวลน้ำไม่กระจายเข้าพื้นที่ตัวเมืองชั้นใน และทำระดับน้ำเริ่มลดลงจนแห้งสนิทในวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ซึ่งหลังจากเหตุการณ์สงบลง การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย จึงเริ่มดำเนินการรื้อผนังกั้นน้ำออก และเปิดทางเข้าออกตามปกติ

เหตุการณ์อื่นๆ

  • วันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2554 รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ประกาศปิดทางเข้าออกในบางทางที่ สถานีพระราม 9 และ สถานีบางซื่อ เพื่อทำผนังกั้นน้ำสำหรับเตรียมพร้อมหากเกิดอุทกภัยในกรุงเทพมหานครซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้น [9]
  • วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2555 รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ประกาศใช้มาตรการการรักษาความปลอดภัยขั้นสูงสุดอาทิเช่นการตรวจกระเป๋าทุกใบโดยไม่มีข้อยกเว้น การตรวจรถยนต์อย่างละเอียดทุกคันและตรวจสิ่งของภายในฝากระโปรงรถที่เข้าสู่อาคารจอดรถทุดคัน ภายหลังเหตุการณ์ความรุนแรงจากระเบิดติดรถที่โรงแรมลีการ์เด้นส์ พลาซ่า อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และสี่แยกจงรักษ์ ถนนสายรวมมิตร เขตเทศบาลนครยะลา
  • วันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2557 รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ประกาศใช้มาตรการรองรับจำนวนผู้โดยสารจำหน่ายคูปองแทนเหรียญโดยสารเพิ่มเติมเนื่องจากผู้โดยสารมีจำนวนมาก

ส่วนต่อขยาย

ส่วนต่อขยายด้านใต้ (หลักสอง-พุทธมณฑลสาย 4)

รายชื่อสถานี

รหัส ชื่อสถานี ระยะห่างจาก
สถานีก่อนหน้า
(กิโลเมตร)
โครงสร้าง หมายเหตุ จุดเปลี่ยนเส้นทาง กำหนดเปิดให้บริการ
เตาปูน-ท่าพระ
BL11 บางซื่อ (Bang Sue) ใต้ดิน จุดจอดแล้วจร   รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง (กลางบางซื่อ)
  รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (กลางบางซื่อ)
11 สิงหาคม พ.ศ. 2560
BL10 เตาปูน (Tao Poon) ยกระดับ งานก่อสร้างสถานี อยู่ในสัญญาที่ 1 ของรถไฟฟ้าสายสีม่วง   รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (สถานีร่วม)
BL09 บางโพ (Bang Pho) มีนาคม พ.ศ. 2563 [11]
BL08 บางอ้อ (Bang O)
BL07 บางพลัด (Bang Phlat)
BL06 สิรินธร (Sirindhorn)
BL05 บางยี่ขัน (Bang Yi Khan)
BL04 บางขุนนนท์ (Bang Khun Non)   รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง (จรัญสนิทวงศ์)
  รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม (บางขุนนนท์) (สถานีใต้ดิน)
BL03 ไฟฉาย (Fai Chai)
BL02 จรัญฯ 13 (Charan 13)
BL01 ท่าพระ (Tha Phra)   ส่วนต่อขยายหัวลำโพง-บางแค (สถานีร่วม)
หัวลำโพง–หลักสอง
BL28 หัวลำโพง (Hua Lamphong) 0 ใต้ดิน   รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม (หัวลำโพง) กันยายน พ.ศ. 2562 [11]
BL29 วัดมังกร (Wat Mangkon) 1.0
BL30 สามยอด (Sam Yot) 1.1   รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (สถานีร่วม)
BL31 สนามไชย (Sanam Chai) 1.1
BL32 อิสรภาพ (Itsaraphap) 1.4
BL01 ท่าพระ (Tha Phra) 1.7 ยกระดับ   ส่วนต่อขยายบางซื่อ-ท่าพระ (สถานีร่วม)
BL33 บางไผ่ (Bang Phai) 1.2
BL34 บางหว้า (Bang Wa) 1.0   รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม (บางหว้า)
BL35 เพชรเกษม 48 (Phet Kasem 48) 1.2 ศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าย่อย
BL36 ภาษีเจริญ (Phasi Charoen) 1.2
BL37 บางแค (Bang Khae) 1.3
BL38 หลักสอง (Lak Song) 1.2 จุดจอดแล้วจร
หลักสอง–พุทธมณฑล สาย 4
BL39 พุทธมณฑล สาย 2 (Phutthamonthon Sai 2) ยกระดับ ยังไม่มีกำหนดเปิดประมูลก่อสร้าง
BL40 ทวีวัฒนา (Thawi Watthana)
BL41 หนองแขม (Nong Khaem)
BL42 พุทธมณฑล สาย 4 (Phutthamonthon Sai 4)

บริการ

อัตราค่าโดยสาร

  1. อัตราค่าโดยสารสำหรับเหรียญโดยสาร
    • บุคคลทั่วไป เริ่มต้น 16 บาท สูงสุด 42 บาท กรณีเดินทางในสาย และ 70 บาท กรณีเดินทางข้ามสาย
    • เด็ก/ผู้สูงอายุ เริ่มต้น 8 บาท สูงสุด 21 บาท กรณีเดินทางในสาย และ 35 บาท กรณีเดินทางข้ามสาย
  2. อัตราค่าโดยสารสำหรับบัตร M และ MRT Plus+
    • บุคคลทั่วไป
      • แบบเติมเงิน เริ่มต้น 16 บาทสูงสุด 42 บาท กรณีเดินทางในสาย และ 70 บาท กรณีเดินทางข้ามสาย
      • แบบเที่ยวเดินทาง ผู้โดยสารสามารถเติมเที่ยวเดินทางเพื่อเดินทางในสายเฉลิมรัชมงคล (หัวลำโพง-เดาปูน) โดยมีราคาดังต่อไปนี้
        • 15 เที่ยว 450 บาท เฉลี่ย 30 บาท/เที่ยว
        • 25 เที่ยว 700 บาท เฉลี่ย 28 บาท/เที่ยว
        • 40 เที่ยว 1,040 บาท เฉลี่ย 26 บาท/เที่ยว
        • 50 เที่ยว 1,250 บาท เฉลี่ย 25 บาท/เที่ยว
        • เที่ยวเดินทางดังกล่าว สามารถใช้ได้เฉพาะการเดินทางภายในสายเฉลิมรัชมงคลเท่านั้น การเดินทางข้ามไปสายฉลองรัชธรรมจะต้องมีเงินคงเหลือในบัตรขั้นต่ำ 15 บาท คิดค่าโดยสารตามระยะทางโดยหักค่าแรกเข้า 14 บาท
        • เที่ยวเดินทางมีอายุ 45 วัน นับจากวันที่เติมเที่ยวลงบัตรโดยสาร และมี 30 วัน นับจากวันที่ใช้งานครั้งแรก
        • กรณีบัตรมีเที่ยวเดินทาง ระบบจะตัดเที่ยวเดินทางก่อนเป็นลำดับแรก ไม่สามารถตัดเงินสดก่อนได้
        • กรณีคืนบัตรโดยสาร จะได้รับคืนเฉพาะยอดเงินคงเหลือในบัตร เที่ยวเดินทางไม่สามารถคืนเป็นเงินสดได้
        • อนึ่ง เที่ยวเดินทางถูกระงับการจำหน่ายชั่วคราวตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ไปจนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลงจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
    • นักเรียน นักศึกษา เริ่มต้น 13 บาท สูงสุด 38 บาทกรณีเดินทางในสาย และ 63 บาท กรณีเดินทางข้ามสาย
    • เด็ก/ผู้สูงอายุ เริ่มต้น 8 บาท สูงสุด 21 บาทกรณีเดินทางในสาย และ 35 บาท กรณีเดินทางข้ามสาย
    • อัตราค่าโดยสารพิเศษ ใช้จนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลงจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
  3. อัตราค่าโดยสารสำหรับบัตรแมงมุม
    • บุคคลทั่วไป เริ่มต้น 16 บาทสูงสุด 42 บาท กรณีเดินทางในสาย และ 70 บาท กรณีเดินทางข้ามสาย
    • นักเรียน นักศึกษา เริ่มต้น 13 บาท สูงสุด 38 บาทกรณีเดินทางในสาย และ 63 บาท กรณีเดินทางข้ามสาย
    • ผู้สูงอายุ เริ่มต้น 8 บาท สูงสุด 21 บาทกรณีเดินทางในสาย และ 35 บาท กรณีเดินทางข้ามสาย
    • บัตรสวัสดิการแห่งรัฐฯ เริ่มต้น 16 บาทสูงสุด 42 บาท กรณีเดินทางในสาย และ 70 บาท กรณีเดินทางข้ามสาย โดยมีงบค่าโดยสารในบัตรให้เดือนละ 500 บาท
  4. เงื่อนไขการใช้บัตรนักเรียน นักศึกษา
    • ผู้ที่มีสิทธิ์ใช้บัตรนักเรียน นักศึกษา จะต้องมีอายุไม่เกิน 23 ปี และ/หรือไม่เกินวันเกิดอายุครบ 23 ปี ในสังกัดสถาบันการศึกษา ขอสงวนสิทธิ์ให้ใช้ร่วมกับบัตรนักเรียน/นักศึกษาและบัตรประชาชน หรือบัตรอื่นที่แสดงอายุได้ กรณีที่ไม่สามารถแสดงหลักฐานดังกล่าวเมื่อได้รับการร้องขอจากเจ้าหน้าที่ หรือใช้บัตรโดยสารผิดประเภทบริษัทขอสงวนสิทธิ์ในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากผู้โดยสารในอัตราไม่เกิน 20 เท่าของอัตราค่าโดยสารสูงสุดที่ บริษัทเรียกเก็บ ณ เวลานั้นๆ

หมายเหตุ: การเดินทางข้ามสาย หมายถึง การเดินทางระหว่างรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) และรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) ทั้งนี้ ผู้โดยสารที่ต้องการเดินทางข้ามสาย สามารถใช้เหรียญหรือบัตรโดยสารในการเดินทางได้โดยไม่ต้องออกจากระบบระหว่างการเปลี่ยนสายรถไฟฟ้าที่สถานีเตาปูน

สิทธิประโยชน์เพิ่มเติม

  1. สำหรับเด็กที่มีอายุไม่เกิน 14 ปี และ/หรือ ไม่เกินวันเกิดอายุครบ 14 ปี และมีช่วงความสูงไม่เกิน 90 ซม. ได้รับการยกเว้นค่าโดยสาร
  2. ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป และ/หรือตั้งแต่วันเกิดอายุครบ 60 ปี จะได้รับสิทธิลดหย่อนค่าโดยสารเช่นเดียวกับผู้สูงอายุทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ถึง 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
  3. สำหรับประชาชนทุกคนในโอกาสวันสำคัญทางราชการเช่นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2554 ฯลฯ โดยสารรถไฟฟ้าโดย ได้รับการยกเว้นค่าโดยสาร ตามเวลา ที่ประกาศกำหนด
  4. สำหรับประชาชนทุกคนในพิธีการสำคัญระดับประเทศ เช่น พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ฯลฯ โดยสารรถไฟฟ้าโดย ได้รับการยกเว้นค่าโดยสาร ตามเวลา ที่ประกาศกำหนด
  5. สำหรับประชาชนที่เป็นบิดาหรือมารดาในวันพ่อแห่งชาติ และ วันแม่แห่งชาติ
  6. ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปได้รับการยกเว้นค่าโดยสารช่วงวันสงกรานต์ 13-15 เมษายน

มาตรการความปลอดภัยและเวลาเร่งด่วน

ข้อกำหนด ออกตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ว่าด้วยความปลอดภัยในชีวิตร่างกายและทรัพย์สิน การรักษาความสงบเรียบร้อยความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยภายในเขตระบบรถไฟฟ้า พ.ศ. 2547[12] รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคลด้วยปรากฏว่ามีการโดยสารที่แออัดในเวลาเช้าทางรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคลจึงประกาศข้อกำหนดดังต่อไปนี้

  1. ผู้โดยสารทุกคนมีความจำเป็นต้องเปลี่ยนรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ณ สถานีจตุจักร เฉพาะผู้เดินทางไปยังปลายทางสถานีบางซื่อ ในเวลา 6.50-9.15 ในบางขบวนผู้โดยสารกรุณาให้ความร่วมมือลงจากรถ ณ สถานีดังกล่าว และผู้โดยสารที่จะเดินทางไปปลายทางหัวลำโพงจากสถานีบางซื่อ, กำแพงเพชร และสถานีจตุจักร จะต้องรอรถโดยสารประมาณ 7 นาที
  2. เฉพาะสถานีบางซื่อและสถานีหัวลำโพงจะไม่อนุญาตให้ผู้โดยสารเข้าไปในตัวรถโดยสารโดยเด็ดขาดจนกว่าจะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่
  3. อาศัยอำนาจตาม กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ว่าด้วยความปลอดภัยในชีวิตร่างกายและทรัพย์สิน การรักษาความสงบเรียบร้อยความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยภายในเขตระบบรถไฟฟ้า พ.ศ. 2547 มาตรา ๓ ที่กำหนดไว้คนโดยสารหรือบุคคลอื่นในเขตระบบรถไฟฟ้ามีหน้าที่ปฏิบัติตามเครื่องหมาย, ประกาศ, ป้าย หรือสัญญาณอื่นใด ตลอดจนคำแนะนำและคำตักเตือนของพนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นการบังคับตามข้อกำหนดนี้
  4. ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดซึ่งออกตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ว่าด้วยความปลอดภัยในชีวิตร่างกายและทรัพย์สิน การรักษาความสงบเรียบร้อยความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยภายในเขตระบบรถไฟฟ้า พ.ศ. 2547 มาตรา 3 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับทั้งนี้อาศัยอำนาจตาม มาตรา 62 มาตรา 77 พรบ.การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2543 บัญญัติให้สามารถกระทำได้[13]

ข้อกำหนดต่างๆมีเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้โดยสารอาทิเช่นมีการวิจัยว่าผู้โดยสารตั้งแต่สถานีจตุจักรไปยังสถานีหัวลำโพงมีจำนวนในช่วงเช้าจึงจำเป็นต้องให้ผู้โดยสารในสถานีต้นสาย เสียสละเวลาเล็กน้อย เพื่อลดความหนาแน่นในขบวนรถไฟในช่วงเช้าและจะได้มีความปลอดภัยในทรัพย์สินมากขึ้นเนื่องจากมักมีการปล้นทรัพย์โดยอาศัยความหนาแน่นของจำนวนผู้โดยสารซึ่งเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่ามีโอกาสเกิดได้มากกว่ากรณีที่ผู้โดยสารเบาบาง เจ้าหน้าที่จำเป็นต้องให้ผู้โดยสารออกนอกตัวรถเนื่องจากรถจะทำการกลับไปยังสถานีเดิม จึงต้องทำการตรวจรถโดยสารแต่ไม่ตรวจผู้โดยสาร และเชิญผู้โดยสารออกนอกรถด้วยวาจาสุภาพ อย่างไรก็ตามหากผู้โดยสารไม่ให้ความร่วมมืออาจมีความผิดฐานขัดขวางการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่มีโทษจำคุก 1 ปี ปรับ 2,000 บาท และผู้โดยสารมีสิทธิฟ้องร้องเจ้าหน้าที่ที่ดำเนินการด้วยวาจาไม่สุภาพ, ข่มขู่, ทำร้าย หรือคุกคามได้ เฉพาะข้อหนึ่งของประกาศมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป

การสนับสนุนภาครัฐ

คนพิการขึ้นรถไฟฟ้าฟรี

รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล เป็นเพียงรถไฟฟ้าบริษัทเดียวเท่านั้นที่ สนับสนุนโยบายภาครัฐในการลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางของผู้ถือบัตรผู้พิการ โดยไม่คิดค่าโดยสารกับผู้ถือบัตรผู้พิการและไม่จำกัดการใช้งานและระยะทางรวมถึงระยะเวลาในการใช้สิทธิ หรือตลอดชีวิตจนกว่าผู้พิการจะถึงแก่ความตาย รวมถึงสนับสนุนการใช้ลิฟต์เพื่อผู้พิการ การลัดคิว ในกรณีเร่งเด่น ทั้งนี้ผู้พิการจำเป็นต้องแสดงบัตรทุกครั้งก่อนใช้สิทธิเหล่านี้ เพื่อให้พนักงานจดบันทึกและบอกสถานีปลายทาง อย่างไรก็ตามหากประสงค์จะเปลี่ยนสถานีกะทันหันก็สามารถกระทำได้ ผู้พิการจะมีผู้ดูแลหรือไม่ดูแลมาด้วยหรือไม่ก็ได้เพียงแต่สิทธิจะให้เพียงแต่ผู้ถือบัตรผู้พิการที่ ออกโดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เท่านั้น ทั้งนี้อาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 269/1 ผู้ใดทำบัตรอิเล็กทรอนิกส์ปลอมขึ้นทั้งฉบับหรือแต่ส่วนหนึ่งส่วนใด เติมหรือตัดทอนข้อความ หรือแก้ไขด้วยประการใดๆ ในบัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่แท้จริง โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ถ้าได้กระทำเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นบัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่แท้จริงหรือเพื่อใช้ประโยชน์อย่างหนึ่งอย่างใด ผู้นั้นกระทำความผิดฐานปลอมบัตรอิเล็กทรอนิกส์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1-5 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000-100,000 บาท มาตรา 269/4 ผู้ใดใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ซึ่งสิ่งใดๆ ตาม มาตรา 269/1 อันได้มาโดยรู้ว่าเป็นของที่ทำปลอมหรือแปลงขึ้น ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1-7 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000-140,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ผู้ใดจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสิ่งใดๆ ที่ทำปลอมหรือแปลงขึ้นตาม มาตรา 269/1 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1-10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000-200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าผู้กระทำความผิดตามวรรคแรกหรือวรรคสองเป็นผู้ปลอมซึ่งบัตรอิเล็กทรอนิกส์ตาม มาตรา 269/1 ให้ลงโทษตามมาตรานี้แต่กระทงเดียว[14]ทั้งนี้ตั้งแต่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป

ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐฯ ขึ้นรถไฟฟ้าฟรี

ตามนโยบายของภาครัฐฯ ที่ต้องการสนับสนุนสวัสดิการในการเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชนทุกประเภทโดยไม่คิดค่าโดยสารกับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ธนาคารกรุงไทยจึงได้ผนวกบัตรแมงมุมเข้าไปในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐของประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมมณฑล รวมถึงจังหวัดบริวารโดยรอบ และกำหนดให้มีงบค่าโดยสารในบัตรเดือนละ 500 บาท โดยผู้ถือบัตรสามารถนำบัตรไปใช้งานที่สถานีรถไฟฟ้ามหานคร สถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ และสถานีรถไฟฟ้าชานเมืองได้ทันทีเมื่อเปิดใช้บริการ ทั้งนี้ตั้งแต่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป บัตรสวัสดิการแห่งรัฐสามารถใช้งานได้เฉพาะการเดินทางในสายเฉลิมรัชมงคล และสายฉลองรัชธรรมเท่านั้น

การช่วยเหลือคนที่มีความต้องการพิเศษ

พนักงานของรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล รวมถึงพนักงานรักษาความปลอดภัยมีความเต็มใจที่จะช่วยเหลือผู้มีความพิการ อาทิการจูงผู้พิการทางสายตาไปยังสถานี การให้บริการติดตามผู้โดยสารที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษโดยให้พนักงานเดินทางไปด้วย เช่นผู้โดยสารที่เดินทางครั้งแรก ฯลฯ เพียงท่านแจ้งให้พนักงานสถานีทราบเท่านั้น

การรักษาความปลอดภัยให้ประชาชน

รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคลในทุกสถานีมีบริการเพื่อการรักษาความปลอดภัยให้ประชาชนดังต่อไปนี้

  1. บริการปุ่มหยุดฉุกเฉินบันไดเลื่อน
  2. บริการปุ่มแจ้งเหตุไฟไหม้
  3. บริการโทรศัพท์แจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย
  4. บริการทางออกฉุกเฉินในสถานี
  5. บริการแจ้งเหตุกับตำรวจผ่านตู้รับเรื่องร้องเรียน
  6. บริการคันโยกฉุกเฉินภายในรถไฟฟ้าเพื่อเปิดประตูรถกรณีฉุกเฉิน
  7. บริการอุปกรณ์ดับเพลิง
  8. บริการกล้องวงจรปิดเพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสาร

หมายเหตุ:

  • ผู้โดยสารที่ใช้บริการตาม ข้อ 1-5 โดยไม่มีสถานการณ์ฉุกเฉินระวางโทษปรับ 1,000 บาท
  • ผู้โดยสารที่ใช้บริการตาม 6-7 โดยไม่มีสถานการณ์ฉุกเฉินหรือใช้ตามสถานการณ์ฉุกเฉินแต่ไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำในการใช้อุปกรณ์ ระวางโทษปรับ 1,000 บาท และ จำคุก 1 เดือน
  • ผู้โดยสารที่ใช้บริการตามข้อ 1-7 หากมีผู้ใดฟ้องร้องในความผิดอื่นใดระวางโทษตามประมวลกฎหมายอาญา
  • หากมีสถานการณ์ฉุกเฉินเกิดขึ้นห้ามใช้ลิฟต์โดยเด็ดขาด ผู้ใดฝ่าฝืนข้อบังคับนี้จนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น ระวางโทษจำคุก 1 เดือน ปรับ 1,000 บาท
  • อาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 374 หากมีสถานการณ์ฉุกเฉินเกิดขึ้นผู้ใดเห็นผู้อื่นตกอยู่ในภยันตรายแห่งชีวิต ซึ่งตนอาจช่วยได้โดยไม่ควรกลัวอันตรายแก่ตนเองหรือผู้อื่น ระวางโทษจำคุก 1 เดือน ปรับ 1,000 บาท
  • อาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 372 ห้ามผู้ใดทะเลาะกันอย่างอื้ออึงเสียในทางสาธารณะ หรือสาธารณสถาน หรือกระทำการอื่นใดให้สูญเสียความสงบเรียบร้อย หากฝ่าฝืน มีโทษปรับ 500 บาท
  • อาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 393 หากการกระทำนั้น เป็นการดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้า ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน ปรับ 1,000 บาท
  • อาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 370 ถ้าการกระทำอันเป็นการทะเลาะกัน หรือจงใจก่อให้เกิดเสียงอื่นใดนั้นส่งผลให้ประชาชนตกใจหรือเดือดร้อน ปรับ 100 บาท
  • อาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 373 ห้ามผู้ใดที่ควบคุมบุคคลวิกลจริต ปล่อยปละละเลยให้บุคคลวิกลจริตออกเที่ยวตามลำพัง หากฝ่าฝืน มีโทษปรับ 500 บาท
  • ผู้โดยสารที่ ถูกประทุษร้าย ถูกโจรโจรกรรม ถูกกระทำอนาจารต่อหน้าธารกำนัล สามารถขอใช้บริการตรวจกล้องวงจรปิดได้

พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554

รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล จัดบริการสารคดี พระราชอารมณ์ขัน ให้แก่ผู้โดยสารชมฟรี ทุกขบวนรถ และสนับสนุนการประชาสัมพันธ์ พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 ด้วยการติดสติ๊กเกอร์ ตราสัญลักษณ์ งานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 ที่บริเวณกระจกกั้นชานชาลาทุกสถานี

การรักษาความสะอาด

รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล อยู่ภายใต้กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ว่าด้วยความปลอดภัยในชีวิตร่างกายและทรัพย์สิน การรักษาความสงบเรียบร้อยความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยภายในเขตระบบรถไฟฟ้า พ.ศ. 2547 หากผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษจำคุก 1 เดือน ปรับ 1,000 บาท และพระราชบัญญัติ รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535[15] ซึ่งหากมีผู้ใดฝ่าฝืนจะมีโทษปรับ 2,000 บาท

ทั้งนี้อาจมีข้อบังคับอื่น ๆ เช่น ห้ามนำอาหารที่มีกลิ่นแรงเข้าภายในสถานีรถไฟฟ้า ห้ามรับประทานอาหารและเครื่องดื่มภายในพื้นที่ชำระเงินแล้ว, ห้ามดื่มสุราภายในสถานี, ห้ามทิ้งสิ่งปฏิกูล, ห้ามถมน้ำลาย, น้ำมูก, เสมหะ, อาเจียน, ปัสสาวะ และคายหมากฝรั่งภายในสถานีบริเวณสถานีอย่างเด็ดขาดหากฝ่าฝืน จะมีโทษ ตามกฎกระทรวง และพรบ.ความสะอาด จำคุก 1 เดือน ปรับ 3,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ การสูบบุหรี่ภายในสถานีถือว่ามีความผิด มีโทษปรับ 2,000 บาท และหากทิ้งบุหรี่ภายในสถานีจะมีโทษปรับเพิ่ม 2,000 บาท อาศัยอำนาจตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 19 พ.ศ. 2553 [16]และพระราชบัญญัติ รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535

พันธมิตรธุรกิจ

รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ร่วมกับสหพัฒนพิบูล จัดรายการ ให้ผู้โดยสารได้มีโอกาสรับประทานมาม่าฟรีตลอดทั้งปี โดยเริ่มครั้งแรกเมื่อ ปี พ.ศ. 2553 และยังคงมีจัดปีละครั้งนอกจากนั้นยังมีพันธมิตรธุรกิจลดราคาค่าโดยสารโดยมีเงื่อนไขเช่นเติมเงินทุก 300 บาท ฯลฯ หรือลดราคาให้ลูกค้าที่ใช้บริการกับพันธมิตรธุรกิจของบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

การตรวจค้นกระเป๋า

อาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2543 มาตรา 63 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญามีหน้าที่รักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยในเขตระบบไฟฟ้าตามกฎกระทรวงหรือตามที่ผู้ว่าการมอบหมาย และให้มีอำนาจดังต่อไปนี้ 1.ค้นหรือจับกุมผู้กระทำความผิดซึ่งหน้าตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อส่งให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจดำเนินคดีตามกฎหมาย[17]พนักงานเจ้าหน้าที่รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล จึงมีอำนาจตามกฎหมายดังกล่าว ทั้งนี้อาศัยอำนาจตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 93 การตรวจค้นสิ่งของในความครอบครองของบุคคลในที่สาธารณะจะกระทำไม่ได้เลย เว้นแต่เจ้าพนักงานปกครองหรือตำรวจเป็นผู้ค้นเมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่าบุคคลนั้นมีสิ่งของในความครอบครองเพื่อจะใช้ในการกระทำความผิด หรือซึ่งได้มาโดยการกระทำความผิดหรือซึ่งมีไว้เป็นความผิด[18]
เจ้าหน้าที่ รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญาจึงอาศัยอำนาจตามมาตรา 93 ตรวจค้นบุคคลที่เครื่องตรวจจับโลหะชนิดเดินผ่าน[19]ส่งสัญญาณเนื่องจากเจ้าหน้าที่มีความเห็นว่า มีเหตุอันควรสงสัยว่าบุคคลนั้นมีสิ่งของในความครอบครองเพื่อจะใช้ในการกระทำความผิด หรือซึ่งได้มาโดยการกระทำความผิดหรือซึ่งมีไว้เป็นความผิด [20]

บริการอื่นๆ

ศูนย์การค้าเมโทรมอลล์ที่สถานีพหลโยธิน
อาคารที่จอดรถบริเวณสถานีลาดพร้าว ใกล้แยกรัชดา-ลาดพร้าว

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. ครม.ไฟเขียวให้เอกชนเดินรถสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายรูปแบบ PPP net cost
  2. http://www.thansettakij.com/content/207876?ts}}
  3. สยามรัฐรายวัน (18 ตุลาคม 2560). "รายงานพิเศษ". siamrath.co.th. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2562. {{cite web}}: ข้อความ "น้ำพระทัยฯ ทรงเปี่ยมล้นหลั่งคนกรุง เสด็จทรงเปิด “รถไฟฟ้า” แก้ปัญหาจราจร" ถูกละเว้น (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานชื่อโครงการรถไฟฟ้ามหานคร", การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย.
  5. รถไฟฟ้าขบวนใหม่ขบวนแรกเดินทางถึงท่าเรือแหลมฉบังแล้ว, MRT Bangkok Metro
  6. เปิด Timeline รถไฟฟ้าขบวนแรกถึงไทยเมษายนนี้, การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
  7. [1]
  8. http://news.voicetv.co.th/thailand/36772.html
  9. http://www.ryt9.com/s/nnd/1253668
  10. ขึ้นฟรีรถไฟฟ้า ‘หัวลำโพง-บางแค’ ก.ค.นี้ ลุ้นสร้างต่อ ‘พุทธมณฑล’
  11. 11.0 11.1 กำหนดการเปิดให้บริการ รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน จากบัญชีผู้ใช้ทวิตเตอร์อย่างเป็นทางการของรถไฟฟ้า MRT [2]
  12. http://www.kodmhai.com/Kkat/NKkat/Nkkat-1/New4/N11.html
  13. http://www.thailandlawyercenter.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538973876&Ntype=19
  14. http://www.lawyerthai.com/law/articles.php?articleid=62&cat=714
  15. http://www.baanjomyut.com/library/law/02/150.html
  16. http://www.trc.or.th/upload/AT/MENU/news/infonews/Announced%20v19.pdf
  17. http://www.thailandlawyercenter.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538973876&Ntype=19
  18. http://www.kodmhai.com/m2/m2-3/m3-91-105.html
  19. http://www.ryt9.com/s/prg/494668
  20. http://ilaw.or.th/node/673
  21. http://www.mrta.co.th/news/Canceled.pdf
  22. http://www.mrta.co.th/th/services/bl/
  23. 1 พ.ย.61 นี้ รฟม.ขึ้นค่าจอดรถรายวัน-รายเดือน
  24. http://bmcl-th.listedcompany.com/business.html/print/1

แหล่งข้อมูลอื่น