กฎหมายอาญา
![]() | บทความนี้ได้รับแจ้งให้ปรับปรุงหลายข้อ กรุณาช่วยปรับปรุงบทความ หรืออภิปรายปัญหาที่หน้าอภิปราย
|
กฎหมายอาญา เป็นกฎหมายที่รัฐบัญญัติว่าการกระทำหรือไม่กระทำอย่างใดเป็นความผิดและมีการกำหนดโทษที่จะลงโทษแก่ผู้กระทำความผิด โดยมีความมุ่งหมายที่จะรักษาความสงบเรียบร้อยในสังคม กฎหมายอาญาจึงมีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันเพื่อช่วยให้ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
การกระทำแล้วมีความผิด เช่น ทำร้ายผู้อื่น ทำลายหรือขโมยของ
การกระทำแล้วเป็นความผิด เช่น การไม่ควบคุมสัตว์เลี้ยงที่ดุร้าย ปล่อยปละละเลยจนไปทำอันตรายแก่ร่างกายหรือทรัพย์สินของผู้อื่น
ลักษณะการทำความผิดทางอาญา
มี ๓ ลักษณะดังนี้
๑ การกระทำความผิดโดยเจตนา คือการกระทำ ที่ผู้กระทำตั้งใจ จงใจหรือมุ่งหมาย โดยรู้สำนึก ในการกระทำ
๒ การกระทำความผิดโดยประมาท ไม่ได้เป็นการกระทำโดยเจตนา แต่เป็นการกระทำโดยไม่มีความ ระมัดระวัง ตามสมควรเท่าที่ผู้กระทำต้องมี
๓ การกระทำโดยไม่เจตนา เป็นการกระทำ ที่ผู้กระทำไม่ติดอะนา แต่ผู้กระทำต้องยอมรับ เพราะมีกฎหมายกำหนดให้ต้องรับผิด ซึ่งมีกำหนดไว้ในกฎหมายอาญา
โทษทางอาญา คือ สภาพบังคับของกฎหมายอาญา ซึ่งได้กำหนดโทษสำหรับผู้กระทำความผิดไว้ ๕ ประการ โดยลำดับโทษอย่างนี้
๑ ประหารชีวิต คือ การลงโทษผู้กระทำความผิดโดยการฉีดยา หรือใช้สารพิษให้ตาย
๒ จำคุก คือ การลงโทษผู้ที่กระทำความผิดทางอาญาตามคำพิพากษา ของศาลโดยนำตัวผู้กระทำความผิดไปคุมขังไว้ที่เรือนจำ ตามระยะเวลาที่ศาลตัดสิน มี๒ประเภทคือ โทษจำคุกตลอดชีวิตและโทษจำคุกที่มีกำหนดเวลา
๓ กักขัง คือ การนำตัวผู้กระทำความผิดทางอาญาไปกักขังไว้ในสถานที่ซึ่งกำหนดไว้ที่ไม่ใช่เรือนจำ เช่น สถานีตำรวจ หรือสถานที่ที่ศาลเห็นสมควร
๔ ปรับ คือการบังคับเอาทรัพย์สิน ของผู้กระทำความผิดและต้องโทษปรับตามคำพิพากษาของศาล โดย พิจารณาจากความ ร้ายแรงของการกระทำความผิด
๕ ยึด/ ริบทรัพย์สิน คือ การบังคับเอาทรัพย์สินที่ได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด ซึ่งผู้ใดมี สิ่งที่ผิดกฎหมายไว้ครอบครองถือว่าเป็นความผิดเช่น ยาเสพติด อุปกรณ์ในการเล่นการพนัน
หลักกฎหมายอาญาภาคทั่วไป[แก้]
- กฎหมายอาญาต้องแน่นอนชัดเจนคือ “ถ้อยคำ” ในบทบัญญัติกม.อาญาต้องมีความชัดเจนหลีกเลี่ยงถ้อยคำที่จะทำให้การตัดสินคดีขึ้นอยู่กับความรู้สึกที่เป็นอัตวิสัย และอำเภอใจผู้พิจารณาคดี
- ห้ามใช้กฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง (การให้เหตุผลโดยอ้างความคล้ายคลึงกัน) ลงโทษทางอาญาแก่บุคคล
- กฎหมายอาญาไม่มีผลย้อนหลังไปลงโทษการกระทำที่ผ่านมาแล้วเป็นกม.ที่ใช้ในขณะกระทำการนั้นกม.อาญาในที่นี้ คือ บทบัญญัติที่กำหนดเกี่ยวกับการกระทำผิดและโทษ (Nullum crimen, nulla peona sina lega หรือ No crime, no punishment without law)
- กฎหมายอาญาต้องแปลหรือตีความโดยเคร่งครัด ความเข้าใจที่ว่าหากตีความตามตัวอักษรแล้วหากข้อความนั้นไม่ชัดเจนจึงค่อยพิจารณาถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ที่ถูกต้องคือ การตีความกฎหมายอาญาจะต้องตีความทั้งตามตัวอักษรและเจตนารมณ์ของกฎหมายไปพร้อมๆกัน โดยไม่สามารถเลือกตีความอย่างใดอย่างเพียงอย่างเดียวก่อนหรือหลังได้ การตีความกฎหมายดังที่กล่าวมาจึงอาจมีการตีความอย่างแคบหรืออย่างกว้างก็ได้ ทั้งนี้ เกิดจากการพิจารณาตามตัวอักษรและเจตนารมณ์ของกฎหมายไปพร้อมๆกัน โดยอาจกล่าวได้ว่ามีแต่การตีความกฎหมายนั้นมีแต่การตีความโดยถูกต้องเท่านั้น และการที่กฎหมายอาญาจะต้องตีความโดยเคร่งครัดนั้น หมายความว่า ห้ามตีความกฎหมายเกินตัวบท โดยในกรณีที่เกิดช่องว่างของกฎหมายขึ้นจากการตีความที่ถูกต้องแล้ว จะไม่สามารถนำกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่ง (Analogy) มาปรับใช้เพื่อลงโทษผู้กระทำได้
- ห้ามใช้จารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นลงโทษทางอาญาแก่บุคคล เพราะตัวบทมาตรา 2 ใช้คำว่า “บัญญัติ” และสอดคล้องกับข้อ 1 เพราะจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นเป็นเรื่องของแต่ละท้องถิ่น ไม่ชัดเจนแน่นอน แตกต่างจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ประเภทของความผิด[แก้]
ความผิดทางอาญามี 2 ประเภทคือ
- ความผิดในตัวเอง (ละติน: mala in se) คือความผิดที่คนทั่วไปเห็นชัดเจนว่าเป็นความผิดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน
- ความผิดเพราะกฎหมายห้าม (ละติน: mala prohibita) คือความผิดที่เกิดจากการที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นความผิด โดยอาจมิได้เกี่ยวกับศีลธรรมเลย ซึ่งหากกล่าวถึงทฤษฎีกฎหมายสามยุค ความผิดเพราะกฎหมายห้ามอยู่ในยุคกฎหมายเทคนิค
ลักษณะของการเกิดความผิด[แก้]
กฎหมายอาญารกระทำความผิดไว้ 3 ประเภทคือ
- ความผิดโดยการกระทำ
- ความผิดโดยการงดเว้นการกระทำ
- ความผิดโดยการละเว้นการกระทำ
สภาพบังคับของกฎหมายอาญา[แก้]
โทษทางอาญา เป็นสภาพบังคับหลักทางอาญาที่สามารถใช้ได้กับการกระทำที่เป็นความผิดทางอาญาตามกฎหมายอื่นด้วย ดุลยพินิจในการลงโทษ ที่ศาลจะลงโทษผู้กระทำความผิดหนักเบาเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับทฤษฎีซึ่งเกี่ยวกับจุดประสงค์ในการลงโทษ ซึ่งแยกได้ 2 ทฤษฎี คือ ทฤษฎีเด็ดขาด การลงโทษ คือ การตอบแทนแก้แค้นการกระทำผิด การลงโทษหนักเบาย่อมเป็นไปตามความร้ายแรงของความผิด และทฤษฎีสัมพันธ์ การลงโทษมีประโยชน์คือ เพื่อให้สังคมปลอดภัย โทษจึงทำหน้าที่ห้ามไม่ให้คนกระทำความผิด และในกรณีกระทำความผิดไปแล้ว โทษมีความจำเป็นเพื่อปรับปรุงให้ผู้กระทำความผิดนั้นกลับตัวกลับใจแก้ไขการกระทำผิดที่เคยเกิดขึ้นและสามารถกลับเข้าสู่สังคมอย่างเดิม